21 ธ.ค. 2020 เวลา 02:32 • การตลาด
“ขายดียังไง แล้วทำไมถึงเจ๊ง?” คนเริ่มต้นธุรกิจใหม่ควรรู้. (บทความรีโพสต์)
หลายวันก่อนผมมีนัดปาร์ตี้กับเพื่อนๆ สมัยเรียนชั้นประถม ก็กินเที่ยวกันตามประสามากันตั้งแต่หนุ่มๆ
หลังจากที่เรานั่งกินดื่มกันปกติ เพื่อนผมคนหนึ่งก็ทำท่าทางอึดอัด เพื่อนๆเลยถามว่าเป็นอะไรไหนลองพูดมาสิ
ขอสมมุติเพื่อนผมชื่อเอ นะครับ ไอ้เอก็ถอนหายใจแล้วก็เล่าเรื่องราวให้เพื่อนๆฟัง หลังฟังเรื่องราวของเอจบ
เพื่อนผมคนหนึ่งก็พูดออกมาว่า เห้ย..เอ ร้านไก่ย่างเอ็งก็ขายดีนี่ แล้วทำไมถึงจะเจ๊งล่ะ
ก็นั้นสิ ขายก็ดีทำไมถึงจะเจ๊งล่ะ เพื่อนคนอื่นๆเริ่มตั้งคำถาม
เอตอบมาว่าก็นั้นนะสิ ขายไปขายมาจะไม่มีเงินลงทุนมาซื้อของแล้ว
เพื่อนผมอีกคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจเหมือนกันเลยถามเอว่า “เอขายของมีจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองหรือเปล่า”
เอ ถามว่าทำไมต้องมีเงินเดือนตัวเองด้วยเล่า ก็ในเมื่อเป็นเจ้าของร้าน ขายได้เท่าไร มันก็เป็นของเขาหมดไม่ใช่เหรอ
เพื่อนผมเลยถามต่อว่า “แล้วเอ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านใช้เดือนละเท่าไร”
เอ ก็บอกไม่รู้ เพราะในแต่ละเดือนใช้เงินไม่เท่ากัน เดือนไหนใช้กิน ใช้เที่ยวก็ใช้เยอะหน่อย
หลังจากที่นั่งฟังเพื่อนผมสนทนากับเอ ก็พอจะสรุปปัญหาที่ขายของดีแต่ทำถ้าจะเจ๊งของเอได้ว่า
ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องขายของเลย แต่เป็นการใช้เงินผิดประเภทและไม่เคยทำบัญชีรายรับ รายจ่ายต่างหาก มาดูสาเหตุหลักๆหน้าจะมี สามข้อ ตามนี้
สาเหตุข้อแรก ไม่แยกแยะเงินขายของที่ได้ออกจากเงินส่วนตัว การที่เอ ไม่ตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง เพราะคิดว่าตัวเองคือเจ้าของร้าน และเป็นเจ้าของเงินทั้งหมดด้วย
จะใช้อย่างไรก็ได้ นั่นคือแนวคิดที่ผิด เพราะเราต้องมองว่าร้านที่ขายของอยู่เป็นร้านของคนอื่น ที่เราไปรับจ้างทำงานให้
1
เวลาเราจ้างลูกจ้าง จ่ายเงินเดือนชัดเจน ใช้เกินกว่านั้นไม่ได้ แต่ตัวเราซึ่งรับจ้างตัวเอง กลับใช้เงินได้ไม่จำกัด ซึ่งส่งผลทำให้เงินที่เป็นค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนของเรา ไม่คงที่ในแต่ละเดือน
ดังนั้น ต้องตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง!!
แล้วจ่ายเงินเดือนเมื่อสิ้นเดือนเหมือนลูกจ้างคนอื่นๆ แล้วต้องใช้เงินแค่นั้น ห้ามเกิน ถ้าเกิน ก็ให้พิจารณาเพิ่มเงินเดือนให้ตัวเองได้ แต่ต้องไม่เกินความจำเป็น
สาเหตุข้อที่สอง ไม่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
เมื่อจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองมาแล้ว ควรจะทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ให้ตัวเองด้วย แบบคร่าวๆ ก็ได้ เอาพอรู้ว่า แต่ละวันจ่ายอะไรไปเท่าไหร่ เหลือเงินใช้ได้อีกเท่าไหร่ ไม่ใช่ใช้สนุกมือไปเรื่อย เพราะเห็นว่าขายของได้ดี
สาเหตุข้อที่สาม ใช้เงินผิดประเภท เอเอาเงินที่ขายของได้ในแต่ละวัน ไปกินไปเที่ยว ไปซื้อของใช้ส่วนตัว เอาไปซื้อของฟุ่มเฟือย...ฟังดูแล้ว ล้วนแต่เป็นเรื่องส่วนตัวทั้งสิ้น
1
แต่เรื่องส่วนตัวต้องใช้เงินส่วนตัว คือ “เงินเดือนของตัวเอง”
ส่วนเงินของร้านค้าที่ขายของมาได้ควรจะจ่ายในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับร้านค้าเท่านั้น เช่น ชำระหนี้การค้า ซื้อวัตถุดิบ จ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ อะไรก็ได้ ที่เกี่ยวกับร้านค้าของเรา
เพราะเงินขายของที่ได้รับมา มันประกอบด้วย
ต้นทุนของที่เราจะนำมาขาย ต้นทุนค่าดำเนินการ และกำไร อยู่ในนั้น
แต่เวลาที่เราหยิบออกมาใช้ เรากลับมองว่ามันเป็นรายรับล้วนๆ!!
ไม่คิดจะแยกทุนแยกกำไร พอเอาไปใช้ผิดประเภท เท่ากับว่าได้ใช้ทั้งกำไรและต้นทุนไปทั้งหมด จนตัวเองจะไม่มีทุนมาซื้อของเพื่อที่จะขายในครั้งต่อไป
1
เหตุการณ์เช่นนี้ มักจะเกิดขึ้นกับ SMEs ในบ้านเรา
ที่เริ่มต้นเติบโตมาจากระบบเจ้าของคนเดียว มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เอาความเชี่ยวชาญนั้นมาทำธุรกิจ จนประสบความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า มีลูกค้ามากมาย
แต่อยู่ๆ ก็เกิดอาการซวนเซ เพราะขาดความรู้ความเข้าใจ ในการบริหารจัดการเรื่องการเงิน
จนทำให้เป็นสาเหตุ” ขายดียังไง แล้วทำไมถึงเจ๊ง?”
ปล บทความนี้ไม่ได้มีงานวิจัยอะไร อาจเป็นแค่มุมมองหนึ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจเจ๊งได้ และต้องขออภัยด้วยถ้าบทความนี้ไม่ตรงกับมุมมองของใครๆนะครับ🙇🏻‍♂️
##ขอขอบคุณพี่ๆน้องๆที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้เพจใจดีนะครับ🙇🏻‍♂️##
สามารถติดตามใจดี ได้อีกช่องทางที่ App :facebook blockdit และ instagram
#ถ้าใจเราดี.อะไรๆก็ดีไปหมด
โฆษณา