22 ธ.ค. 2020 เวลา 04:31 • ข่าว
เมื่อประมาณหนึ่งเดือนก่อนมีการสัมภาษณ์แรงงานที่ถูก(ควบคุม)
ในที่พัก ประเทศสิงคโปร์ผ่านสื่อและองค์กรสิทธิมนุษยชน ว่าตัวเอง
ถูกรัฐบาลสิงคโปร์ริดรอนสิทธิ์ มีหลายคนบอกเป็นความเหลื่อมล้ำ
ร้องขอกลับบ้านที่ประเทศตัวเอง เพราะทนแรงกดดัน ที่ถูกจำกัดบริเวณต้องถูกจำกัดภายในอาคารที่พัก คนที่ป่วยจะได้ออกไปรับการรักษา พอหายก็จะถูกส่งกลับมากักตัวที่เดิมที่เคยอยู่และแออัด คนป่วย หายป่วยปนกัน
คนที่หายกลับมาต้องมาอยู่ร่วมกับคนที่พวกเขาเอง ก็ไม่วางใจว่าปลอดเชื้อจริงๆ ความกลัวว่าจะติดเชื้อซ้ำ ไม่มีงานทำ ถูกกักตัว (ถูกรังเกียจ ที่เป็นคนแพร่เชื้อ และที่สำคัญไม่มีรายได้เข้ามาเพราะไม่ได้ทำงาน) เมื่อพ้นระยะตื่นตกใจ ก็อาจเกิดภาวะสติแตก แหกค่าย กลายเป็นการสร้างปัญหาต่อเนื่อง หนึ่งปัญหาถึงพวกเราคนไทยต้องรับรู้
ที่ผ่านมาก็พอจะรู้จักนิสัยใจคอ ที่ดีก็มีที่แย่ก็หลาย เป็นธรรมดามนุษย์
ก็พอจะเข้าใจ ถึงวิธีปฏิบัติของกลุ่มแรงงานที่ก่อเหตุแล้วหนีกลับประเทศ (ต้องทำใจเผื่อเพื่อหาทางป้องกันดีกว่าวัวหายล้อมคอก)
ไทยจะใช้โมเดลสิงคโปร์ ในขณะที่ประเทศถูกมองว่าเป็นประเทศเผด็จการ การช่วยเหลือแรงงาน อาจเป็นดาบสองคมที่กลับมาทิ่มแทง เพราะทัศนคติและความเชื่อของต่างประเทศต่อประเทศไทย คงยากลำบากที่จะอธิบาย แถมพบว่าทางการต่างประเทศฝั่งโน้นก็ขอระบายโควิด 555ล้อเล่น ส่งแรงงานที่ทำเรื่องขอเข้ามาทำงานในไทยอีก6หมื่นราย ก็ไม่เยอะนะ ตอนนี้อยู่ในไทยก็ประมาณ 2ล้านเท่านั้นเอง ยังไม่รวมลาว กัมพูชา ประเทศไทยก็ดีอย่างนี้เอง
ตอนนี้เร่งตรวจโควิดให้กลุ่มแรงงาน กักตัว จัดอาหารให้ ป่วยรักษา ก็อย่าประมาท ว่าบรรดาแรงงานจะเข้าใจทั้งหมด (ขนาดคนไทยเราเองในภาวะวิกฤตก็มีสิทธิ์สติแตกได้) เมื่อพวกเขามาทำงานแต่ไม่ได้ทำงานเงินจะเข้ามาจากไหน
โรคระบาดไม่ให้ทางเลือกมากนัก โดยเฉพาะประเทศไทยที่กำลังตกที่นั่งลำบาก หลักการที่จะปกป้องรักษาชื่อเสียง หรือหลักการปฏิบัติเพื่อมนุษยธรรมที่ต้องปรากฏออกมาบนศรัทธาที่ชัดเจน
เราปรารถนาดีที่จะต้องแยกเอาคนที่ติดเชื้อออกมาจากกลุ่มคนไม่ติดเชื้อ กักตัว รักษา ส่งกลับหรือกลับมาทำงานต่อ แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่สามารถควบคุม ตรวจสอบได้ เพื่อยุติการระบาด
แต่ความรู้สึกของแรงงานที่ถูกกักตัวเป็นอย่างไร เขาคิดอย่างไร พร้อมให้ความร่วมมือ ยอมรับเหตุผลหรือให้ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ ท่านจะจัดการกันอย่างไร คิดวิธีที่เราจะประยุคใช้ เพราะกลุ่มแรงงานคนละกลุ่มกัน เราเมียนมาร์ สิงคโปร์คือบังคลาเทศและอินเดีย กลุ่มไหนเป็นอย่างไร
เพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้น ระยะยาว กันไปเป็นเดือนๆ(ปี) เพราะแรงงานก็คงต้องการ แต่โรคระบาดก็ต้องควบคุม
ทางรอด
1.สิงค์โปร์โมเดลเพื่อจำกัดวงการระบาด คือการกักบริเวณอย่างจริงใจจริงจังห้ามออกนอกพื้นที่(Lockdown) การที่ต้องกักแบบสิงคโปร์คือพวกที่ต้องการทำงานอยู่ก็คืออยู่ในที่ถูกกำหนดเป็นเวลานานไม่ใช่แค่14 วันอาจเป็นเดือนเพราะป้องกันผู้อื่น (แต่ถ้าใครไม่ต้องการอยู่ประเทศไทย เราจะทำอย่างไร ผลักดันให้ออกทันที หรือต้องกักตัวต่อ)
2.พรมแดนต้องปิดอย่างเข้มแข็ง ด่านตรวจคนเข้าเมืองตามชายแดน ทั้งที่เป็นด่านถูกกฏหมายหรือไม่ถูกกฏหมาย(แอบเข้ามาทางด่านธรรมชาติต้องมีการเฝ้าระวังอย่างกระชับ เป็นไปตามขั้นตอน อย่างถูกต้องทั้งการอนุญาตให้เข้ามาในประเทศหรือหลักการควบคุมโรคต้องแม่นทั้งนโบายและผู้นำไปปฏิบัติ
3.ด่านตรวจเฉพาะจุดต้องมีจำนวนมากพอ ที่ตรวจจับสกัดคนที่ลักลอบไม่ให้เข้าสู่ใจกลางเมือง ต้องมีให้มากขึ้น
4.การตรวจคัดกรอง ชุดตรวจ การตรวจ PUIให้มากขึ้น ควรมีราคาถูกหรือฟรี
5.ประชาชนทุกคนเดินทางข้ามจังหวัดให้น้อยที่สุด+ หลักการปฏิบัติตัวที่ครบถ้วนอย่างถูกต้องอย่าหละหลวม แมสใส่ให้ติด เจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง สแกนชัยชนะ
ตัวเลขที่ตรวจเจอในสมุทรสาคร คงจะพุ่งสูง เราอาจรับรู้เหตุการณ์
อยู่ห่างๆแบบห่วงๆ
และถ้าต้องกินอาหารทะเลก็ต้องบอกว่ากินได้ แต่อย่ากินดิบ คนที่จะนำมาปรุงคือคนที่ต้องระวังการสัมผ้สกับอาหารทะเลอย่างระมัดระวัง (คงคล้ายกับต่อมพิษที่อยู่ภายนอกและเราต้องจำกัดให้หมดก่อนนำไปปรุง และไม่ให้ส่วนที่เราไปสัมผัสหรือจับถูกต้องอาหารนั้นไปสัมผัสใบหน้าหรือหน้าตาก่อนที่จะทำให้สุก พร้อมที่จะกิน
ติดตามข่าว แต่อย่าไปหลงประเด็นในข่าวลือหรือแฟคนิวส์ มีสติในการเสพข่าว ป้องกันตัวเองตามแนวทาง ระวังเต็มที่ ระแวงได้ แต่ต้องรักษาจิตใจให้สมดุลย์ ไม่เครียดจนสติแตก เดี๋ยวมันก็จะผ่านไปได้
ขอบคุณที่กดไลค์แชร์ติดตามคอมเม้นต์ที่สร้างสรรค์
ขอบคุณภาพจาก
ไทยรัฐออนไลน์
เดลินิวส์ออนไลน์
ไทยพีบีเอสออนไลน์
reference
โฆษณา