29 ธ.ค. 2020 เวลา 00:32 • ธุรกิจ
รู้หรือไม่? จีนก็เสี่ยงเกิดวิกฤตหนี้ ปัญหาที่คุณอาจมองข้าม
เพื่อน ๆ คงจะคุ้นชินกับเนื้อหาในช่องของผมที่ชอบพูดถึงปัญหาหนี้สินที่เติบโตขึ้น
มหาศาลของบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ ญี่ปุ่น อังกฤษ หรือกลุ่มประเทศในยุโรป ที่ทำให้นักลงทุนระดับโลกมากมายกังวลว่ามันจะเป็นระเบิดเวลาของวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ในอนาคต
6
นักลงทุนบางส่วนจึงเริ่มกระจายพอร์ตการลงทุนไปยังที่อื่น ๆ โดยเฉพาะ “จีน”
ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างโดดเด่นมาตลอด 3 ทศวรรษและมีศักยภาพที่จะ
เติบโตได้อีกในอนาคต
และหากไปดูปริมาณหนี้สาธารณะต่อ GDP ในปี 2019 ที่อยู่ที่ประมาณ 52% กับเงินสำรองระหว่างประเทศปริมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์ (คิดเป็นประมาณ 20% ของ
GDP) ซึ่งมากที่สุดในโลกนั้นก็สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของภาคการเงินของ
ประเทศจีน
นอกจากนี้ประเทศจีนยังมีสถานะเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐ (รองจาก
ญี่ปุ่น) และยังมีประเทศน้อยใหญ่มากมายที่เป็นกำลังเป็นหนี้จีน
แต่คุณเชื่อไหมครับว่า จริง ๆ แล้วจีนเองก็กำลังประสบปัญหาด้านหนี้สินอยู่เหมือน
กัน! แม้รูปแบบของปัญหาจะแตกต่างจากประเทศอื่น แต่บอกได้เลยครับว่าหนักไม่
แพ้กันเลยทีเดียว
8
คำถามคือ ในเมื่อประเทศอื่น ๆ เป็นลูกหนี้จีน แล้วจีนเป็นลูกหนี้ใคร?
2
คำตอบคือหนี้ส่วนใหญ่ของจีนนั้นเป็นหนี้ “ตัวเอง” ครับ คือเป็นการกู้ยืมกันภายในประเทศของรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละมณฑลและบริษัทเอกชนต่าง ๆ ที่ใช้วิธีกู้ยืมผ่าน
การออก "หุ้นกู้" โดยผู้ซื้อหุ้นกู้ส่วนใหญ่ก็คือสถาบันการเงินของรัฐเอง
3
พูดง่าย ๆ คือรัฐบาลกลางปล่อยกู้ให้หน่วยงานในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอก
ชน เพื่อเอาไปพัฒนาประเทศตามแผนที่วางเอาไว้ ซึ่งก็ดูเป็นเรื่องที่ดีนะครับ
เพราะมันเป็นตัวเร่งให้เศรษฐกิจของจีนเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
8
แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่าหนี้ส่วนใหญ่เหล่านั้นถูกนำไปใช้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ท่าเรือ ทางรถไฟ และอาคารสำนักงาน สนามกีฬา ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ที่ไม่สามารถทำกำไรได้ในระยะเวลา 1-2 ปี
1
เพื่อน ๆ น่าจะเคยเห็นข่าวกันมาบ้างนะครับว่าเกิดเมืองร้างขึ้นมากมายในจีน เนื่องจากสร้างแล้วไม่มีคนไปอยู่ ประชากรขยายตัวไม่ทัน
สิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนผ่านตัวเลขการเติบโตของหนี้ที่รวดเร็วอย่างน่าตกใจและที่สำคัญคือ “มันโตเร็วกว่า GDP”
5
แม้ว่าใน 10 ปีที่ผ่านมา GDP ของจีนจะเติบโตประมาณ 7-10% มาโดยตลอด แต่
คุณรู้ไหมครับว่า ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา หนี้ภายในประเทศจีนนั้นเติบโตสูงกว่า
20% ทุกปี จนตอนนี้จีนมีหนี้ในประเทศสูงถึง 335%ต่อGDP
3
เปรียบเทียบง่าย ๆ เหมือนปีหน้าคุณได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 2,000 บาท แต่ค่าใช้จ่าย
ของคุณเพิ่มขึ้น 4,000 บาท ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ คงไม่ดีแน่นอนใช่ไหมครับ
ปัญหาที่ตามมาคือบรรดารัฐบาลท้องถิ่นและบริษัทเอกชนที่กู้เงินจากรัฐบาลกลางไปนั้นเกิดการขาดสภาพคล่องจึงก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ปี 2018 และยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะปีนี้ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด19 มาเป็นตัวเร่ง
2
ซึ่งความเสี่ยงนั้นก็ไปตกที่เจ้าหนี้อย่างรัฐบาลกลางที่แม้สถานะทางการเงินในปัจจุ
บันจะยังดูเข้มแข็ง แต่ถ้าแนวโน้มยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปก็น่าเป็นห่วงครับว่าจะเอาอยู่หรือไม่
1
นอกจากการผิดนัดชำระหนี้ในประเทศแล้ว อีกหนึ่งปัญหาใหญ่คือโครงการ The
Belt and Road Initiative (BRI) หรือทางสายไหมใหม่ที่จีนได้ปล่อยกู้ให้ประเทศใน
กลุ่มตลาดเกิดใหม่นำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างเส้นทางที่เชื่อมต่อ
เอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเข้าด้วยกัน
10
ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ก็ได้ตั้งคำถามถึงความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศ
เหล่านี้ (เช่น ปากีสถาน ไนจีเรีย บังคลาเทศ) ว่าหากโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นไม่
สามารถทำกำไรได้อย่างรวดเร็วแล้วพวกเขาจะเอาเงินที่ไหนมาชำระหนี้ให้จีน
2
จะเห็นได้ว่าตอนนี้รัฐบาลกลางของจีนนั้นเต็มไปด้วยลูกหนี้ที่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดนัด
ชำระหนี้ และนี่ยังไม่นับรวมปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐที่อาจทำให้
สหรัฐใช้เป็นเหตุผลในการเบี้ยวหนี้จีน ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปครับว่ารัฐบาลกลางของจีนจะบริหารสภาพคล่องได้ดีพอหรือไม่
1
เพราะสุดท้ายแล้วโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่ลงทุนไปนั้นจะเป็นผลดีกับเศรษฐกิจของจีนในระยะยาว แต่ระหว่างทางนั้นคงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างแน่นอน
แล้วเพื่อน ๆ มีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ ประเทศจีนจะเป็นอย่างไรต่อไป
หากการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาหรือกลายเป็นโอกาสของรัฐบาลจีน คอมเมนท์มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
.
แอดปุง
โฆษณา