30 ธ.ค. 2020 เวลา 06:30 • ธุรกิจ
“ผีน้อยเกาหลี” ตายพุ่งสูงที่สุด รัฐบาลเกาหลีใต้เมิน
ไม่ได้สิทธิรักษา ไม่กล้าเรียกร้อง ยอมทนป่วยดีกว่าโดนจับ
“ผีน้อย” ฉายาของกลุ่มแรงงานผิดกฎหมายชาวไทยที่ลักลอบเข้าไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้ ปัญหาใหญ่ที่ทั้งไทยและเกาหลีใต้ ยังไม่สามาแก้ไข และนับวันค่านิยมนี้ก็แพร่หลายไปในกลุ่มผู้ต้องการไปหางานทำในต่างแดน โดยไม่มีการดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบราชการ สิ่งที่ตามาจากการที่กลุ่มผีน้อยเหล่านี้แอบลักลอบเข้าเมืองไปทำงานแบบผิดกฎหมายก็คือ การไม่ได้รับสวัสดิการในการดูแลคุณภาพชีวิตแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการถูกทารุณกรรมจากนายเจ้า การต้องทำงานเกินเวลามากกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด รวมทั้งไม่มีสิทธิเข้าถึงการรักษาพยาบาลผ่านสวัสดิการดูแลแรงงานต่างด้าว
3
ดังนั้นการเสียชีวิตในต่างแดนของผีน้อยถึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก “มูลนิธิทอมสันรอยเตอร์ส”รายงานว่า แรงงานผิดกฎหมายของไทยที่เสียชีวิตในเกาหลีใต้ส่วนใหญ่ที่ไม่มีเอกสารการทำงานที่ถูกต้องกระตุ้นให้องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้มีการสอบสวนชะตากรรมของผู้อพยพที่เรียกว่า "ผีน้อย" เหล่านี้
1
คนไทยอย่างน้อย 522 คนเสียชีวิตในเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 2558 ถึง 84% ไม่มีเอกสาร โดยข้อมูลจากสถานทูตไทยในกรุงโซลที่ให้ข้อมูลว่า ผู้เสียชีวิต 4 ใน 10 ราย เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ขณะที่การเสียชีวิตอื่นๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพ อุบัติเหตุ และการฆ่าตัวตาย
1
จำนวนคนงานที่เสียชีวิตในปีนี้ก็สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 122 คน ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดของกลางเดือนธันวาคม 2563 จากข้อมูลนี้สถานทูตไทยมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเสียชีวิตเพราะผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ที่มีต่อสุขภาพของแรงงาน
1
สำหรับผีน้อยคนไทย มีอัตราการเสียชีวิตในเกาหลีใต้มากขึ้น และมากกว่าประเทศอื่นๆ ระหว่างปี 2558 – 2561 นิลิมบา รูอาห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (ILO) กล่าวว่า ข้อมูลเหล่านี้ต้องได้รับการเอาใจใส่และตรวจสอบ แรงงานข้ามชาติที่ไม่มีเอกสารได้รับการคุ้มครองน้อยที่สุดและมีปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัย”
1
นักรณรงค์และเจ้าหน้าที่ไทยกล่าวว่า แรงงานข้ามชาติทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ไม่มีเอกสารจำนวนหลายหมื่นคนในเกาหลีใต้ทำงานหนักเกินไปไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล แต่แทบไม่ยอมบอกกับเจ้าหน้าที่เพราะกลัวว่าจะถูกเนรเทศผลักดันออกนอกประเทศ
2
ข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะโดยรัฐบาลทั้งสองฝ่ายจึงไม่ค่อยให้ความสนใจเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานหรือการจัดการถึงมาตรการต่างในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโควิด -19 มันทำให้แรงงานต่างชาติตกอยู่ในความเสี่ยงมากขึ้น
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานแห่งสหประชาชาติ (IOM) กล่าวว่า มีความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับข้อมูลที่เปิดเผยโดยมูลนิธิทอมสันรอยเตอร์ส และกำลังอยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์
1
กระทรวงแรงงานความยุติธรรมและการต่างประเทศของเกาหลีใต้ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว ส่วนสถานทูตเกาหลีใต้ในกรุงเทพฯ ไม่ตอบสนองต่อคำร้องนี้แต่อย่างใด
#ยอมหนีเข้าเมืองเพื่อทำงานหนักและสกปรก
คนไทยอย่างน้อย 460,000 คนทำงานในต่างประเทศอย่างถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ข้อมูลจากกระทรวงต่างประเทศของไทยแสดงให้เห็นว่า ประเทศเกาหลีใต้เป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของแรงงานไทยประมาณ 185,000 คน
การเดินทางระหว่างทั้งสองประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่าเริ่มในปี 2524 ผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงานกล่าวว่า คนไทยจำนวนมากอพยพไปทำงานก่อนโอลิมปิกฤดูหนาวพยองชางในปี 2018 และจบลงด้วยการอยู่ในฐานะคนงานที่ไม่มีเอกสารในโรงงานและในฟาร์ม เพื่องานที่หนักและสกปรก
สถานทูตไทยในกรุงโซลรายงานว่า แรงงานไทยประมาณ 1 ใน 10 จาก 185,000 คนทำงานที่นั่นอย่างถูกกฎหมายผ่านโครงการอพยพแรงงานที่เรียกว่าระบบใบอนุญาตการจ้างงาน (EPS)
ส่วนที่เหลือเป็นแรงงานข้ามชาติที่ไม่มีเอกสารทางกฎหมายเรียกว่า “ผีน้อย” ซึ่งจ่ายค่าจ้างให้นายหน้าในประเทศไทยเพื่อส่งตัวเองไปทำงานในต่างประเทศ โดยต้องจ่ายเงินหลักหลายหมื่นถึงหลักแสน อาจรวมถึงค่าตั๋วเครื่องบินและที่พักในเกาหลีใต้
แรงงานข้ามชาติเหล่านี้ซึ่งกลายเป็นผู้ลักลอบเข้าเมืองทันทีจากอยู่เกินระยะเวลาพำนักในประเทศที่จำกัดไว้ 90 วัน และไปทำงานในภาคส่วนต่างๆ ที่เน้นแรงงานราคาถูก โดยพวกเขาสามารถสร้างรายได้อย่างน้อย 1.2 ล้านวอนเกาหลี หรือ 1,100 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยถึงสามเท่
กระทรวงการต่างประเทศของไทยกล่าวว่า สถานทูตมีหน้าที่ดูแลคนไทยโดยไม่คำนึงถึงสถานะของพวกเขา แต่การเข้าถึงแรงงานที่ไม่มีเอกสารเป็นเรื่องยาก
สถานทูตไทยในกรุงโซลรวบรวมข้อมูลการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติโดยอ้างอิงจากรายงานของโรงพยาบาลหรือตำรวจ สำหรับการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นในที่ทำงานหรือที่บ้าน การเสียชีวิตทั้งหมดได้รับการติดตามด้วยการชันสูตรพลิกศพ แต่ผลไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ
นายบัญชา ยืนยงจงเจริญ อัครราชทูตที่ปรึกษาประจำสถานทูตไทยในกรุงโซลกล่าว “แรงงานไทยผิดกฎหมายจำนวนมากเสียชีวิตโดยไม่คาดคิดระหว่างการนอนหลับซึ่งอาจเกิดจากการทำงานหนักเกินไปและปัญหาสุขภาพส่วนตัวโดยไม่ได้รับยาที่เหมาะสม คนงานเหล่านี้ทำงานหนักและสกปรก ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลของรัฐได้”
1
ศูนย์แรงงานข้ามชาติอาซาน (AMWC) กล่าวว่ามีความกังวลว่าแรงงานที่ไม่มีเอกสารจากชาติอื่น ๆ เช่นเนปาล อินโดนีเซีย และเวียดนามก็เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุเช่นกัน
“หากคุณไม่มีวีซ่าการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของคุณจะถูกตัดออกและคุณต้องเสียค่าใช้จ่าย 10 ล้านวอน หรือ 9,140 ดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อไปโรงพยาบาลและเข้ารับการผ่าตัด แรงงานข้ามชาติที่ไม่มีเอกสารจำนวนมากที่ป่วยรวมทั้งคนไทยต้องยอมทนความเจ็บปวดหรือยอมตายมากกว่าต้องรับโทษ”
หลังจากการเสียชีวิตของคนงานชาวพม่าในปี 2018 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของเกาหลีใต้ได้ให้คำแนะนำแก่กระทรวงยุติธรรมเกี่ยวกับวิธีหยุดการเสียชีวิตเพิ่มเติม เช่นการรับผิดชอบต่ออุบัติเหตุและการระงับการปราบปรามคนงานที่ไม่มีเอกสาร และกระทรวงได้ตอบสนองต่อคำแนะนำบางประการโดยกล่าวว่าจะชี้แจงระเบียบการด้านความปลอดภัยสำหรับการปราบปรามและปรับปรุงการศึกษาสำหรับเจ้าหน้าที่ตามที่คณะกรรมาธิการระบุ ส่วนความเห็นเกี่ยวกับคำแนะนำของคณะกรรมาธิการต่อมูลนิธิทอมสันรอยเตอร์ส ทางกระทรวงไม่มีความเห็นต่อเรื่องนี้
1
#เสียงสะท้อนจากผีน้อยเกาหลีใต้
มูลนิธิทอมสันรอยเตอร์ได้พูดคุยกับแรงงานข้ามชาติไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันที่ไม่มีเอกสารจำนวน 7 คนในเกาหลีใต้ซึ่งอธิบายว่า ได้รับค่าจ้างน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำและทำงานเป็นเวลานานในสภาพที่ยากลำบากตั้งแต่สกปรกไปจนถึงอันตราย
นางสาวนิด นามสมมุติ อายุ 32 ปี ที่ปัจุบันเธอประกอบอาชีพหมอนวดเล่าว่า เธอเคยทำงานเป็นคนทำความสะอาดในห้องเช่าแห่งหนึ่งในใจกลางเมืองชองจูและเธอป่วยเป็นไข้เมื่อเดือนกรกฎาคมหลังจากทำงานต่อ 1 กะ เป็นเวลา 15 ชั่วโมง โดยมีวันหยุดเพียง 1 วันต่อเดือน ซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายแรงงานของเกาหลีใต้ ซึ่งอาการป่วยของเธอทำให้เธอไม่สามารถทำงานได้เกือบ 4 เดือน
“ฉันคิดว่าฉันจะไปนอนแล้วไม่มีวันตื่น” ตัดพร้อมพร้อมบอกว่าเธอต้องจ่ายเงินให้นายหน้า 100,000 บาท (3,330 ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อหางานทำในเกาหลีใต้
นิดกล่าวว่าเธอติดต่อสถานทูตไทยในโซลหลังจากล้มป่วยและขอความช่วยเหลือเพื่อกลับบ้าน เธอบอกว่าเธอถูกจัดให้อยู่ในรายชื่อผู้รอดำเนินการซึ่งปัจจุบันมีคนไทยประมาณ 10,000 คนในเกาหลีใต้กำลังรอสิทธิ์นี้ตามข้อมูลของสถานทูต
“มันเหมือนกับว่าพวกเขาตัดสินไปแล้ว เราเป็นผีน้อยและเลือกที่จะมาที่นี่อย่างผิดกฎหมายดังนั้นเราจึงต้องรับมือกับสถานการณ์นี้เอง”
องค์กรบางแห่งเช่นศูนย์สวัสดิการผู้ย้ายถิ่นเมืองนัมยางจูให้การดูแลสุขภาพฟรีแก่ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสาร แต่กล่าวว่าการแพร่ระบาดของไวรัสทำให้บริการเหล่านี้หยุดชะงัก
1
ลียอง นักบวชที่ทำงานกับช่วยเหลือในศูนย์กล่าวว่า “ตัวอย่างเช่นมีคนงานที่ไม่มีเอกสารจำนวนมากที่ต้องการยารักษาโรคเบาหวาน แต่เนื่องจากเราไม่สามารถเปิดบริการฟรีของเราได้ในตอนนี้เนื่องจากไวรัสสภาพของพวกเขาจึงแย่ลง”
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา หน่วยงานด้านสุขภาพของเกาหลีใต้ให้คำมั่นว่าจะต่อสู้กับ "จุดบอดในการกักกัน" โดยรับประกันว่าผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารสามารถเข้าถึงการทดสอบไวรัสได้โดยไม่ต้องกลัวผลกระทบ
กระทรวงยุติธรรมของเกาหลีใต้บอกกับมูลนิธิมูลนิธิทอมสันรอยเตอร์สว่า ที่จริงแล้วผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารสามารถเดินทางออกจากประเทศได้โดยสมัครใจและไม่มีบทลงโทษใดๆ หลังจากการระบาดของไวรัส แต่ทางเลือกดังกล่าวจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน ซึ่งหลายคนไม่ยอมเดินทางกลับเลือกที่จะอยู่ในเกาหลีใต้ เพราะกลัวจะถูกขึ้นบัญชีดำไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานได้อีก
ส่วนสถานทูตไทยในกรุงโซลกล่าวว่า ได้พยายามช่วยเหลือแรงงานอย่างน้อย 10,000 คนให้เดินทางกลับประเทศไทยภายในปีนี้
2
#ชีวิตนอกกฎหมายที่ไม่ป่วยตายก็อาจไม่ได้รับเงินเดือน
สุชาติ พรชัยวิเศษกุล หัวหน้าแผนกจัดหางานของกระทรวงแรงงานกล่าวว่า คนที่อพยพไปเกาหลีใต้ผ่าน EPS และครอบครัวมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยจากรัฐบาลในกรณีเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต
“ปัญหาคือคนส่วนใหญ่เป็นแรงงานผิดกฎหมายดังนั้นจึงอยู่นอกการคุ้มครองของกฎหมาย”
1
รัฐบาลได้ใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้คนไทยเดินทางไปทำงานผิดกฎหมายในต่างประเทศในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเน้นไปที่การปราบปรามเว็บไซต์จัดหางานออนไลน์ชวนเชื่อที่ชักชวนให้ไปทำงานผิดกฎหมาย
แต่นักรณรงค์ด้านสิทธิแรงงานกล่าวว่ามาตรการดังกล่าวจะไม่แก้ปัญหาการอพยพอย่างผิดกฎหมายและเรียกร้องให้รัฐบาลไทยช่วยให้คนไปทำงานในต่างประเทศอย่างถูกกฎหมายได้ง่ายขึ้น
ร้อยชัย วงศ์สุบรรณ ที่ปรึกษาจาก The Freedom Fund องค์กรต่อต้านการค้าทาสกล่าวว่า “ในสายตาของคนไทยมองว่าแรงงานผิดกฎหมายเหล่านี้คือความมีความอัปยศต่อแรงงานข้ามชาติ รัฐบาลไทยไม่มีความเข้าใจถึงความสำคัญของการทำให้การย้ายถิ่นปลอดภัยขึ้น”
อดีตแรงงานข้ามชาติรายหนึ่งซึ่งขอไม่เปิดเผยตัวตนกล่าวว่าเขาจ่ายเงิน 120,000 บาท (4,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับนายหน้าชาวไทยในปี 2557 สำหรับงานในเกาหลีใต้และลงเอยด้วยการทำงานในฟาร์มเลี้ยงหมูในเมืองแทกูทางตะวันออกเฉียงใต้โดยไม่มีวันหยุด
เมื่อเขาทำงานโดยไม่ได้รับเงินเดือนหลังจากผ่านไป 3 เดือนชายวัย 51 ปีคนนี้ก็ตัดสินใจหนี ก่อนจากไปเขาบอกว่าเขาเขียนข้อความเป็นภาษาไทยบนผนังห้องนอนเพื่อเตือนคนอื่น ๆ
1
“ ถึงเพื่อนคนไทย : ถ้าคุณถูกส่งไปทำงานที่นี่ระวังว่าคุณจะไม่ได้รับเงิน”
แหล่งอ้างอิง
Exclusive: Hundreds of Thai workers found dying in South Korea with numbers rising
โฆษณา