2 ม.ค. 2021 เวลา 12:26 • ประวัติศาสตร์
ใครคือเจ้าของวลีเด็ด "ศัตรูของศัตรู คือ มิตรของเรา" ?
1
เชื่อว่า นักการตลาด หรือนักวางแผนในยุคใหม่ๆ น่าจะมีคติการวางกลยุทธ์ ในรูปแบบที่ว่านี้
"ศัตรูของศัตรู คือ มิตรของเรา"
4
เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคน คงจะทราบความหมายกันดีอยู่แล้ว
งั้นบทความนี้ เราขอเล่าเรื่องราวของบุคคลที่เป็นต้นคิดประโยคนี้กัน
แล้ว อะไรที่ทำให้เขาคิดได้นะ ?
เขาผู้นี้มีชื่อว่า "ฮานิบาล บาร์กา (Hannibal Barca)"
มีชีวิตอยู่ในช่วง 247 ปีก่อนคริสตกาล (นานมากกแล้ว)
3
เขาผู้นี้ เป็นขุนพลชาวคาร์เทจโบราณ (Ancient Carthage) ในสมัยนั้นก็เปรียบได้กับผู้นำทางทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โรมัน ในขณะนั้นเลยก็ว่าได้
2
(เกริ่นมานิดนึงแบบนี้ เพื่อนๆ หลายคนที่เป็นนักเล่นเกม อาจจะเคยได้ยินชื่อของเขา ผ่านเกม "Total War" เกมที่วางแผนการรบมาบ้างแล้ว)
1
ผลงานสงครามที่สร้างชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ "การนำทัพในช่วงสงครามพิวนิกครั้งที่สอง"
1
สงครามพิวนิกครั้งที่สอง (Second Punic War) คืออะไร ?
- คือสงครามใหญ่ครั้งที่สองของ คาร์เทจ กับ สาธารณรัฐโรมัน เมื่อ 218 ปีก่อนคริสตกาล
- และชื่อ "พิวนิก" เป็นชื่อเรียกของอาณาจักรโรมัน ในภาษาคาร์เทจนั้นเรียกว่า "พิวนิชี" ตามภาษาฟีนีเชียนของบรรพบุรุษ
- การต่อสู้ทั้งหมด ก็เพื่อ ครอบครองดินแดนและน่านน้ำอิตาลี (ซึ่งคือแถวประเทศสเปนในปัจจุบัน)
1
แล้วผลของสงครามนี้ ฝ่ายไหนชนะ ?
- สปอยตอนจบเลยคือ ฝ่ายโรมันชนะ (ใช่แล้ว ฝ่ายคาร์เทจ ของฮานิบาลพ่ายแพ้ไป)
แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายคาร์เทจนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ฝ่ายโรมันจะกระทำได้อย่างรวดเร็ว และมีหลายๆ การกระทำที่ทำให้อาณาจักรโรมัน ต้องอึ้ง !
มาอ่านกันต่อ !
เริ่มสู้รบ !
ต้องบอกว่า กองทัพคาร์เทจของ ฮานิบาลเนี่ย มีความเสียเปรียบที่สูงอยู่พอตัว เพราะว่า เขาต้องนำกำลังพลเกือบ
90,00 นาย เดินทางผ่านข้ามเทือกเขาแอลป์ เพื่อไปซุ่มจู่โจมกองทัพโรมัน ในอิตาลี
ระหว่างเดินทางข้ามมา ฮานิบาลก็สูญเสียกำลังพลไปเกือบครึ่งกองทัพเลยก็ว่าได้
แล้วยังต้องมาเจอกองทัพโรมันอีกเกือบ 300,000 นาย ที่รอต้อนรับอยู่ที่อิตาลีแบบ ชิลๆ
เป็นที่น่าตกใจมาก เพราะ ฮานิบาล กับกำลังพลที่หายไปเกือบครึ่ง สามารถเอาชนะกองทัพโรมันได้ในยกแรก !
และชัยชนะยกแรกนั้น ก็เกิดมาจากการที่ฮานิบาล ซุ่มโจมตี อาศัยจังหวะที่โรมัน ไม่ทันไหวตัว นั่นเอง
1
“ฮานิบาล บาร์กา กับกลยุทธ์ที่ทำให้ กองทัพโรมัน ต้องปวดหัว”
ฮานิบาลรู้ดีว่า ด้วยกำลังกองทัพของเขาในตอนนั้น ถึงแม้จะชนะในยกแรก
แต่ถ้าฝืนสู้แบบ ประจันหน้า ยังไงก็ไม่สามารถเอาชนะกองทัพโรมัน ในบ้านเกิดของพวกเขาได้อย่างแน่นอน
ฮานิบาลจึง คิดแผน หารือร่วมกับพันธมิตรรอบข้าง
ซึ่งพันธมิตรในทีนี้ ฮานิบาลได้ทำการ ค้นหา ผู้ที่มีสถานะต้องยอมจำนน กับอาณาจักรโรมัน แต่ลึกๆแล้ว มีความเคียดแค้นที่อยากจะทำลายอยู่นั่นเอง
พูดแค่นี้ เพื่อนๆ ก็น่าจะเดาได้แล้วว่า โรมันจะเริ่มปวดหัวได้อย่างไร
ฮานิบาล ได้รวบรวม และปลุกปั่นความคิด ของเหล่าชนเผ่าที่อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรโรมัน อาทิเช่น เรื่องความไม่ชอบธรรมของการเก็บภาษี, การโดนกดขี่ข่มเหง ด้วยกำลังทางทหารที่เกินจำเป็นจากโรมัน
1
แน่นอนว่า ท้ายที่สุด ฮานิบาลก็สามารถ ใช้กลยุทธ์ล้อมเมืองศัตรูได้ ในรูปแบบนี้เอง
ในขณะที่ โรมัน กำลังปวดหัว วุ่นวาย สับสนอยู่นั้น
จึงทำให้พวกเขาโฟกัสได้ไม่เป็นจุด
กองทัพคาร์เทจของฮานิบาล จึงฉวยโอกาสนี้ โจมตีในจุดที่กองทัพโรมัน คิดไม่ถึง
แต่โรมันเองก็ไม่ได้ถึงกับพ่ายแพ้ซะทีเดียวนะ
การต่อสู้ในลักษณะนี้เนี่ย ยืดเยื้อมาเกือบ 15 ปีเลยทีเดียว...
3
หลังจากนั้น... กองทัพโรมัน ก็สามารถพลิกกลับมาเอาชนะได้
เอ้ะ...แต่เดี๋ยวก่อน แล้วกองทัพโรมัน กลับมาเอาชนะได้ยังไง ?
- ด้วยระยะเวลาที่กองทัพคาร์เทจ ต้องปักหลักห่างไกลจากบ้านเกิดของตัวเอง เกือบทศวรรษ แน่นอนว่า เสบียง อาวุธ หรือของใช้ชีวิตประจำวันของกองทัพ ก็ค่อยๆหมดไป
- ถึงแม้ว่ากองทัพของฮานิบาล จะได้รับการสนับสนุนจากชนเผ่าที่ต้องการแก้เค้นกับโรมัน แต่ทว่า.... เงินมีก็ต้องหมดไป... ชนเผ่าต่างๆ ไม่มีต้นทุน หรืออาวุธเพียงพอ ที่จะสนับสนุนแล้ว หากการสู้รบยืดเยื้อต่อไปแบบนี้
1
- พอเป็นแบบนี้ กองทัพโรมันก็เลย เข้ายึดเมืองใหญ่หลายเมืองที่เข้ากับฝ่ายคาร์เทจ และทำลายทัพชนเผ่าอื่นๆ ที่จะยกไปช่วยฮันนิบาล
- พอชนเผ่าอื่นๆ เริ่มเห็นเป็นแบบนี้ พวกเขาก็หมดความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะ และยอมจำนน ต่ออาณาจักรโรมันไปซะอย่างนั้นเลย (ก็คงต้องรักษาชีวิตเอาไว้ก่อน)
- ยัง ยังไม่จบ... เพราะกองทัพโรมันเห็นช่องโหว่ขนาดนี้ ก็ต้องกระทืบซ้ำต่อ
โดย โรมันตามไปค้นหาว่า กองทัพของฮานิบาลเนี่ย ไปได้เสบียง ได้อะไรมาจากที่ไหน และอย่างไร ?
- ซึ่งพวกเขาก็พบว่า... อ้อ ! ขนส่งมาจากทางเรือนี่เอง !
- งั้นก็ปิดน่านน้ำ ซะเลยยย
- พอตัดเส้นทางการขนส่งเสบียงมาได้แล้ว ก็จัดหาพันธมิตรที่สามารถเข้าไปยึดเมืองคาร์เทจ ในจังหวะที่ผู้นำไม่อยู่ซะเลย
2
เรื่องราวสงครามนี้ ก็จบลง ด้วยการที่กองทัพของฮานิบาล ไม่สามารถทำการสู้รบได้ และต้องถอยกลับไปอย่างเดียว
เราเห็นอะไรได้บ้าง ?
- เราจะเห็นได้ว่า ฮานิบาลนั้น ฉลาดหลักแหลมก็จริง
แต่สิ่งหนึ่งที่เขาไม่ควรจะไว้ใจมากขนาดนั้น คือ การพึ่งพาคนอื่นมากเกินไป
- ในเรื่องนี้คือ เขาได้หยิบกลยุทธ์ "ศัตรูของศัตรู คือ มิตรของเรา" มาใช้
- และนั่น ทำให้ ฮานิบาล ต้องหวังพึ่งอยู่กับ ปัจจัยที่เขาไม่สามารถควบคุมได้ อย่าง "จิตใจของคน"
- และอีกสิ่งหนึ่งคือ ฮานิบาล ไม่ได้วางแผนระยะยาว มาให้ดีพอ จึงเสียท่าครั้งใหญ่ให้กับโรมัน ทั้งๆที่ ตัวเองเป็นฝ่ายได้เปรียบอยู่แท้ๆ....
1
เพราะฉะนั้น กลับมามองมุมของนักการตลาด และนักธุรกิจที่นำแผนกลยุทธ์มาใช้
ก็ต้องอย่าทำให้ตัวเอง กลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ด้วยการทำให้สร้างสถานการณ์ทำให้ตัวเองไม่สามารถสู้รบต่อได้ แบบ ฮานิบาล..
อย่างไรก็ดี กลยุทธ์ที่ฉลาดของฮานิบาลนี้ ก็ถูกพูดถึงต่อไปจากชาวโรมัน อย่างกว้างขวาง เพราะเขาเป็นผู้ปลดล็อค แนวคิด "ศัตรูของศัตรู คือ มิตรของเรา" เลยก็ว่าได้
1
แม้กระทั่ง จูเลียส ซีซาร์ ก็ยังพูดถึงกรณีศึกษา ของฮานิบาล บาร์กา จากสงครามพิวนิก ให้กับเหล่าทหารของเขา เช่นกัน
น่าคิดต่อเล่นๆ นะว่า หาก กองทัพของฮานิบาล บาร์กา ได้รับการสนับสนุนเงินทุนในเรื่องของเสบียงต่อไป เรื่องราวประวัติศาสตร์ จะถูกบันทึกมาเป็นเช่นไรต่อ .... :)
1
โฆษณา