2 ม.ค. 2021 เวลา 12:34 • ประวัติศาสตร์
เค้าท์ดาวน์มาจากไหน?,
ต่างชาติกับประเพณีต้อนรับปีใหม่สุดพิลึก!
เเละประวัติวันปีใหม่ 🥂🎉
1
บทความโดย น้องมะลิ ชัชชญา จิตเกียรติกุล
3
เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ใกล้เข้ามาทุกทีเเล้วนะคะ เเต่ละสถานที่ก็คงเตรียมจัดธีมไฟสวยๆต้อนรับปีใหม่กันเเล้ว บางครอบครัวก็วางเเผนกันเรียบร้อยว่าหยุดยาวช่วงปีใหม่จะไปไหนกันดี(เช่นครอบครัวของผู้เขียนเป็นต้น😅) เเละที่ขาดไม่ได้เลยคงจะเป็นการเค้าท์ดาวน์นับถอยหลังต้อนรับปีใหม่ ว่าเเต่อยากรู้กันรึเปล่าคะว่าเค้าท์ดาวน์ที่คนส่วนใหญ่ชอบทำกันทุกปีมาจากไหน? เเล้วต่างชาติเขาฉลองปีใหม่กันเหมือนเรามั้ย? เเล้วจริงๆวันปีใหม่มันมีที่มาที่ไปยังไงกันละเนี่ย? ถ้าอยากรู้เเล้วไปอ่านกันเลยค่ะ
ประวัติวันปีใหม่
1
โดยสันนิษฐานว่า ชาวบาบิโลน(Babylonians) เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะของดวงจันทร์ในการนับเดือน เเละเมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี เพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือน โดยเชื่อว่าช่วงปลายเดือนมีนาคมของทุก4ปีถือเป็นการประกาศเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งในช่วงนี้ตรงกับช่วงการเก็บเกี่ยวข้าวบาร์เลย์อีกด้วย ชาวบาบิโลนจึงจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ถึง11วัน โดยเทศกาลนี้มีชื่อว่าอากิตู(Akitu) เเละไม่ได้จัดฉลองเเค่ปีใหม่กับการเก็บเกี่ยวข้าวบาร์เลย์อย่างเดียว ตามความเชื่อของชาวบาบิโลนยังถือว่า เป็นช่วงที่เทพเเห่งท้องฟ้ามาร์ดุก(Marduk)เอาชนะเทพเเห่งท้องทะเลผู้ชั่วร้ายอย่างเทพเทียเเมท(Tiamat)ได้อีกด้วย เเละในช่วงนี้จะเป็นช่วงผลัดเปลี่ยนบัลลังก์รวมถึงมีพิธีการสวมมงกุฏให้กษัตริย์พระองค์ใหม่ เรียกได้ว่าเฉลิมฉลองกันอย่างหลากหลายครบรสต้อนรับปีใหม่เลยทีเดียว
1
ต่อมาชาวอียิปต์(Egyptian) ชาวกรีก(Greeks) และชาวเซมิติก(Semitic) ได้นำพิธีฉลองปีใหม่ของชาวบาบิโลนมาดัดแปลงเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลของดินเเดนของตน จนเมื่อประมาณ46ปีก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์จูเลียต ซีซาร์(King Juliet Caesar)ไได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปตที่ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้1ปีมี365 วัน โดยทุกๆ4ปีให้เติมเดือนที่มี 28วันเพิ่มขึ้น1วันเป็น29วัน (ซึ่งก็คือเดือนกุมภาพันธ์) เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์ มี 29 วัน ให้ทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาล คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล ทำให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน จนมีการกำหนดให้ในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่เวลากลางวันและกลางคืนมี12ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)
แต่ในช่วงปี ค.ศ. 1582 วันทิวาราตรีกลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่21 มีนาคม ดังนั้นพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13(Pope Gregory Xlll) จึงทำการหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 แทนที่จะเป็นวันที่5ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่15ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี ค.ศ.1582 ) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่เป็นต้นมา
เเล้วเค้าท์ดาวน์มาจากไหน?
ไม่มีข้อมูลเเน่ชัดว่าใครเป็นผู้เริ่มใช้การนับถอยหลังหรือเค้าท์ดาวน์ต้อนรับปีใหม่เป็นคนเเรก เเต่การนับถอยหลังเกิดขึ้นจากการทดสอบปืน,จุดระเบิด หรือในการปล่อยจรวด ช่วงเวลาแห่งการนับถอยหลังนี้เรียกว่า "ทีไมนัสไทม์" (T minus Time) ซึ่งหมายถึงเวลาก่อนการปล่อยจรวด การนับถอยหลังจะมีขึ้นที่ทีไมนัสไทม์ที่ 5 นาที จากนั้นก็ลดลงเหลือทีไมนัส ไทม์ที่3นาที และทีไมนัสไทม์ที่40วินาทีตามลำดับ และสุดท้ายในช่วง10วินาทีที่เหลือจะมีการนับถอยหลังเสียงดังเป็นพิเศษ(ซึ่งก็คือต้นเเบบการนับถอยหลังเค้าท์ดาวน์ที่เราใช้กันในปัจจุบัน) เเละการนับถอยหลังหรือเค้าท์ดาวน์ที่โด่งดังจนใครหลายคนรู้จักน่าจะมาจากภาพยนตร์เรื่อง"Frau im Mond" ของฟริตซ์ เเลง เเละการนับถอยหลังยังถูกนำมาใช้ในการเริ่มฉายภาพยนตร์เก่าๆของชาวอังกฤษ คือก่อนที่จะฉายภาพยนตร์ทุกเรื่อง จะต้องมีการแสดงตัวเลขนับถอยหลังปรากฏขึ้นมา โดยจะทิ้งระยะช่วงละ 1 วินาที ดังนี้ คือ "10 NINE 8 7 SIX 5 4 3" (สาเหตุที่ข้ามเลข 6 และ 9 ไป ก็เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความสับสนในกรณีที่วางฟิล์มกลับหัว)
1
เเละในปัจจุบันเค้าท์ดาวน์ก็ได้กลายเป็นเทศกาลนับถอยหลังเฉลิมฉลองเพื่อก้าวสู่ปีใหม่มาจนถึงทุกวันนี้ เเละหลังจากเค้าท์ดาวน์กันเเล้ว ผู้คนมักจะส่งคำอวยพรวันปีใหม่ให้เเก่กันเเละกัน เเล้วหลังจากนั้นจะเเยกย้ายกลับบ้าน หรือไปต่อที่ไหนก็เเล้วเเต่ใจจะพาไปล่ะค่ะ ^^
2
การฉลองปีใหม่สุดพิลึก !!!
ในไทยเราเองการฉลองปีใหม่หรือทำอะไรข้ามปีอาจจะเป็นการไหว้บรรพบุรุษหรือผู้ใหญ่ในบ้าน,ทำบุญตักบาตร,หรือไปเที่ยวกับเพื่อนเเละครอบครัว ถ้าทำอะไรข้ามปีที่เเปลกๆอาจจะเป็นการเข้าห้องน้ำข้ามปี..หรือการซ่อมขาเก้าอี้ข้ามปี..(อันนี้ผู้เขียนเคยทำค่ะ😅)เเต่ต่างประเทศเขามีเเปลกกว่านั้น! จะเเปลกยังไงไปอ่านกันเลยค่ะ
1
1 เดนมาร์กกับการขว้างจาน
ที่เดนมาร์กในช่วงเวลาเที่ยงคืนวันปีใหม่ของทุกปี หนุ่มสาวจะไปยังบ้านของคนที่ตนเองรักเเละขว้างจานชามไปที่หน้าประตูบ้านของคนๆนั้นให้จานเเตกละเอียด! เเละมีความเชื่อว่ายิ่งขว้างจานใส่บ้านคนที่รักได้มาก ก็ยิ่งมีโชคมากขึ้นเท่านั้น
2 ต่อยกันต้อนรับปีใหม่ฉบับเปรู
ที่เปรูมีการต่อยกันต้อนรับปีใหม่! เหนือจากการขว้างจานมีการต่อยกันค่ะ..โดยมีประเพณีชื่อทากานากุย(Takanakuy)เป็นประเพณีสุดเเปลกที่จัดขึ้นในเมืองซานโตโทมัส(Santo Tomás)โดยจะจับคู่คนออกมาต่อยกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่เเข็งเเกร่งในชุมชนเเละลดความขัดเเย้งในอนาคตของทั้งสองฝ่าย
3 ฉลองปีใหม่ให้คนตายในชิลี
ในชิลีจะร่วมกันฉลองปีใหม่ให้กับคนที่ตายไปเเล้ว โดยชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่สุสานเพื่อเฉลิมฉลองวันปีใหม่กับคนรักที่เสียชีวิตไปเเล้วโเยเชื่อว่าทุกปีใหม่ วิญญาณของพวกเขาจะกลับมาเยือนอีกครั้ง
4 เผาหุ่นไล่กาที่เอกวาดอร์
ในเอกวาดอร์ตอนเที่ยงคืนของปีใหม่ ประชาชนจะจุดไฟเผาหุ่นไล่กา(ที่หน้าตาหุ่นไล่กามักทำให้เหมือนใบหน้าของคนที่มีชื่อเสียง)โดยเชื่อว่าจะเป็นการเผาสิ่งไม่ดีออกไปจากชีวิตเเละจะทำให้เริ่มต้นปีได้อย่างราบรื่น
5 กางเกงในสีเเดงของอิตาลี
ที่ดินเเดนสปาเกตตี้นี้มีการใส่กางเกงในสีเเดงต้อนรับปีใหม่โดยเชื่อว่าสีชุดชั้นในที่ดีจะดึงโชคดีเข้าหาตัว...เเปลกดีนะ 😅
6 องุ่นต้อนรับปีใหม่จากสเปน
เมื่อถึงเที่ยงคืนวันปีใหม่ ชาวสเปนจะกินองุ่น12ลูกให้ตรงตามเข็มวินาทีบนนาฬิกา โดยเชื่อว่าจะทำให้โชคดีในอีก12เดือนต่อจากนี้
7 ของกลมๆกับฟิลิปปินส์
ชาวฟิลิปปินส์จะชอบสิ่งของที่เป็นทรงกลมกันมาก ในวันปีใหม่ของทุกๆ ปีคนฟิลิปปินส์ส่วนมากจะพากันใส่เสื้อผ้าที่มีลายจุด หรือนำผลไม้ที่มีทรงกลมมาตกแต่ง เพราะทรงกลมมีลักษณะเหมือนกับรูปร่างของเหรียญเงิน หมายถึงความร่ำรวยและประสบความสำเร็จในปีนั้นๆ
เป็นยังไงบ้างคะกับประวัติวันปีใหม่ ประวัติของเค้าท์ดาวน์เเละการฉลองปีใหม่สุดพิลึกจากนานาประเทศ ชอบกันรึเปล่าคะ? ถ้าชอบอย่าลืมกดเเชร์บทความเพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยนะคะ สวัสดีค่ะ
📍 อ้างอิง
ไม่อยากพลาดการแจ้งเตือนเมื่อมีโพสต์หรือบทความใหม่ๆ
Add Line เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆได้ที่นี่ค่ะ
🔔 Line: @chatchapolbook
โฆษณา