3 ม.ค. 2021 เวลา 03:20 • ประวัติศาสตร์
มารู้จัก "ทฤษฎีทางอ้อม" ของลิดเดลล์ ฮาร์ต จากสงครามโลกครั้งที่ 1
ถ้าในโลกตะวันออกมี ซุนวู ผู้เขียนตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ
ที่ถูกนำมาพัฒนาจนเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจมากมาย
งั้นในโลกของชาวตะวันตกเอง ก็มี เฮนรี ลิดเดลล์ ฮาร์ต (B.H Liddell Hart)
เป็นหนึ่งในผู้เขียนตำราพิชัยสงครามสมัยใหม่ เช่นกัน !
เข้าใจว่า ด้วยยุคสมัยที่ต่างกันอย่างมาก ระหว่าง ซุนวู ถึง ลิดเดลล์ ฮาร์ต
อาจไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ แบบแอปเปิ้ลกับแอปเปิ้ล
(เราจึงขอเปรียบ เฮนรี ลิดเดลล์ ฮาร์ต เป็นหนึ่งในนักกลยุทธ์พิชัยสงครามสมัยใหม่)
แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาทั้ง 2 มีความคล้ายกันก็คือ มันสมองแห่งการคิดทฤษฎีที่มาจากสงคราม
เฮนรี ลิดเดลล์ ฮาร์ต (B.H Liddell Hart) คือใคร ?
- ลิดเดลล์ ฮาร์ต เกิดปี 1895 เป็นคนอังกฤษ แต่เกิดที่ฝรั่งเศส
- ความใฝ่ฝันของ ฮาร์ต คือการได้เป็นเข้าร่วมในกองทัพของอังกฤษ
- และในปี 1914 ฝันของเขาก็ได้เป็นจริง
เนื่องจากในตอนนั้น อังกฤษได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 และต้องการกำลังพลทหารร่วมรบ
- ฮาร์ต จึงตัดสินใจทิ้งการเรียนที่ Cambridge และหันมาสมัครทหารแบบสมัครใจ
- หลังจากนั้นในเพียงแค่ 1 ปี... ฮาร์ต ก็ได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิง ระหว่างออกรบกับกองทัพอังกฤษ
- จึงเป็นเหตุทำให้ ฮาร์ต ต้องถูกพักการรบ ในทันที
แต่เราจะเล่าต่อว่า นี่คือจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการทหารของ ฮาร์ต ตะหากละ !
"จุดเริ่มต้นของนักคิดแห่งสงคราม"
ในระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝรั่งเศส
ขณะนั้น ฮาร์ต และกองกำลังของเขา ต้องเข้าไปปะทะกับป้อม และแนวป้องกันของศัตรูโดยตรง
ซึ่งหากเข้าไปปะทะโดยตรง คงมีแต่ผลเสีย กับ เสีย อย่างเดียว
สิ่งที่ฮาร์ต กำลังจะเจอคือ การบุกเข้าไปยังพื้นที่ของศัตรู ที่ศัตรู มีความได้เปรียบ และฝั่งของพวกเขานั้น เสียเปรียบ
แล้วเขาจะทำอย่างไรต่อไป ?
2
ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับ ฮาร์ต แต่นี่คือภาพของกองทัพอังกฤษในหลุมป้องกันภัย จากสงครามโลกครั้งที่ 1 ปี 1914
"ทฤษฎีกลยุทธ์ทางอ้อมของ ลิดเดลล์ ฮาร์ต"
ฮาร์ตจึงจัดสินใจที่จะเริ่มวางกลยุทธ์ให้กับกองทัพอังกฤษในการบุกป้อมฝั่งตะวันตกของฝรั่งเศส
สิ่งที่เขาเริ่มทำคือ การหยิบกรณีศึกษาต่างๆ จากสงครามในอดีต
และหนึ่งในรูปแบบที่เขาถูกใจ ก็คือ ทฤษฎีสงครามของ คาร์ล ฟอน เคลาเซวิทซ์
เพียงแต่ว่า ลิดเดลล์ ฮาร์ต กลับคิดต่าง ในเรื่องของการใช้กำลัง ในการบุกล้อมศัตรู เพื่อเกิดการยอมจำนน
1
ลิดเดลล์ ฮาร์ต มองว่า กลยุทธ์แบบนี้ มันไม่ได้ผลจริงๆหรอก กับยุคสมัยใหม่แบบนี้
เขาจึงได้ตั้ง "ทฤษฎีกลยุทธ์ทางอ้อม" ของเขา ขึ้นมาใช้เอง
- ก็คือ ถ้าไม่ได้ทางตรง ก็ต้องไปทางอ้อม นั่นเอง
- ทางอ้อมในที่นี้คือ ฮาร์ต เลือกที่จะมองหาว่า ส่วนไหนของกองทัพฝั่งศัตรู ที่ดูอ่อนแอที่สุด หรือ มีการเตรียมการแบบหละหลวมที่สุด เขาก็จะตั้งกองกำลังที่เป็น "แนวหลัง" ออกมา เพื่อเตรียมจู่โจม
- หลังจากที่เห็นจุดอ่อนแล้ว เขาก็จะทำการแบ่งกองกำลัง "แนวหน้า" เพื่อดึงความสนใจของศัตรู และทำให้พวกเขาเสียขวัญ คล้ายๆกับ สงครามจิตวิทยาในปัจจุบัน
- การที่ศัตรูเสียขวัญกำลังใจนั้น จะทำให้พวกเขาเริ่มเปิดช่องโหว่มากขึ้น และเสียสมาธิในการอุดรูรั่วเดิมที่เคยมี ..
- ถ้าทฤษฎีเขียนเสือให้วัวกลัว จากกองกำลังแนวหน้าได้ผล นั่นเท่ากับว่า ฮาร์ตสามารถ ดึงความสนใจของศัตรูให้มาอยู่ตรงหน้าพวกเขา และเปิดช่องว่างให้กับแนวหลัง
- เพื่อที่กองกำลังแนวหลัง ที่เตรียมจู่โจมไปยังจุดที่ศัตรูอ่อนแอที่สุด จะสามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยปราศจากการรับมือ เพราะศัตรูอาจต้องเพิ่มกำลังกองทัพ ในการเติมขวัญกำลังใจ ที่สูญเสียไปจากการขู่ของแนวหน้า
1
"นักวางกลยุทธ์สงครามที่ดี ต้องไม่เลือกเส้นทางที่จะปะทะจนเสียเลือดเนื้อ แต่ต้องเลือกเส้นทางที่ ทำให้ศัตรูเป็นอัมพาตแทน"
1
เพื่อนๆ อาจจะคิดว่า กองกำลังแนวหลังของฮาร์ต คงเตรียมตัวบุกเข้าไปสู้รบกันในป้อมศัตรูใช่ไหมเอ่ย .... ?
1
แต่จริงๆแล้ว ฮาร์ต กำลังใช้โอกาสของการเตรียมการที่หละหลวมของศัตรู เอามาใช้ทำลายตัวศัตรูเองตะหากละ
ยกตัวอย่างเช่น เขารู้ว่า อาวุธของศัตรูจะถูกลำเลียงไปที่ไหน และ จุดไหนที่มีความปลอดภัยน้อยที่สุด
ฮาร์ต ก็จะให้กองกำลังแนวหลัง บุกเข้าไปตัดทอนแหล่งที่มาของ เสบียง อาวุธ และน้ำมัน ของศัตรูนั่นเอง
กว่ากองทัพแนวหน้าของฝรั่งเศสจะไหวตัวทัน.... ทหารของพวกเขาก็คงจะเป็นอัมพาต จากการขาดของสนับสนุน ไปเกือบครึ่งแล้วนั่นเอง
จากนั้น จะทำการบุกเข้าไป ก็จะเกิดความเสียหายได้น้อยที่สุดนั่นเอง
พี่ฮาร์ต กำลัง ครุ่นคิด
จากเรื่องนี้ เราจะเห็นได้ว่า
การที่จะเอาชนะศัตรูที่มีกำลังเยอะกว่านั้น
ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ กลยุทธ์แบบพันธมิตร หรือการใช้กำลังที่มากกว่า ในการได้ชัยชนะ
แต่หากเรามองให้ดี ถึงการลดโอกาสการสร้างความได้เปรียบของศัตรู
เราก็จะได้รับ พื้นที่ความได้เปรียบ เพิ่มขึ้นนั่นเอง !
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ขวัญและกำลังใจ ของผู้คน คือสิ่งสำคัญมากๆ
เราอาจปรับมามองในมุมของบริษัทที่ เน้นการทำงานเป็นทีม
หาก พนักงานส่วนใหญ่ในทีมของเรา สภาพจิตใจย่ำแย่ และเผยแพร่ความรู้สึกแย่ๆนี้ ออกไปสู่คนรอบข้าง
แบบนี้ จุดจบของทีมเรา ก็คงจะไม่ต่างอะไรกับ กองทัพแนวหน้าของฝรั่งเศสที่กำลังโดนกลยุทธ์ทางอ้อม ด้วยการเขียนเสือให้วัวกลัว จนเราต้องเสียเวลา และทรัพยากรในการฟื้นฟู
แทนที่เราจะเอาเวลา และทรัพยากรความคิดที่มีค่า ไปพัฒนา อุดรูรั่วต่างๆ
หวังว่าบทความนี้ คงจะเป็นอาหารสมองให้กับเพื่อนๆ ที่แวะเข้ามาอ่านกันนะ :)
โฆษณา