5 ม.ค. 2021 เวลา 05:29 • สุขภาพ
อาการ  Covid 19 เป็นอย่างไร เราติดหรือยังนะ ?
1
Covid 19
หลายๆคนก็อาจจะยังสงสัยว่าเมื่อติด Covid 19 แล้วอาการเป็นอย่างไร ? บางคนมีอาการเป็นไข้ ตัวร้อน เป็นหวัด ไอ - จามขึ้นมาทีมีสะดุ้งกลัวว่าจะถูกโควิด 19 เล่นงานเข้าซะแล้ว แต่อย่าเพิ่งตื่นตระหนกจนเกินไปค่ะ เพราะหากยังไม่แน่ใจว่าป่วย COVID-19 จริงหรือไม่ ลองเช็กอาการของโรคโควิด 19 ให้แน่ใจเสียก่อน จากข้อมูลทั้งหมดนี้ที่ฟางรวบรวมมาให้ทราบกันก่อนได้ค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
อาการหลัก ๆ ที่บอกว่าเรามีโอกาสติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้ว นั่นก็คือ
🌼 ปวดหัว
🌼 มีไข้ 37.5 ขึ้นไป
🌼 อ่อนเพลีย
🌼 มีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ
🌼 คลื่นไส้ อาเจียน
🌼 ปวดกล้ามเนื้อ
🌼 ท้องเสีย
🌼 ปอดอักเสบ
🌼 มีผื่นขึ้น
🌼 สูญเสียการได้กลิ่นและรับรสชั่วคราว
🌼 หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
🌼 ตาแดง
3
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
https://pin.it/4jcSYbq
อาการส่วนใหญ่ที่พบบ่อย คือ
🌵  มีไข้ มีอุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป (อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีไข้เลย)
🌵  มีอาการทางเดินหายใจข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งบางคนอาจจะมีเพียงอาการเดียว หรือมากกว่านั้น คือ
🌼 เจ็บคอ
🌼 ไอ
🌼 มีน้ำมูก
🌼 หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
🌼 จมูกไม่ได้กลิ่น หรือลิ้นไม่รับรส
🌼 อ่อนเพลีย
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
⭐⭐ อาการอื่นๆ ที่อาจจะพบได้บ้าง ⭐⭐
นอกจากมีไข้สูง ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ในผู้ป่วยหลายรายยังมีรายงานพบอาการเหล่านี้ด้วย แต่เป็นเพียงอาการร่วม ไม่ใช่อาการแสดงหลักของโรค เช่น
🌼 ปวดหัว
🌼 ท้องเสีย
🌼 คลื่นไส้ อาเจียน
🌼 ปวดเมื่อย ปวดกล้ามเนื้อ
🌼 ตาแดง
🌼 มีผื่นขึ้น
🌼 หากรุนแรงอาจมีอาการปอดอักเสบ
ทั้งนี้ ให้พิจารณาอาการหลักของโรค คือ มีไข้ และมีอาการทางเดินหายใจก่อนนะคะ
** หากมีไข้สูง ร่วมกับมีอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่าเพิ่งตกใจนะคะ  อาจไม่ใช่โควิด 19 เสมอไป ต้องพิจารณาประวัติเสี่ยงด้วยค่ะ **
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
⭐⭐ ประวัติเสี่ยงมีอะไรบ้าง ? ⭐⭐
2
🌼 เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
🌼  มีความเสี่ยงสัมผัสผู้ติดเชื้อ หรือคลัสเตอร์
🌼 เข้ารับการตรวจรับสถานพยาบาลที่รับตรวจ และตรวจซ้ำแล้วไม่มี false positive (recheck ภายใน 24 ชั่วโมง)
🌼 ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
 
🌼 สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยยืนยัน
 
🌼 เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน
 
(ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์)
1
**  ถ้ามีอาการทางเดินหายใจ ร่วมกับมีประวัติเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่ง ควรไปตรวจหา COVID-19 ทันที **
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
https://pin.it/3M6h4qr
⭐⭐ กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ⭐⭐
📍 เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ)
📍 ผู้สูงอายุ
📍 คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง
📍 คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่
📍 คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)
1
📍 ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ
1
📍 ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
📍 ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
⭐⭐ เปรียบเทียบอาการโควิด 19 กับโรคอื่น ๆ ⭐⭐
Covid 19
1
ไข้สูง > 37.5  และ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก มาหลายวันและเสมหะอาจมีเลือดปน  ในบางคนอาจจะมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ในรายที่รุนแรงจะมีอาการปอดอักเสบ จมูกอาจได้กลิ่นน้อยลงหรือไม่ได้กลิ่นเลย
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
ไข้หวัดทั่วไป
อาการคือ  มีไข้ รวมไปถึงอาการไอ เจ็บคอและมีน้ำมูกร่วมด้วย แต่จะดีขึ้นใน 3 - 4 วัน  อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยตามตัวเล็กน้อย มีอาการหายใจไม่สะดวกเนื่อจากมีน้ำมูกอุดตัน  ไม่มีอาการท้องเสีย  คลื่นไส้อาเจียน เลือดออกตามผิวหนังหรือปอดอักเสบค่ะ
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
ไข้หวัดใหญ่
มีไข้ 38 - 40 องศา หลายวัน และมีอาการหนาวสั่น เจ็บคอ คัดจมูก และไอเนื่องจากหลอดลมอักเสบ ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร ไม่มีแรง ส่วนอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และอาการหายใจลำบากหรือปอดอักเสบพบได้ในกลุ่มเสี่ยงค่ะ
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
ไข้เลือดออก
ไข้สูงลอย > 38.5 องศา 2 - 7 วันแล้วลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนอาการเจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก ไม่พบหรือมีอาการเล็กน้อยในบางคน มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียและอาจถ่ายเป็นสีดำ บางคนอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้  มีจุดแดงเล็กๆกระจายตามผิวหนัง ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และกดเจ็บชายโครงด้านขวา
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
⭐⭐ Covid 19 หรือ ภูมิแพ้ ⭐⭐
ฟางว่าอาจเพราะโควิด 19 เป็นโรคที่แสดงอาการในระบบทางเดินหายใจ จึงมีอาการไอ น้ำมูกไหล จมูกไม่ได้กลิ่นเป็นสัญญาณเด่น ๆ ทำให้หลายคนที่เป็นภูมิแพ้อากาศ หรือโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ เริ่มจะไขว้เขว โดยเฉพาะเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนตามฤดูแบบนี้ด้วย แต่ก่อนจะวิตกกังวลเลยเถิดไปไกล เรามาเช็กความต่างของอาการโควิด 19 VS อาการภูมิแพ้อากาศกันค่ะ
🌼 โควิด 19 : เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ SAR-CoV-2 มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน แต่มีช่วงเวลาระหว่าง 0-24 วัน ในการแสดงอาการป่วย
1
🌼 ภูมิแพ้อากาศ : ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการคือไรฝุ่น หรือสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ รวมไปถึงอุณหภูมิของอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีอาการป่วยทันทีเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นเหล่านี้
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
Covid 19
1
ไข้สูง > 37.5  และ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก มาหลายวันและเสมหะอาจมีเลือดปน  ในบางคนอาจจะมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ในรายที่รุนแรงจะมีอาการปอดอักเสบ จมูกอาจได้กลิ่นน้อยลงหรือไม่ได้กลิ่นเลย
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
ภูมิแพ้
ไม่มีไข้ เจ็บคอ แต่อาจจะมีอาการไอแห้ง บางรายมีเสมหะ  คัดจมูกพบได้บ่อยร่วมกับอาการจาม มีน้ำมูกไหล มีอาการคันตา ตาบวม น้ำตาไหล  บางคนมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่คล่อง และอาจมีอาการปวดศรีษะบ้างในบางครั้ง
แต่อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วย COVID-19 บางคนอาจไม่แสดงอาการอะไรเลย  แต่ตรวจพบเชื้อในร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้น ให้พิจารณาประวัติเสี่ยงของตัวเองกันด้วยนะคะ
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
⭐⭐ การรักษา ⭐⭐
🌼 โควิด 19 : ปัจจุบันการรักษา COVID-19 จะใช้ยาต้านที่ชื่อว่า Favilavir และยาอื่น ๆ หลายขนาน ทั้งยา remdesivir, chloroquine, lopinavir+ritonavir, interferon ชนิดพ่น, losartan, แอนติบอดีชนิด monoclonal หรือพลาสมาจากผู้ป่วยโควิดที่รักษาหายแล้ว
🌼 ภูมิแพ้อากาศ : ยาที่ใช้บรรเทาอาการโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ มีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ยาต้านการอักเสบ ที่ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก ยาต้านฤทธิ์สารก่ออาการอักเสบ และยาต้านฮิสตามีน ช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล คันจมูก และคันตา จากอาการแพ้อากาศ
โดยตัวยาที่นิยมใช้รักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ เช่น ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) หรือยาแก้แพ้ ที่จะช่วยลดอาการจาม น้ำมูกไหล คันตา, ยาหดหลอดเลือด (Decongestant), ยาสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ทั้งชนิดกิน (Oral steroids) และยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Intranasal steroids), ยาต้านโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic drug) เช่น Ipratropium bromide, ยาต้านลิวโคไตรอีน (Anti-leukotrienes) ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก เป็นต้น
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
⭐⭐ วิธีสวม Mask ที่ถูกต้อง ⭐⭐
🌵 ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่
🌵 หันด้านสีเข้ม หรือมันวาวออกด้านนอก ให้ขอบที่มีลวดอยู่ด้านบนสันจมูก
3
🌵 คลี่รอยจีบออกคลุมทั้งจมูกจนถึงปลายคาง คล้องสายกับใบหูหรือผูกให้แน่น
🌵 กดตรงขดลวด ให้พอดีกับสันจมูกจนมิดชิด
🌵 ห้ามนำมือไปจับบริเวณด้านนอกหน้ากาก เพราะอาจมีเชื้อโรคติดอยู่
🌵 ล้างมือให้สะอาดหลังจาก ถอด/ทิ้ง หน้ากาก
🌵 ควรเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน และไม่ควรใช้อันเดิมเป็นเวลานานเพราะจะกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
https://pin.it/3fZXMZ7
⭐⭐ การป้องกัน ⭐⭐
🌵 สวมหน้ากากอนามัย
🌵 หมั่นล้างมือ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ
🌵 แยกห้องนอนสิ่งของเครื่องใช้ สวมใส่หน้ากากอนามัย ไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
🌵 ให้ข้อมูลเพื่อการสอบสวนโรคตามความเป็นจริงเพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดการกับโรค
🌵 อย่าลืมสังเกตตัวเอง หากท่านใดมีอาการมีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา, ไอ เจ็บคอ, น้ำมูกไหล, หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก คุณอาจเสี่ยงติดเชื้อ Covid-19 ควรรีบมาพบแพทย์ด่วนนะคะ!!!!
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
⭐⭐ อ้างอิง ⭐⭐
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌵🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา