13 ม.ค. 2021 เวลา 13:45 • ประวัติศาสตร์
# social distancing เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่
การเว้นระยะห่างในสังคม เพื่อช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เพื่อให้ผู้ติดเชื้อมีจำนวนลดลง จนสามารถควบคุมได้เป็นเรื่องที่ดี แต่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่นั้น อ่านเรื่องราวต่อไปนี้แล้วคุณจะเข้าใจ
จุดเกิดเหตุ
social distancing และการกักตัวถูกใช้ในยุคกลางเพื่อรับมือกับ Black Death หรือกาฬโรค เมื่อเกือบ 700 ปีที่แล้ว แพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องรับมือกับการระบาดของกาฬโรค ในอิตาลียุคกลาง
ซึ่งในยุคนั้นมีความเชื่อว่า โรคนี้อาจเกิด หรือเกี่ยวข้องกับไวรัสหรือแบคทีเรีย พวกเขาจึงคิดมาตรการต่อต้านและการยับยั้งการติดต่อโรคนี้ครั้งแรกของโลกขึ้น
โดยเริ่มตั้งแต่ปี 1348 ไม่นานหลังจากที่โรคระบาดมาถึงเมืองต่าง ๆ เช่น เวนิส และมิลาน โดยเจ้าหน้าที่ของเมืองได้วางมาตรการด้านสาธารณสุขฉุกเฉินที่คาดการณ์แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดขึ้นมาเกี่ยวกับการเว้นระยะห่างทางสังคมและการฆ่าเชื้อตามสถานที่ต่าง ๆ
ความสะอาดและการกำจัดเชื้อ
“ในช่วงนั้น พวกเขารู้ดีว่าต้องระมัดระวังเรื่องสินค้าที่ซื้อขายกันมากขึ้น เพราะโรคนี้อาจแพร่กระจายไปบนสิ่งของและพื้นผิวได้ จึงทำให้ทุกคนต้องพยายามอย่างเต็มที่จะจำกัด การติดต่อระหว่างบุคคล” Jane Stevens Crawshaw อาจารย์อาวุโสด้านประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ตอนต้นของมหาวิทยาลัย Oxford Brookes กล่าวไว้
social distance จึงเกิดขึ้นมาแบบจริงจังครั้งแรกที่เมืองท่าอาเดรียติก ของ Ragusa (ดูบรอฟนิก ในปัจจุบัน) อีกทั้งยังเป็นเมืองแรกที่ผ่านกฎหมายที่กำหนดให้มีการกักเรือที่เข้ามาทั้งหมด รวมถึงการคัดกรองร้านค้าและสินค้าต่าง ๆ เพื่อตรวจเชื้อ
ด้วยคำสั่งดังกล่าว จึงทำให้หลายคนรอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์ ซึ่งเรื่องนี้ถูกบันทึกไว้ในหอจดหมายเหตุ ที่ดูบรอฟนิก เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1377 สภาสำคัญของเมืองที่ผ่านกฎหมายได้เขียนไว้
A 14th-century Italian fresco of the plague, from the Stories of St Nicholas of Tolentino. DeAgostini/Getty Images
“ผู้ที่มาจากพื้นที่ที่มีโรคระบาดจะต้องไม่เข้าไปใน [Ragusa] หรืออาณาบริเวณนั้น เว้นแต่จะไปเพื่อใช้จ่าย ซึ่งทุก ๆ หนึ่งเดือนบนเกาะเล็ก ๆ อย่าง Mrkan และในเมือง Cavtat จะมีการฆ่าเชื้อโรคเป็นปกติ”
อีกทั้ง Mrkan ยังเป็นเกาะหิน ที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของเมือง แต่ถึงอย่างนั้นตอนท้ายของถนนในเมือง Cavtat ก็ยังคงมีพ่อค้าตั้งร้านขายของระหว่างทาง ยาวไปจนถึง Ragusa ( Zlata Blazina Tomic )
Tomic กล่าวว่า “นักประวัติศาสตร์การแพทย์บางคนถือว่าคำสั่งกักตัวของ Ragusa เป็นหนึ่งในความสำเร็จสูงสุดของการแพทย์ในยุคกลาง ด้วยการสั่งแยกกะลาสีและพ่อค้าที่มีสุขภาพแข็งแรงออกจากกันเป็นเวลานานกว่า 30 วัน
แยกกันเฉพาะ
อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของ Ragusan ยังแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจที่น่าทึ่งเกี่ยวกับระยะฟักตัวของผู้มาใหม่ที่อาจไม่ได้แสดงอาการของโรคระบาดนี้ แต่บุคคลเหล่านั้นต้องอยู่นานพอ จึงจะสามารถตรวจสอบได้ว่าพวกเขาปลอดโรคจริงหรือไม่”
นอกจากนี้ระยะเวลา 30 วันที่กำหนดไว้ในคำสั่งกักตัวของปี 1377 นั้นยังเป็นที่รู้จักกันในภาษาอิตาลีว่า เทรนติโน แต่ถึงอย่างนั้น สตีเวนส์ ครอว์ชอว์ ก็กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
“แพทย์และเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการกำหนดให้อยู่ในระยะสั้นลงหรือนานขึ้น โดยเริ่มกำหนดให้เป็น "quarantine" นับแต่นั้นเช่นกัน” (มีรากศัพท์มาจาก quarantino ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาลี ที่ใช้บอกระยะเวลา 40 วัน)
40 วัน ที่กำหนดขึ้นมา
แล้วทำไมต้องเป็นเช่นนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกำหนดให้มีการกักกัน 40 วัน เนื่องจากจำนวนดังกล่าวมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์และทางศาสนาอย่างมากต่อคริสเตียนในยุคกลาง ตามที่ในพระคัมภีร์ได้เขียนว่าฝนตก 40 วัน 40 คืน และพระเยซูก็ทรงอดอาหารในถิ่นทุรกันดารเป็นเวลา 40 วัน
Stevens Crawshaw กล่าวว่า “แม้กระทั่งก่อนการมาถึงของโรคระบาดความคิดในพระคัมภีร์เกี่ยวกับระยะ 40 วันนี้มากมาย จนนำไปสู่การปฏิบัติด้านสุขภาพ เช่น คุณแม่มือใหม่หลังคลอดก็อาจต้องพักพื้นเป็นเวลา 40 วันเช่นกัน จึงทำให้ใช้ 40 วันเป็นบรรทัดฐาน”
ในส่วนของกฎหมายนั้น แม้จะมีกฎหมายกักตัวฉบับใหม่ออกมาแต่ Ragusa ก็ยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของกาฬโรคในปี 1391 และ ในปี 1397 อย่างหนักอยู่
The Plague of Florence in the 14th century, as described by Giovanni Boccaccio. Bettmann Archive/Getty Images
ซึ่งในฐานะเมืองที่ติดทะเล ผู้รอดการติดเชื้อในระหว่างการทำการค้า ด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะปิดกั้น Ragusa ให้รอดพ้นจากโรคนี้ไ้ด้โดยไม่ทำลายเศรษฐกิจ
แต่แม้ว่ามาตรการกักกันจะไม่สามารถปกป้อง Ragusans จากโรคได้อย่างเต็มที่ แต่ สตีเวนส์ ครอว์ชอว์ เชื่อว่า “กฎหมายอาจมีจุดประสงค์อื่นนั่น คือการฟื้นฟูความรู้สึกของผู้คนให้เป็นระเบียบมากขึ้น
“เพราะความเสี่ยงจากการแพร่ระบาด อาจนำมาซึ่งการล่มสลายทางสังคม และนั้นอาจนำมาซึ่งความตื่นตระหนกในวงกว้างหรือความพึงพอใจได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้เช่นกัน” สตีเวนส์ ครอว์ชอว์ กล่าว
การบอกกล่าว
“อีกทั้งยังมีเรื่องอารมณ์ของผู้คนที่ต้องเรียนรู้ นั่นจึงเป็นอีกส่วนหนึ่งของนโยบายด้านสาธารณสุขเมื่อ 600 ปีก่อน ที่ให้ความสำคัญมากพอ ๆ กับเรื่องสุขภาพเช่นกัน”
แม้ว่าการกักตัวจะไม่ใช่เครื่องมือเดียวในการสู้รบกับโรคระบาดในยุโรป ที่สามารถทำลายล้างทวีปเป็นระยะ ๆ ในศตวรรษที่ 17 ได้ แต่ถึงอย่างนั้น Ragusans ก็ยังยังเป็นเมืองแรก ที่ก่อตั้งโรงพยาบาลเพื่อรักษาโรคระบาดนี้ขึ้นมาชั่วคราว บนเกาะชื่อ Mljet
โดยสถานบำบัดรูปแบบใหม่นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ จนทำให้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ สถานที่นี้ก็โด่งดังและเป็นที่รู้จักไปทั่วยุโรปในฐานะ Lazaretto
การรักษาและสถานที่
Stevens Crawshaw ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับโรงพยาบาลนี้ ได้กล่าวว่า ชื่อ lazaretto ซึ่งแปลงมาจากคำว่า Nazaretto ที่เป็นชื่อเล่นของเกาะลากูน ในเวนิส
สถานที่นี้ได้สร้างโรงพยาบาลเพื่อรักษาโรคระบาดโดยเฉพาะแห่งแรกไว้ นั้นก็คือ Santa Maria di Nazareth
ซึ่งที่ Lazaretto ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลและห้องกักตัว โดยพวกเขาจะดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันนั้น ก็แบ่งแยกผู้ป่วยที่สุขภาพดีขึ้นแล้ว ให้ออกจากกันด้วย
เว้นระยะห่าง
ที่ Lazaretto ผู้ป่วยที่ติดเชื้อกาฬโรคจะได้รับอาหารที่ปรุงสดใหม่ ผ้าปูที่นอนที่สะอาด และได้รับการรักษาอย่างดี ร่วมถึงการส่งเสริมและดูแลเรื่องสุขภาพด้านอื่น ๆ โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้นรัฐจะรับผิดชอบจ่ายให้
“โครงสร้างเหล่านี้เป็นโครงสร้างด้านสาธารณสุขในยุคแรกที่น่าทึ่ง ซึ่งรัฐบาลต้องลงทุนเป็นเงินจำนวนมหาศาล” สตีเวนส์ ครอว์ชอว์ กล่าว
“และถึงแม้จะเกิดโรคระบาดในเมือง เวนิส โรงพยาบาลเหล่านี้ ก็ยังได้รับการจัดการอย่างดีและพร้อมรับมือกับเรือสินค้าที่เข้ามา ซึ่งนั้นอาจนำมาซึ่งพาหะของโรคนี้ด้วย”
ดังคำที่กล่าวไว้ว่า “ห่างกันสักพัก ไม่ใช่ไม่รักแต่เป็นเพราะเชื้อไวรัสระบาด”
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย 😄
โฆษณา