6 ม.ค. 2021 เวลา 02:00 • ธุรกิจ
“เดนมาร์ก-สวีเดน” สร้างอุโมงค์ลอดใต้ทะเล แห่งแรกของโลก ได้อย่างไร ?
ไม่มีอะไรที่มนุษย์เราทำไม่ได้ แม้แต่นอกโลกก็ยังเคยไปมาแล้ว
4
รู้ไหมว่า เขตเชื่อมต่อทางทะเลระหว่างเดนมาร์กกับสวีเดน เป็นสะพานข้าม แต่ทว่าสะพานข้ามในที่นี้ ไม่เหมือนชาวบ้านทั่วๆ ไป
เพราะพวกเขา ทำมันให้ลอดใต้ผ่านทะเล จนเป็นอุโมงค์ได้
อุโมงค์บนดินว่าสร้างยากแล้ว แต่อุโมงค์ลอดใต้ทะเล นี่มันยิ่งกว่างานวิศวกรรมใดๆ ในปฐพี
แล้วพวกเขาสร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร ผู้เขียนจะพาไปหาคำตอบกัน..
ทางข้ามทะเลที่เชื่อมต่อระหว่างเดนมาร์กและสวีเดน มีชื่อว่า “เออเรซุนด์”
ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบเออเรซุนด์ ของกรุงโปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เชื่อมต่อกับเมืองมาลโม ประเทศสวีเดน
เออเรซุนด์ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1991 แล้วเสร็จในปี 2000
ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,600 ล้านยูโร หรือราว 100,000 ล้านบาท
โดยเป็นความร่วมมือคนละครึ่ง ของทั้งสองประเทศ
สะพานเออเรซุนด์มีความยาวที่เป็นตัวสะพาน 7.8 กิโลเมตร ซึ่งจุดที่สูงเหนือผิวนำ้ที่สุดคือ 60 เมตร
บวกกับส่วนที่เป็นเกาะกลางอีก 4 กิโลเมตร
เมื่อรวมระยะทางที่ Slop ไปมาแล้ว รวมทั้งสิ้นจะอยู่ที่ 16 กิโลเมตร
สำหรับวัตถุประสงค์ของสะพาน ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับถนนสี่เลน สำหรับให้รถวิ่ง
แถมยังมีช่องทางเดินรถไฟอีก 2 ราง
แต่ทว่า การข้ามไปมา จะรองรับการขนส่งเฉพาะผู้โดยสารสาธารณะที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว
คำถามก็คือ แล้วทำไมไม่สร้างเป็นสะพานข้ามยาวไปเลย จะสร้างอุโมงค์ลอดใต้นำ้ทำไมกัน ?
1
นั่นก็เพราะว่า สนามบินโคเปนเฮเกนตั้งอยู่ริมชายฝั่ง ฟากทำสะพานแขวน ความสูงของสะพานจะสูงเกือบ 200 เมตร
จึงอาจจะรบกวนระบบนิรภัยการบินได้
แล้วทำไมไม่สร้างสะพานให้ต่ำลง ?
1
ถ้าออกแบบให้สะพานเป็นแบบตำ่ ตัวสะพานจะขวางเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่
ซึ่งทุกวันนี้ มีเรือเชิงพาณิชย์ไม่ตำ่กว่าร้อยลำแล่นผ่านบริเวณดังกล่าว
ทีมผู้สร้างจึงตัดสินใจทำทั้งสะพานและอุโมงค์เสียเลย
แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่า คืออุโมงค์ที่ลอดไปใต้นำ้ พวกเขาสร้างขึ้นมาได้อย่างไร หรือว่าใช้วิชาแหวกนำ้ของไกรทอง
ที่จริงแล้ว พวกเขาสร้างเกาะขึ้นมา โดยการถมดินนี่แหละ
ซึ่งเกาะฝีมือมนุษย์ดังกล่าว ถูกตั้งชื่อว่า “พีเบอร์โฮร์ม”
1
หลังจากที่เป็นเกาะแล้ว จึงเอาเครื่องจักรเข้าไปขุดในภายหลัง
3
จนกระทั่งเกิดเป็นทางข้ามทะเลสุดอลังการ ได้รับรางวัลสิ่งปลูกสร้างยอดเยี่ยมจากงาน "IABSE Outstanding Structure Award 2002"
อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นทางโดยสารสาธารณะ แต่ถ้าหากจะขับรถผ่านทางสะพานนี้ ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 1,800 บาท
หรือเท่ากับค่าตั๋วเครื่องบินจากกรุงเทพไปเที่ยวภาตใต้ ในช่วงไม่มีเทศกาลไปกลับได้เลยทีเดียว..
1
ส่งต่อทุกแรงบันดาลใจ Share For Inspire
Follow Us On “Facebook” https://www.facebook.com/swivelth
Follow Us On “Instragram” https://www.instagram.com/swivel.th/
Reference
Picture
โฆษณา