6 ม.ค. 2021 เวลา 07:29 • ประวัติศาสตร์
• 👑 ทำไม จอร์จ วอชิงตัน ถึงไม่สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์
หลังจากที่สหรัฐฯ ประกาศเอกราชจากอังกฤษ
ทุกคนน่าจะทราบกันเป็นอย่างดีว่า ในอดีตสหรัฐอเมริกาเคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษมาก่อน จนกระทั่งพวกเขาได้รับเอกราชจากอังกฤษ หลังจากได้รับชัยชนะในสงครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolution War)
โดยมี จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) นายพลคนสำคัญที่นำกองทัพอเมริกาเอาชนะอังกฤษ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ
1
credit : Britannica
แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า เพราะเหตุใด จอร์จ วอชิงตัน ถึงไม่สถาปนาให้ตัวของเขาดำรงตำแหน่งเป็นกษัตริย์ของสหรัฐฯ แต่กลับสถาปนาตำแหน่งประธานาธิบดีขึ้นมาแทน
สำหรับคำตอบของข้อสงสัยนี้นั้น ก็เพราะว่า จอร์จ วอชิงตัน ไม่ได้มีแนวคิดที่อยากจะเป็นกษัตริย์มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
ในความคิดของวอชิงตัน เขารู้มาโดยตลอดว่า การที่เขานำชาวอเมริกาต่อสู้เพื่อเป็นอิสรภาพจากอังกฤษนั้น ก็คือการต่อสู้เพื่อให้ชาวอเมริกาได้หลุดพ้นจากระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ของอังกฤษ ที่ได้กดขี่และสร้างความอยุติธรรมให้กับชาวอาณานิคมอเมริกามาเป็นเวลาช้านาน
6
ซึ่งสิ่งที่ได้แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของวอชิงตันและประชาชนชาวอเมริกาในตอนนั้น ก็คือข้อความที่ได้ปรากฏอยู่ในคำประกาศอิสรภาพแห่งสหรัฐฯ (United States Declaration of Independence) ที่มีใจความว่า
1
credit : History.com
" All men are created equal ... , this statement is the very founding principal of our country."
1
- มนุษย์ทุกคนล้วนถูกสร้างขึ้นมาเท่าเทียมกัน
คำพูดนี้เป็นหลักในการก่อตั้งประเทศของเรา
10
ดังนั้นหากวอชิงตันมีแนวคิดที่จะสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ ก็เท่ากับว่าเขาได้ทรยศกับเจตนารมณ์ของชาวอเมริกาเลยทีเดียว
" I didn't fight George III to become George I."
5
- ฉันไม่ได้ต่อสู้กับจอร์จที่ 3 เพื่อที่จะให้ตัวเองเป็นจอร์จที่ 1
1
นี้เป็นหนึ่งในคำพูดของวอชิงตัน ในขณะที่เขานำกองทัพต่อสู้กับอังกฤษ
ดังนั้นเมื่อ จอร์จ วอชิงตัน ได้กลายเป็นผู้นำคนแรกของสหรัฐฯ เขาจึงได้สถาปนาตำแหน่งประธานาธิบดีขึ้นมา เพราะตำแหน่งนี้ คือตำแหน่งที่ประชาชนทุกคนเป็นผู้ที่เลือกมา
1
credit : Mental Floss
แม้แต่ในตอนที่วอชิงตันดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี เขาก็ยังมีแนวคิดว่า ตำแหน่งที่เขาเป็นอยู่นั้นสูงส่งมากจนเกินไป แต่ด้วยความที่ประชาชนชาวอเมริกันให้การยอมรับและเคารพในตัวเขา วอชิงตันจึงต้องยอมรับในมติของประชาชน และเป็นผู้นำของพวกเขาอย่างภาคภูมิ
หลังจากที่วอชิงตันสิ้นสุดตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยที่ 2 เขาก็ปฏิเสธที่จะเป็นประธานาธิบดีต่อในสมัยที่ 3 เพราะเขาไม่ต้องการที่จะยึดติดกับอำนาจอีกต่อไป (ซึ่งสิ่งนี้ก็ได้กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะดำรงตำแหน่งสูงสุดเพียงแค่ 2 สมัย ในเวลาต่อมา)
6
นอกจากนี้ วอชิงตันยังเป็นบุคคลที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ในทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 17-18
3
ยุคเรืองปัญญา เป็นยุคสมัยที่แนวคิดความเป็นเหตุเป็นผล ความเท่าเทียมกันของมนุษย์ รวมไปถึงแนวคิดของสิทธิเสรีภาพ ได้รับการพูดถึงและเป็นที่นิยมของชาวยุโรป
credit : Freepik
ดังนั้นวอชิงตันรวมไปถึงกลุ่มคนที่ร่วมกันสร้างชาติอเมริกาด้วยกันกับเขา จึงได้นำเอาแนวคิดแบบประชาธิปไตย ระบบประธานาธิบดี และความเชื่อของความเท่าเทียมกันของมนุษย์ มาปรับใช้กับประเทศของพวกเขานั่นเอง
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา