7 ม.ค. 2021 เวลา 00:56 • ธุรกิจ
วางใจไม่ได้! นักวิเคราะห์เตือน Tech War ยังไม่จบในยุคไบเดน
เหลืออีกเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้นก่อนที่โจ ไบเดนจะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี
สหรัฐอย่างเป็นทางการ พร้อมกับความคาดหวังจากคนทั่วโลกว่านโยบายของเขาจะช่วยประสานรอยร้าวในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับประเทศต่าง ๆ
โดยเฉพาะความขัดแย้งกับจีนที่เรียกว่าคุกกรุ่นอย่างหนักในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เกิดทั้ง Trade War, Tech War, Capital War หรือจะเป็นการพัฒนาด้านอาวุธยุท
โธปกรณ์ที่ทำให้หลายคนกังวลว่าอาจพัฒนาไปเป็น Hot War ในอนาคต
ซึ่งการเข้ามาของโจ ไบเดนนั้นก็น่าจะช่วยให้ปัญหาเหล่านี้ไปในทิศทางที่คลี่คลาย
ลงและประนีประนอมกันมากขึ้น
แต่ดูเหมือนว่าทุกอย่างมันจะไม่ง่ายแบบนั้น โดยเฉพาะเรื่อง Tech War ที่ล่าสุดทรัมป์ทิ้งทวนโดยการสั่งแบนแอพลิเคชันการชำระเงินของจีน เช่น Alipay, Tencent QQ หรือ WeChat Pay ด้วยเหตุผลว่าแอพเหล่านี้อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐ
ทำให้ทาง Financial Times ได้ไปสัมภาษณ์ Dan Wang นักวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยีของ Gavekal ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับบริษัทเทคฯ ในจีนเมากที่สุดคนหนึ่ง
ว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับสงครามเทคโนโลยีหรือ “Tech War” ระหว่างจีนกับสหรัฐในอนาคตอย่างไร?
1
Dan Wang บอกว่าในภาพรวมนั้นสถานการณ์ยังดูไม่สดใส เพราะโจ ไบเดนไม่สามารถล้มกระดานแล้วเริ่มต้นทุกอย่างใหม่ได้
หลาย ๆ ข้อตกลงที่เกิดขึ้นเพื่อการกีดกันจีนในสมัยของทรัมป์ มีเหตุผลเรื่องความ
มั่นคงจึงทำให้ไม่สามารถยกเลิกได้ง่าย ๆ ต้องมีขั้นตอนและกระบวนการเห็นชอบ
จากหลายหน่วยงาน อย่างกฎหมายการควบคุมปริมาณการส่งออกเทคโนโลยีอาวุธสงครามและเทคโนโลยีที่พึ่งถูกคิดค้นได้ใหม่ ๆ ที่เป็นการรักษาความได้เปรียบด้านความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐเอาไว้
อย่างไรก็ตาม Wang มองว่าแม้ภาครัฐของสหรัฐกับจีนจะมีความขัดแย้งกันมาก
เพียงใด แต่มันไม่ได้ส่งผลต่อมุมมองของภาคเอกชนหรือนักลงทุนที่ให้ความสำคัญในเรื่องศักยภาพในการทำกำไรมากกว่า พูดง่าย ๆ คือรัฐบาลทะเลาะกัน ไม่ได้ทำ
ให้เอกชนทะเลาะกันไปด้วย
โดยปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมที่ล้ำสมัยจนได้รับการหมายตาจากนักลงทุนและผู้ประกอบการบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ อย่างเช่นอีลอน มัสก์ที่ตอบรับการร่วมมือในการพัฒนา EVs จาก Tencent
ทำให้ยอดการส่งออกของสหรัฐไปจีนในปีที่แล้วสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ และราย
ได้ของบริษัทจากสหรัฐทั้งหมดที่เข้าไปลงทุนในจีนยังสูงถึง 6 แสนล้านดอลลาร์ ท่ามกลางโควิด19 และปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
แต่คำถามสำคัญคือ แล้วในระยะยาวอีก 5-10 ปี หาก Tech War ยังคงดำเนินต่อ
ไป จะทำให้จีนประสบปัญหา เนื่องจากบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ของสหรัฐย้ายฐาน
การผลิตออกจากจีนมายังประเทศอื่น ๆ อย่างอินเดีย ,เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ
ในอาเซียนหรือไม่?
Wang มันเป็นคำถามที่ตอบยาก แต่สำหรับเขาแล้ว เขาคิดว่ามันขึ้นอยู่กับประเภท
ของอุตสาหกรรม ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีความซับซ้อนของ Supply Chain มากก็จะย้ายได้ง่ายอย่างเช่นหลายบริษัทที่ย้ายเซิร์ฟเวอร์ออกไปตั้งที่ไต้หวัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกแทรกแซงของรัฐบาลจีน
แต่ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่มี Supply Chain ซับซ้อนนั้น การย้ายฐานการผลิตออกจากจีนนั้นจะเป็นการเพิ่มต้นทุนอย่างมหาศาล เพราะด้วยความที่ตอนนี้โรงงานอุตสาหกรรมเทคฯ ชั้นนำส่วนใหญ่นั้นตั้งอยู่ในจีน ส่งผลให้จีนความได้เปรียบด้านโครง
สร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการผลิตอย่างมาก
พูดง่าย ๆ ว่าจีนยังคงเป็นผู้ผลิตที่ดีที่สุดในโลก ยกเว้นว่าทุกบริษัทจะพร้อมใจกัน
ย้ายออกจากจีน ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ (ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ Supply Chain
ซับซ้อนอย่าง “รถยนต์” ที่ผลิตชิ้นส่วนจากหลายโรงงาน แล้วไปประกอบอยู่อีกที่
หนึ่ง จากนั้นก็ไปตีแบรนด์ขายที่อื่น)
ส่วนในกรณี Huawei ที่โดนแบนให้ไม่สามารถใช้ไมโครชิฟจากทางสหรัฐที่มีเทค
โนโลยีนำหน้าทางจีนอยู่มาก ทำให้อนาคตของ Huawei ยังคงถูกตั้งคำถามและ
หลายคนมองว่านี่อาจเป็นจุดจบของ Huawei
แต่ Wang บอกว่าเขาไม่คิดว่า Huawei จะล้มละลาย แต่พวกเขาปรับตัวไปเติบโต
ในธุรกิจอื่น ๆ อย่างเช่นอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า เครนไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมบัน
เทิง เป็นต้น เพราะ Huawei ยังคงเป็นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีของจีนที่สามารถนำไปสร้างความได้เปรียบในอุตสาหกรรมอื่น ๆ นอกจากสมาร์ทโฟน
สรุปแล้ว Dan Wang มองว่าสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐ (Tech War)
จะยังคงดำเนินต่อไปและเป็นความเสี่ยงที่คุณต้องระวัง แต่มันจะไม่ถึงขั้นรุนแรงจน
ทำให้โลกถูกแบ่งเป็น 2 ขั้ว เนื่องจากภาคเอกชนยังคงได้ประโยชน์มากกว่าจากการพึ่งพาซึ่งกันและกันของทั้ง 2 ประเทศ
เนื่องจากจีนได้สร้างสิ่งแวดล้อมในประเทศให้เหมาะแก่การเป็นแหล่งผลิตและพัฒ
นาเทคโนโลยี ซึ่งเป็นศักยภาพที่ถูกทดแทนได้ยากเนื่องจากต้องใช้ทุนและเวลาใน
การสั่งสมที่ยาวนานหลายทศวรรษ ทำให้จีนกลายเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก รวมถึงนักลงทุนจากสหรัฐที่พยายามฝ่ากำแพงเข้าไป
อย่างไรก็ตามทั้งหมดก็เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวจากนักวิเคราะห์เท่านั้น ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ แล้วเพื่อน ๆ คิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของ
สงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐ จะดีขึ้นหรือแย่ลง คอมเมนท์มาแลกเปลี่ยน
กันครับ
.
แอดปุง
โฆษณา