8 ม.ค. 2021 เวลา 23:45 • สิ่งแวดล้อม
ญี่ปุ่นประกาศ "ห้ามใช้ถุงพลาสติก ที่เมืองคาเมโอกะ จังหวัดเกียวโต” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021
หลายคนอาจจะสงสัยว่า “ประเทศญี่ปุ่นเพิ่งจะงดแจกถุงพลาสติกเหรอ?”
2
“เปล่าค่ะ” ประเทศญี่ปุ่นประกาศงดแจกถุงพลาสติกไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2020 แล้ว แต่ครั้งนี้เป็น “การห้ามใช้ถุงพลาสติกโดยสิ้นเชิง”
กล่าวคือ นอกจากจะ 'ห้ามแจกถุงพลาสติก'แล้ว ยัง'ห้ามจำหน่ายถุงพลาสติก'อีกด้วย (ร้านค้าสามารถจำหน่ายถุงกระดาษได้)
ซึ่งมีผลบังคับใช้ในทุกที่ ทั้งร้านค้า, ซุปเปอร์มาร์เก็ต, ร้านสะดวกซื้อ, ร้านอาหาร, ร้านค้าแผงลอย, ตลาด, บริษัทขนส่ง ฯลฯ
ข้อบังคับนี้จะเริ่มทดลองปฏิบัติที่ เมืองคาเมโอกะ จังหวัดเกียวโต เป็นเมืองแรก และจะขยายผลไปสู่เมืองอื่น ๆ หรือทั่วทั้งประเทศ
2
ทำไมเมืองคาเมโอกะ ถึงถูกเลือกให้เมืองทดลองแห่งแรก?
ก็เพราะได้รับการผลักดันจากผู้จัดการ ฝ่ายรักษาสิ่งแวดล้อมเมืองคาเมโอกะ “คุณยามาอุจิ” ที่อยากรณรงค์ให้ประชาชนหันมาเลิกใช้ถุงพลาสติก เพราะมองเห็น "ปัญหาขยะจากการท่องเที่ยว"
1
เมืองคาเมโอกะ จังหวัดเกียวโตนั้น มีกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงคือ
“การล่องเรือในแม่น้ำโฮซูกาวะ”
ทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 250,000 คน
ซึ่งผลกระทบที่ได้รับคือ “ขยะถุงพลาสติก และขวดพลาสติก” ที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้ตามริมแม่น้ำ
แม่น้ำโฮซูกาวะจะไหลลงสู่อ่าวโอซาก้า และนำพาขยะถุงพลาสติกจำนวนมากเหล่านี้ไปสู่ท้องทะเลด้วย ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
การดำเนินการในช่วงแรกนั้น ค่อนข้างยากลำบาก เพราะผู้คนต่างคัดค้าน และไม่เคยชินกับการนำถุงมาเอง
รวมทั้งทางผู้ประกอบการทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ก็กังวลเรื่องยอดขายตก
1
คุณยามาอุจิ ผู้จัดการด้านสิ่งแวดล้อม ใช้เวลานานกว่า 2 ปี เพื่อผลักดันกิจกรรมนี้
จนในที่สุด เมื่อปีที่แล้ว ได้มีการอนุมัติเห็นชอบ
2
“ให้เมืองคาเมโอกะเป็นเมืองห้ามใช้ถุงพลาสติกแห่งแรก”
ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2021
นอกจากนี้ คนญี่ปุ่นยังชื่นชมว่า “ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีในการงดแจกถุงพลาสติก”
บอกว่า "คนไทยให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แถมยังมีความคิดสร้างสรรค์ ในการนำภาชนะต่าง ๆ มาใช้ใส่แทนถุงพลาสติกอีกด้วย"
6
ญี่ปุ่นชื่นชมคนไทยมีไอเดียดี
ทางรัฐบาลญี่ปุ่น มองเห็นปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม จึงมีการร่วมมือกับ
“บริษัท LOOP ประเทศสหรัฐอเมริกา” ยกเลิกการใช้ถุงหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติก
เปลี่ยนมาเป็น "บรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำได้" (Reuse)
ซึ่งในขณะนี้ มีบริษัทผู้ผลิตหลายแห่ง เข้าร่วมและออกแบบบรรจุภัณฑ์ Reuse ของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ของ LOOP
สินค้าในบรรจุภัณฑ์ของ LOOP จะวางจำหน่ายที่แรกที่ “ห้างสรรพสินค้าอิออน (AEON MALL)” ทั้งหมด 17 สาขาในแถบโตเกียวก่อน โดยจะเริ่มในเดือนมีนาคมของปีนี้
เมื่อลูกค้าบริโภคผลิตภัณฑ์หมดแล้ว สามารถนำบรรจุภัณฑ์ ไปคืนได้ที่ “ตู้คืนบรรจุภัณฑ์ของ LOOP” ที่ตั้งอยู่ในห้างอิออน หรือโทรเรียกให้มารับที่บ้านได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
1
บริษัท LOOP จะนำขวดบรรจุภัณฑ์มาล้างทำความสะอาด แล้วเติมสินค้าเข้าไปใหม่ เพื่อนำมาขายต่อ
จากประสพการณ์ของแอดมินเอง
แอดมินเคยทำงานพาร์ทไทม์อยู่ในห้างอิออนค่ะ
เคยสังเกตเห็นว่า ลูกค้าที่มาซื้อของที่ซุปเปอร์มาเก็ต มักจะถือตะกร้ามาเอง
เป็นตะกร้าสีชมพูแต่มีโลโก้ของ AEON ติดอยู่
เกิดความสงสัย บวกกับแพ้ของสีชมพู เลยถามเพื่อนร่วมงานว่า
“ทำไมเค้าถึงมีตะกร้าแบบนี้?”
เพื่อนคนญี่ปุ่นบอกว่า “อันนี้เป็นตระกร้าที่ห้างอิออนจำหน่าย เอาไว้ให้ลูกค้าใส่ของถือกลับบ้านได้เลย”
แอดมินว่ามันดีมากเลยค่ะ อยากให้ที่ไทยมีแบบนี้บ้าง คงจะสะดวกดี
ขอนอกเรื่องต่ออีกนิด
เชื่อไหมคะว่า ผู้เช่าร้านค้าในห้างสรรพสินค้า ต้องจ่ายค่าขยะตามน้ำหนัก และประเภทของขยะค่ะ
ตอนที่แอดมินทำงานในห้างอิออน ตามเพื่อนร่วมงานเอาขยะไปทิ้ง
เห็นว่าต้องมีการแยกขยะ และชั่งน้ำหนักด้วยค่ะ
และจะมีบิลเรียกเก็บเงิน ส่งตามมาทีหลัง
ส่วนที่ห้องอาหารของพนักงาน ก็มีถังขยะแยกประเภทอยู่ประมาณ 20 ถังได้
ขยะจากอาหารกลางวันที่ซื้อมาทาน ต้องแยกขยะทุกอย่างออกจากกัน
คนไทยที่ไม่คุ้นเคยกับการแยกขยะอย่างแอดมิน ถึงกับต้องให้เพื่อนร่วมงานสอนเลยค่ะ ทิ้งมั่ว ๆ ไม่ได้ด้วยนะคะ โดนดุค่า 555
อยากให้ทุกคนใส่ใจกับปัญหาขยะกันมากขึ้น
สิ่งไหนที่เราให้ความร่วมมือ ช่วยลดการเกิดขยะได้ก็ควรทำค่ะ
โลกของเราจะได้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
/ ฮิเมะ
2
โฆษณา