8 ม.ค. 2021 เวลา 08:19 • ประวัติศาสตร์
มาคุยเรื่องประวัติศาสตร์กัน ! สนุกมาก
อังกฤษเคยไม่มีกษัตริย์อยู่ช่วงนึง รู้มั้ยย
เอาบทความมาจากเว็บหลัก
เรื่องของเรื่องเกิดสมัย พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 มีความขัดแย้งกัน ระหว่าง ระบบกษัตริย์ และประชาชน
รุนแรงถึงขั้นล้มเลิกระบอบการมีกษัตริย์ปกครองประเทศไปช่วงหนึ่ง และหันมาใช้ระบบประชาชนปกครองประเทศ พูดให้เห็นภาพก็เปลี่ยนมาใช้เป็นระบบ ประธานาธิบดี ในระยะเวลาสั้น ๆ
เรื่องก็คือ
คิงชาร์ลส์ที่ 1 เหมือน อยู่ในจังหวะที่ไม่ไหวของประชาชนต่อระบบกษัตริย์ของอังกฤษ แบบไม่ใช่เพราะตัวคิงชาร์ลส์เองล้วน ๆ เพราะต้องย้อนไปถึงยุค คิงเฮนรี่ที่ 8 กันเลยทีเดียว
เฮนรี่ที่ 8 ประวัติน่าสนใจมาก
เฮนรี่ที่ 8
เฮนรี่ที่ 8 ขึ้นชื่อว่า เป็น คิงที่มี ควีนเยอะที่สุดคนหนึ่ง หลังจากครองราชย์ คิงเฮนรี่ต้องแต่งงานกับ คู่มั่นของพี่ชาย (เพราะพี่ชายสวรรคตก่อนได้ครองราชย์ เฮนรี่ที่8 เลยต้องครองราชย์แทนและแต่งงานแทนด้วย) แต่งงานกับเจ้าหญิงแคทรินจากสเปน
แต่หลังจากแต่งงาน คิงเฮนรี่ ก็ไปชอบคอกับแอนโบลีน
แอนโบลีนแกก็น่ารักครับ พอชอบกันแล้ว ก็เลยอยากเป็นควีนด้วยไม่หวังสูง
แอนโบลีน
แคทริน
พอความอยากเป็นควีนนี้ก็เลยเกิดเรื่องตามมาครับ เพราะคนที่เป็นควีนอยู่ในเวลานั้นก็คือ แคทริน ผู้ที่ซึ่งเคร่งศาสนามาก การหย่ากันจึงเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับแคทริน ประสันตะปาปาก็ต่อต้านการหย่าร้างตลอด
เพราะด้วยเหตุผลทางศาสนานี้ คิงเฮนรี่ก็เลยแก้ปัญหาโดยการ ตั้งนิกายทางศาสนาใหม่ แล้วก็เอาตัวเองเป็นประมุขของนิกายมันซะเลย ง่าย ๆ
ซึ่งในข้อนี้ คิงเฮนรี่ ได้คะแนนนิยมจาก ประชาชนอังกฤษไปพอสมควรเพราะว่า ประชาชนไม่ค่อยชอบพระสันตะปาปาอยู่แล้ว หลังมีนิกายของ คิงเฮนรี่ ประชาชนก็พากันย้ายนิกายมาอยู่กับ คิงเฮนรี่กันใหญ่
พอราชการผ่านไป ๆ
ไปอยู่ถึงยุค ควีนแมรี่
(พูดให้เห็นภาพ ควีนแมรี่ เป็นลูกระหว่าง คิงเฮนรี่ที่8 กับ ควีนแคทริน
| ส่วน ควีนอริซาเบธที่ 1 เป็นลูกของ คิงเฮนรี่ที่8 กับ แอนโบลีน ที่ผมเล่าก่อนหน้านี้)
ควีนแมรี่ เป็นยุคทีสร้างความเจ็บปวดให้กับประชาชนได้มากที่สุดยุคหนึ่ง ในเรื่องของศาสนา ด้วยความที่เคร่งศาสนาเหมือนคุณแม่ แคทริน
ควีนแมรี่
ควีนแมรี่ ถูกขนานนามว่า “แมรี่ผู้บ้าเลือด” ในเวลาต่อมา เพราะสั่งบังคับประชาชนที่ไม่นับถือนิกายคาทอลิก (โดยเฉพาะโปรเตสแตนท์) ให้มานับถือนิกายคาทอลิก โดยการสั่งฆ่าและเผาทั้งเป็นสำหรับผู้ที่ไม่ยอม
แต่โชคดีของคนอังกฤษ ที่ควีนแมรี่ครองราชย์ได้ไม่นานก็สวรรคตไป และควีนอริซาเบธที่ 1 ก็ขึ้นแทนในเวลาต่อมา ซึ่งประชาชนก็น่าจะเบาใจไปได้เพราะ ควีนเอลิซาเบธที่ 1เป็น คริสต์ นิกายโปรเตสแตนท์
 
 
มาถึงยุคที่ประชาชนบอก ทนไม่ไหวแล้ว ให้มันจบที่ยุคของเราเถอะ !
ก็คือยุคของ พระเจ้าชาร์ลส์ ที่ 1 นั้นเอง
บอกเลยว่าสนุกมาก !!!
ชาร์ลส์ที่ 1
จะว่าไปชาร์ลส์ที่ 1 ไม่ได้เลวร้ายมากนักในหลาย ๆ ด้าน เพราะ เศรษกิจของประเทศก็ไม่ได้แย่ แต่ชาร์ลส์แค่ไม่เป็นที่รักของประชาชนเท่านั้นเองครับ ด้วยความที่มีความห่างกับประชาชนประมาณหนึ่ง
แล้วถือตัวว่าตัวเองสูงส่งกว่าประชาชนเยอะด้วย
ถือว่าตัวเองเป็นเทวสิทธิ์ เปรียบตัวเองเหมือนเทพ อยากทำอะไรก็ทำ อยากได้อะไรก็ต้องได้
3 สาเหตุที่ทำ ให้เป็นจุดแตกหักระหว่างระบบกษัตริย์กับประชาชนในยุคนั้นก็คือ
1.ไม่เห็นหัวประชาชนโดยทำรัฐธรรมนูญที่ลิดรอนสิทธิและอำนาจของประชาชน
2.ลดบทบาทขุนนางเพิ่มอำนาจกษัตริย์
3.เรื่องศาสนา อยากจะล้มล้างนิกายโปรเตสแตนท์
3 ปัญหานี้ถูกนำมาขยี้ ซ้ำ ๆ ในรัฐสภาของอังกฤษ
โดย สส. โจมตีกันในเรื่องนี้อย่างหนาหู รวมถึง สส.ก็ยังโจมตีคนสนิทของกษัตริย์ อย่าง ดยุ๊คแห่งบัคกิ้งแฮม ที่เป็นที่ปรึกษาคนโปรดของคุณพ่อ (คิงเจมส์)
และเป็นคนสนิทของคิงชาร์ลส์ในเวลาถัดมา
คิงชาร์ลส์ ขอให้สภาอนุมัติเงินให้ไปทำการสู้รบหลายครั้ง
แต่สภาก็เห็นว่าใช้เงินภาษีของประชาชนสิ้นเปลืองเกินไป และยังเห็นว่าดยุ๊คแห่งบัคกิ้งแฮมนำทัพทีไรก็ล้มเหลว
เลยโจมตีว่าเป็นกบฏต่ออังกฤษ
อีกปัจจัยนึงที่ รัฐสภาต่อต้านกษัตริย์กันเยอะเพราะ สส.ส่วนใหญ่ คือ พิวริแตน หรือคนที่นับถือนิกาย โปรเตสแตนท์ ที่พระองค์ชาร์ลส์จะล้มนิกายนี้ด้วยแหละครับ
คิงชาร์ลส์ที่ 1 ก็เลยเห็นท่าไม่ดีที่คนสนิทของตน โดนด่าอยู่บ่อย ๆ ก็เลยสั่งให้ยกเลิกสภาไปเลยสั้น ๆ (คศ.1626)
แต่ภายหลังก็เปิดให้มีการประชุมสภาอีกครั้ง (คศ.1628)
คิงชาร์ลส์ก็ต้องการเงินเพิ่ม ให้สภาอนุมัติให้ไปรบอีกครั้ง ทางรัฐสภาก็เริ่มมีอำนาจมากกว่ากษัตริย์บ้างนิดหน่อยแล้วในเวลานั้น เลยขอร้องให้ คิงทำสัญญากับรัฐสภาว่า
1.จะไม่ขึ้นภาษีประชาชน หากสภาไม่เห็นด้วย
2.จะไม่จบประชาชนเข้าคุกโดยไม่มีสาเหตุ
3.จะไม่ส่งทหารไปพักอยู่กับประชาชน
4.จะไม่ออกกฏอัยการศึกในเวลาที่ปกติ
คิงชาร์ลส์ก็บอกว่า ได้ ๆ และยอมทำสัญญาด้วย
แต่พอได้เงินมา คิงชาร์ลส์ก็โนสนโนแคร์ไปในที่สุด (อย่างชอบ)
ยังเก็บภาษีตามที่อยากจะเก็บ ยังบังคับเรื่องศาสนาแบบไม่หยุด
ทำให้เริ่มมีกลิ่นในการปฏิวัติคิงชาร์ลส์ ซึ่ง
คิงก็รู้ตัวดีและได้กลิ่นของการปฏิวัตินั้น
ก็เลยสั่งปิดประชุมสภาและยุบสภาเล่น ๆ (คศ.1629) ไป 11 ปี
ในระหว่างนี้ ที่ไม่มีสภา 11 ปี ขอตัดภาพมาที่ลูกชาวนาคนนึง
ลูกชาวนาคนนี้ชื่อ โอลิเวอร์ เป็นลูกชาวนาที่รวยครับ คือตระกูลเป็นประชาชนทำมาหากินแล้วเป็นมหาเศรษฐีในประเทศ พอพ่อตาย ทรัพย์สินก็กลายเป็นของโอลิเวอร์ไป
เนื่องจากโอลิเวอร์(ตอนอายุประมาณ21) เนี้ย รวยใช่ไหมครับ ก็จะมีเพื่อนที่ไฮโซ เพื่อน ๆ ก็พลักให้ โอลิเวอร์ไปลงเป็น สส. เพราะเห็นแวว
แต่พอได้เป็น สส. ก็ต้องมีการเสนอชื่อ ให้คิงชาร์ลส์ (ในช่วงก่อนสั่งปิดสภานะ)
คิงชาร์ลส์ก็บอกว่า ไม่เอา สส.โอลิเวอร์คนนี้
เพราะเป็นลูกชาวนา และยังเป็นพวกนับถือนิกายโปรเตสแตนท์อีกต่างหาก ก็ไม่ได้เป็น สส.ในที่สุด
ในเวลาต่อมาก็ถูกรับเลือกเป็นสส.อีกครั้ง (อายุประมาณ29)
แต่ก็เป็นได้ 1 ปี คิงชาร์ลส์ก็สั่งปิดสภาไป 11 ปีนั้นแหละครับ
ในช่วง 11 ปีที่ปิดไป คิงชาร์ลส์สร้างเรื่องให้ประเทศเยอะมาก ที่งการเข้มงวดเรื่องเก็บภาษี โดยเฉพาะคนที่นับถือโปรเตสแตนท์
จนสุดท้ายประชาชนก็ไม่ยอมเสียภาษีให้กษัตริย์อีก (แม้จะขึ้นแค่1หรือ2%เท่านั้น) แถมประชาชนยังก่อกบฎ มีม็อบอยู่เนือง ๆ
โอลิเวอร์ก็ ใช้เวลาที่อยู่ต่างจังหวัด โดยการฝึกทหารม้า และรวมกำลังทหารม้า ด้วยความที่มีความเป็นผู้นำ และเป็นที่นิยมในหมู่ประชาชน และบอกว่าคนที่จะเป็นทหารม้าต้องเป็นคนที่นับถือ โปรเตสแตนท์เท่านั้น ไม่รับคาทอลิค ชาวพิวริแตนก็กรี๊ดกร๊าดชอบใจกันใหญ่ เพราะเหมือนถูกกดขี่มานาน
พอเรื่องของโอลิเวอร์ไปถึงหูคิงชาร์ลส์ ว่าโอลิเวอร์กำลังรวมทหารม้า คิงชาร์ลส์ก็เห็นท่าทีไม่ดี เลยเรียกประชุมสภาหวังเรียกคะแนนจากประชาชน (ค.ศ. 1640)
แต่การเรียกประชุมสภาครั้งนี้ พระองค์คิดว่าจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ แต่เปล่าเลย เหมือนเปิดสภามาให้ด่าพระองค์เองนั้นแหละครับ ทั้งเรื่องภาษี ศาสนา ความวุ่นวาย
สภาจึงหาข้อสรุปถึงปัญหาว่า จริง ๆ ปัญหาเนี้ยอาจจะมาจาก หัวหน้ารัฐมนตรี หรือนายก ที่เป็นคนดำเนินการและแนะนำกษัตริย์ ให้เก็บภาษีเพิ่ม สถาจึงลงมติกันว่าให้สั่งจับ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีและอาร์คบิชอปไปประหารชีวิตซะ
คิงจึงโกรธมาก ๆ แล้วคิดว่า รัฐสภาลบหลู่อำนาจ ท้าทายอำนาจของพระองค์ และยังทราบข่าวว่ารัฐสภากำลังจะแจ้งความผิดต่อพระองค์ด้วยที่นำคนผิด ๆ มาบริหารประเทศ
พระองค์ไม่อยู่เฉยหรอกนะครับ
พระองค์จึงสั่งให้ ทหาร ไปที่รัฐสภาเลยจบ ๆ ไปคุมเชิงสักหน่อย
ทาง สส. และรัฐสภาก็คิดว่า
คิดไม่ผิดว่าพระองค์จะทำแบบนี้
จึงมีการส่งข่าวไปที่โอลิเวอร์ ครอมเวลล์
โอลิเวอร์จึงนำทัพทหารม้ามาคุ้มครองรัฐสภาและสส. ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น
แต่ด้วยความที่คนเยอะใช่ไหมครับก็จะมีลักษณะเฉพาะของคนสองกลุ่มอยู่ ระหว่างทหารของพระราชากับทหารม้าของโอลิเวอร์
ทหารม้านำโดย โอลิเวอร์ และ เซอร์ โทมัส แฟรแฟ็กซ์ สั่งให้ทหารม้าตัดหัวเกรียนเรียกว่า ตั้งชื่อกันเองว่า แก๊งค์หัวกลม เพื่อจะไม่ให้ฆ่าพวกเดียวกันเอง
สงครามกลางเมืองอังกฤษ
การรบกันเกิดขึ้นหลายครั้ง การรบกันย่อย ๆ ที่ฝั่งทหารม้าชนะบ่อย ๆ ยิ่งทำให้ โอลิเวอร์ก็เด่นขึ้น ดังขึ้น มีบารมีมากขึ้น
จนสุดท้าย ฝั่งคิงชาร์ลส์ที่ 1 ก็แพ้อย่างหมดรูปในที่สุด
คิง ชาร์ลส์ที่ 1 ลี้ภัย
สุดท้ายคิงชาร์ลส์ก็ลี้ภัยไป สก็อตแลนด์ แต่ทางชาวสกอตก็เริ่มเห็นท่าไม่ดี มีการประชุมสรุปกันว่าการมีพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 อยู่เป็นเหมือนการชักศึกเข้าบ้าน เพราะทหารของโอลิเวอร์ก็เก่งเอาเก่งเอา และสุดท้ายชาวสกอตก็ส่งตัวพระเจ้าชาร์ลส์กลับอังกฤษ
วันที่ 30 มกราคม 1649 พระเจ้าชาร์ล
ในเวลาต่อมารัฐสภาที่มี สส.ที่นับถือนิกาย โปรเลสแตนท์อยู่เต็มสภาก็ลงมติให้ประหารพระองค์เสีย เพราะจะอยู่ไปก็จะสร้างแต่ปัญหาให้กับประเทศแน่ ๆ
ในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649
โดยที่เป็นที่เล่าขานกันว่า ในระหว่างที่จะโดนตัดพระเศียรนั้น คิงชาร์ลส์ไม่มีอาการหวาดกลัว หรือสั่นใด ๆ แม้แต่น้อย พร้อมบอกว่า
“เรารู้ว่าเราอยู่ตรงนี้เพราะอะไร และรู้ทุกอย่างว่าใครอยู่เบื้องหลัง”
จากนั้นคนที่ขึ้นครองประเทศก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็คือลูกชาวนาอย่างโอลิเวอร์นั้นเองครับ เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ประชาชนสามารถปกครองประเทศได้ ค.ศ. 1657 (ได้รับมงกุฏ โบราณสมัย ศตวรรษที่ 1 ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ซึ่งปัจจุบันก็ยังใช้มงกุฏนี้อยู่)
โอลิเวอร์
แต่โอริเวอร์ก็ขึ้นบันลังได้ไม่นานก็ล้มป่วยและเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1658 (1ปีนั้นแหละ)
สุดท้าย ชาวอังกฤษก็เรียกร้องให้ฟื้นฟูระบบกษัตริย์ กลับมาในที่สุด
โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ จึงเป็นประชาชนคนเดียวที่เคยได้รับมงกุฏกษัตริย์ของอังกฤษครับ
จบปิ้งงง ถ้าชอบแชร์ให้เพื่อน ๆ อ่านด้วยน้าา แอดมินตั้งใจเขียนมากกก
อยากได้ในสิ่งที่ไม่เคยได้ ต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ
bigdreamblog #bigdream
follow us |
กดติดตามเพจ I Have A Big Dreams และกด see first
เพื่อไม่พลาดบทความดีๆแบบนี้ทุกวันนะครับ
รัก รัก ❤ เรามาเป็นของขวัญให้กันและกันนะ
โฆษณา