10 ม.ค. 2021 เวลา 22:12 • การศึกษา
ดินแดนลังกาสุกะ...ปลายด้ามขวาน : EP4
การหล่อหลอมวัฒนธรรมด้านภาษา..ในดินแดนแห่งนี้
วัฒนธรรมดินแดนปลายด้ามขวาน สามารถแบ่งออกได้ 2 ยุค
ยุคที่ 1 : ยุคก่อนรับอิสลาม : ฮินดู - พุทธ
ยุคที่ 2 : ยุคหลังรับอิสลาม หลังปี พ.ศ.2043
วัฒนธรรมด้านภาษาของดินแดนแห่งนี้..
จึงหล่อหลอมด้วย ทั้งภาษาบาลี สันสกฤต (ในยุค ฮินดู - พุทธ)
และรวมไปถึงภาษาอาหรับ จากการรับอิสลาม
**** มีคำภาษาไทย และภาษามลายู ไม่น้อยที่ยืมใช้กัน
โดยมีรากฐานจากภาษาบาลี สันสกฤต และใช้กันอยู่ถึงทุกวันนี้
🔻มาดูตัวอย่างกันครับ
คำว่า Raja อ่านว่า รายา : มีรากฐานเดียวกันกับ ราชา
คำว่า Gajah อ่านว่า ฆาจะห์ : มีรากฐานจาก คำว่า คช : ช้าง
คำว่า Wanita อ่านว่า วานิตา : มีรากฐานจากคำว่า วนิดา : หญิงสาว
คำว่า Neraka อ่านว่า เนอรากา : มีรากฐานจาก คำว่า นรกา : นรก
1
เห็นมั้ยครับว่า..หากเราไล่เรียง ความเป็นมาในด้านภาษา
จะพบว่า..ภาษาได้ทิ้งร่องรอยของวัฒนธรรมในอดีตได้เป็นอย่างดี
***** ถูกหล่อหลอม โดยที่คนรุ่นหลัง(อาจ)ไม่ทราบ : รวมถึงผมด้วย *****
🔻ขออนุญาต ยกคำภาษาไทย ที่เป็นคำภาษามลายูที่ใช้ร่วมกัน
คำว่า บุหลัน : เดือน เคยได้ยินมั้ยครับ..
บุหลั่นลอยเลื่อน (เพลงพระราชนิพนธ์ รัชกาลที่2)
คำว่า บุหงา : ดอกไม้ เราคุ้นกันกับคำว่า บุหงารำไป ใช่มั้ยครับ
ขอจบโพสต์นี้ด้วย :
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม คือ ความสวยงาม
วัฒนธรรมทางภาษา ก้อเช่นเดียวกัน
-
-
ดินแดนปลายด้ามขวาน จะดีไม่น้อย..
หากมีดอกไม้ที่มีหลากหลายสี ผลิ ดอกร่วมกัน
-
-
บานสะพรั่งทั่วพื้นที่ 10,936 ตารางกิโลเมตร
-
-
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน : 11 มกราคม 64
****⛈⛈ ช่วงนี้ในเขตเมืองปัตตานี มีน้ำท่วม เอ่อล้น ในบริเวณกว้าง
****⛈⛈ ขอส่งกำลังใจ ให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมครั้งนี้ ด้วยครับ 🌹🌹
3
ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในแบบอีกมุมมองนึง..ในซีรีส์ข้างล่างครับ 👇🏼
เครดิตภาพ : pixabay
โฆษณา