22 ม.ค. 2021 เวลา 14:54 • สุขภาพ
อะไรสำคัญที่สุด
อะไรเอ่ย สำคัญที่สุดในตอนนี้ ตอนที่ไวรัสโควิด19 กำลังระบาดไปทั่วโลก
ช้อยส์คำตอบข้างล่างนี้
1. การสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือ Mask ด้วยวิธีที่ถูกต้อง
2. การล้างมือบ่อย ๆ ทั้งด้วยน้ำสะอาดและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล
3. การเว้นระยะห่างทางสังคม
4. การกินร้อน ใช้ช้อนตัวเอง
และ
5. การ(รอ)ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด19
คงต้องขอตอบว่า ถูกทุกข้อ
แต่รู้มั้ยคะว่า สิ่งที่สำคัญกว่านั้นและเป็นดั่งกำแพงเมือง ทหารหาญ
ระเบิด/อาวุธยุทโธปกรณ์ ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคแก่พวกเราคือ...
ระบบภูมิคุ้มกันของเราเอง
เพราะฉะนั้นเรามารู้จัก "ระบบภูมิคุ้มกัน"ของเรากันดีกว่า
#"ระบบภูมิคุ้มกัน"ของเราหรือเครื่องมือป้องกันภัยของเราอันทรงคุณค่า
ที่ได้มาโดยธรรมชาติ มีอะไรบ้าง
#มีความสำคัญต่อการป้องกันตนเองของคนเราอย่างไร
โลกทุกวันนี้มีอันตรายอยู่รอบตัว
สิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายมีทั้งที่มองเห็นได้
และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า(ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจึงจะเห็น)
อันตรายต่าง ๆ เหล่านั้น..ที่เรามองไม่เห็นแต่เข้าใจและรับรู้กันแล้ว..
เช่นเชื้อไวรัส ตระกูล โคโรนาไวรัส ที่สุดแสนดัง ปังไปทั่วโลก..
ต้นเหตุที่ก่อให้เกิด
โรคโควิด19(COVID-19)นั่นเอง
Photo by Evgeni Tcherkasski on Unsplash ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ภาพจากแหล่งภาพฟรี Unsplash
กลับมาที่หัวเรื่องก่อนนะคะ เรื่องเจ้าวายร้าย Corona Virus19 นี้ คงต้องค่อย ๆ เล่าค่ะ เพราะมันฉลาด มีการปรับตัว(มิวเตชั่นหรือ mutation)ตลอด
เรื่องที่จะคุยกันวันนี้
# ระบบภูมิคุ้มกัน หรือ immune system คืออะไร
เราจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรู้จัก ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) ที่คอยช่วยป้องกันเราจากอันตรายที่อาจเกิดจากสิ่งแปลกปลอมรอบตัว ทำให้เรายังคงแข็งแรงอยู่ได้ถึงทุกวันนี้
ก่อนจะพูดถึง ระบบภูมิคุ้มกัน
และระบบนี้ทำงานอย่างไร
เรามารู้จัก ศัตรูของเรากันก่อน หรือคือสิ่งแปลกปลอม(Antigen)
ต่อร่างกายเรานั่นเอง
+-+-+-+ และ +-+-+-+
# Antigen คืออะไร
Antigen ออกเสียงอ่านว่า แอนติเจน มักใช้ตัวย่อว่า Ag
Ag คือสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ทั่วไปรอบตัวเรา
Ag อาจเป็นโปรตีน(protein)
เป็นคาร์โบไฮเดรตหรือไกลโคโปรตีน(glycoprotein)
หรืออาจเป็นสารประกอบทางชีวภาพอื่น ๆ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่าง Ameba หรือ amoeba(อะมีบา) ก็ได้
Ag ที่เราพบได้บ่อย ๆ กลุ่มหนึ่งคือเชื้อโรค
เชื้อโรคหรือจุลชีพ(microorganism) คืออะไรบ้าง
เชื้อโรคหรือจุลชีพ(microorganism)คือสิ่งมีชีวิตที่เล็กมาก ก่อให้เกิดโรค
ต่อร่างกายมนุษย์
เชื้อโรค แบ่งเป็นกี่ชนิด
1
ถ้าลองค้นดูจาก google พบว่า ปัจจุบันแบ่งเป็น 7 ชนิด ได้แก่
bacteria(เแบคทีเรีย)
archea(อาร์เชีย)
protozoa(โปรโตซัว)
algae(สาหร่าย)
fungi(เชื้อรา)
virus(ไวรัส)
และ multicellular animal parasite(helminths หรือพยาธิ)
[อ้างอิงตามภาพค่ะ]
Microorganisms are divided into seven types: bacteria, archaea, protozoa, algae, fungi, viruses, and multicellular animal parasites ( helminths ).
เครดิตภาพ ถ่ายจากเวบไซต์ bio.libretexts.org
เชื้อโรคหรือจุลชีพ(microorganism)คือสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ร่างกายมีโอกาสได้รับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จากการสัมผัส
การกินเข้าไป หรือการหายใจ
เมื่อรับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปแล้ว บางคนเจ็บป่วย แต่บางคนกลับ
ไม่มีอาการ เป็นเพราะประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของแต่ละคน
ต่างกันนั่นเอง
+-+-+-+
1
อวัยวะและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน มีอะไรบ้าง
อวัยวะของคนเราที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบภุมิคุ้มกัน ขอกล่าวถึงการแบ่งโดยทั่วไป
ได้แก่
1. ต่อมน้ำเหลือง
2. ท่อน้ำเหลือง
3. ต่อมทอนซิล
4. ต่อมไทมัส
5. ไขกระดูก
6. ไส้ติ่ง
7. ม้าม
และเรายังมีเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองอยู่ตามอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย
เช่น ใต้เยื่อบุของระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร แม้แต่ในสมอง เราก็มีเซลล์
ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันเพื่อทำหน้าที่ป้องกันภัยให้สมองอยู่เช่นกัน
*ภาพประกอบ อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน
ขอนำภาพประกอบวาดด้วยดินสอเอง เป็นรูปของต่อมน้ำเหลือง
วาดเพื่อให้เข้าใจง่าย อาจไม่สวยนักนะคะ
โพสต์ถัด ๆ ไป น่าจะได้มาอธิบายถึงโครงสร้างลักษณะทางกายวิภาค
และเนื้อเยื่อวิทยาของต่อมน้ำเหลืองกันค่ะ
ภาพต่อมน้ำเหลือง
Lymph node หรือต่อมน้ำเหลือง อวัยวะพื้นฐานสำคัญของ ระบบภูมิคุ้มกันของเรา (ของแท้ต้องมีรอยยางลบด้วยค่ะ)
ร่างกายมีอวัยวะและเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ป้องกัน ดักจับ และทำลายสิ่งแปลกปลอม
โดยมีเซลล์เม็ดเลือดขาวในหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และยังสะสมอยู่ในอวัยวะ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นหน่วยป้องกันที่สำคัญของร่างกาย
1
กลไกต่อต้านและทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย
เมื่อมีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายและก่อให้เกิดอันตราย ร่างกายจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนอง โดยมีกลไกต่อต้าน/ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลก
ปลอม
กลไกการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันพอแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1. แบบไม่จำเพาะ หรือเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า innate immune response
2. แบบจำเพาะ adaptive immune response
โดยทั่วไปการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของคนเราทั้งสองแบบ จะทำงานร่วมกันเสมอ
Innate immune response หรือการตอบสนองของระบบภูมิคุมกันแบบไม่จำเพาะ
1. กลไกต่อต้าน/ทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะ
กลไกนี้เปรียบเสมือนรั้ว กำแพงเมืองหรือคือแนวป้องกันที่ช่วยต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมก่อนที่สิ่งแปลกปลอมจะเข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกายได้
หรือบางครั้งในเวลาที่เข้าไปถึงเนื้อเยื่อของร่างกายแล้ว เช่นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอม
ยกตัวอย่างคือฝุ่นละอองพลัดเข้าไปในโพรงจมูก แนวป้องกันแรกคือ ขนของรูจมูก
แต่เมื่อเข้าไปแล้ว ร่างกายก็จะมีน้ำมูก สารคัดหลั่งหรือเมือกที่เซลล์เยื่อบุโพรงจมูกขับออกมาเพื่อดักจับฝุ่นละอองไว้ น้ำมูกหรือเมือกต่าง ๆ เป็น กลไกการต่อต้านแบบไม่จำเพาะเช่นกัน
1
แต่ถ้าแนวป้องกันนี้ถูกทำลาย เช่น มีบาดแผลที่เซลล์เยื่อยุของโพรงจมูก
ร่างกายจะยังมีกลไกการต่อต้านแบบไม่จำเพาะอื่น ๆ อีก เช่นจะมีสารที่หลั่งออกมา
จากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่เรียกว่า polymorphonuclear leucocytes
ซึ่งคล้ายกับทหารลาดตระเวนของร่างกาย เป็นเซลล์กลุ่มที่คอยดักจับและทำลาย
เชื้อโรคที่ผ่านเข้ามาในร่างกาย
1
เซลล์เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดเหล่านี้ นับเป็นกลไกการตอบสนองของ
ระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่จำเพาะ(innate immune response)เช่นเดียวกัน
2. กลไกต่อต้าน/ทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ(adatuve immune response)
เมื่อแอนติเจน (antigen) ซึ่งอาจเป็นเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่เนื้อเยื่อ
ในร่างกาย จะกระตุ้นกลไกการต่อต้านหรือทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำเพาะ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวพิเศษอีก 2 ชนิด คือ
เซลล์ลิมโฟไซต์ชนิดบี (B cell) และ เซลล์ลิมโฟไซต์ชนิดที (T cell)
1
เซลล์บีและเซลล์ทีจะจับกับแอนติเจนอย่างจำเพาะ และจะกระตุ้นให้เซลล์บี
พัฒนาไปเป็นเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเซลล์พลาสมานี้ จะทำหน้าที่
สร้างและหลั่งแอนติบอดี (antibody)
1
สำหรับเซลล์ทีที่ถูกกระตุ้นมีหลายชนิดและทำหน้าที่ต่างกัน เช่น
- เซลล์ทีที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมหรือเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส (cytotoxic T cell)
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า T killer cell มีคุณสมบัติติดสารบ่งชี้เฉพาะชื่อ CD8
- เซลล์ทีผู้ช่วย (helper T cell) ซึ่งกระตุ้นการทำงานและการแบ่งเซลล์ของ
เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดอื่น ๆ (จะกล่าวถึงต่อไป) เซลล์ทีผู้ช่วยมีคุณสมบัติติด
สารบ่งชี้เฉพาะชื่อ CD4
ในการตอบสนองดังกล่าวเซลล์บีและเซลล์ทีบางส่วนจะพัฒนาไปเป็นเซลล์ความจำ (memory Cell) ที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนนั้น ทำให้เมื่อได้รับแอนติเจนชนิดเดิมอีกในครั้งต่อไป จะตอบสนองและสร้างแอนติบอดีได้อย่างรวดเร็ว
1
covid19 virus
Photo by Elena Mozhvilo on Unsplash Thank you for the artistic picture, Unsplash
*สำหรับโรค COVID-19 เกิดจากโคโรนาไวรัส สามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ที่มีไวรัสอยู่ในร่างกาย
ดังนั้นการเข้าใกล้ผู้ที่ไอหรือจาม อาจหายใจเอาไวรัสเข้าไป รวมทั้งการสัมผัส
สิ่งของร่วมกันกับผู้ที่มีไวรัสปนเปื้อนอยู่ ทำให้เสี่ยงต่อการับเชื้อเข้าร่างกาย
1
การสวมใส่หน้ากากอนามัยก็เพื่อป้องกันการรับเชื้อ ที่อาจปลอมปนหรือปลิวมาตาม
ลมหายใจ เกาะมากับละอองฝอยของน้ำมูก น้ำลาย ละอองไอที่มากับอากาศของ
คนที่ติดเชื้อโควิเ19 แต่ไม่มีอาการมากนัก
นั่นคือการใช้หน้ากากอนามัยมาช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา
เหมือนเป็นการเพิ่มเกราะให้เราอีกหนึ่งชั้น ซึ่งสำคัญมาก
เป็นการช่วยการป้องกันทางภูมิคุ้มกันแบบที่1 ที่เรียกว่า
กลไกต่อต้าน/ทำลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะ(innate immune response)
นั่นเอง
1
การสวมใส่หน้ากากอนามัย
การสวมใส่ที่ถูกต้อง ต้องปิดและปกคลุมทั้งจมูกและปากให้สนิท
เรียบไปกับใบหน้าเวลาสวมใส่
1
ดูตามภาพน้องหมีได้เลยค่ะ
Photo by L N on Unsplash [Thank you very much for the cute picture]
การล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำ และสบู่ ก้เปนกลไกง่าย ๆ และทรงประสิทธิภาพเช่นกันในการขจัดเชื้อโรค
Wash your hands with "soap". We wanted to transform the foam into goats so that the kids will take the washing activity as a fun thing. Image created by House of Radon. Submitted for United Nations Global Call Out To Creatives - help stop the spread of COVID-19. ขอขอบคุณภาพจาก Unsplash
นอกจากการใช้หน้ากากอนามัยแล้วนั้น เราควรดูแลรักษาร่างกายให้ดี
ตอนต่อไปจะได้กล่าวถึง การดูแลร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์เพื่อช่วยให้
ระบบภูมิคุ้มกัน อันเป็นกลไกสำคัญที่เรามีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มีประสิทธิภาพ
มากขึ้นในการป้องกันหรือต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคต่าง ๆ
1
ขอให้คุณผู้อ่านทุกท่านมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี สุขภาพดี อยู่รอดปลอดภัยใน
สถานการณ์ระบาดของโควิด19 ครั้งนี้ เป็นเพื่อนร่วมฟันฝ่ากันต่อไปนะคะ
ณ เวลานี้ ปรับตัวกับสถานการณ์ ปรับชีวิตจิตใจ อยู่อย่างมีสุขพอประมาณ
ตามอัตภาพแบบ New Normal กันค่ะ
1
ในความโชคร้ายมักมีความ"ดีพอ" สำหรับผู้รู้ตนและรู้ "พอดี" เดินตามมาอย่าง
เงียบ ๆ เรียบ สงบ ง่ายและงาม เสมอค่ะ
Photo by Edwin Hooper on Unsplash Thank you very much for the picture, Unsplash
พบกันใหม่โพสต์หน้าค่ะ
ขอขอบคุณที่ตามอ่าน
กรุณากดไลค์ กดติดตาม
หรือพูดคุย สอบถามคำถามไว้ในช่องความคิดเห็น
พอลลี่จะพยายามกลับเข้ามาตอบทันที..เมื่อมีเวลาค่ะ
Pollyanna
Microorganism จากเวบไซต์ bio.libretexts.org
ระบบภูมิคุ้มกัน
จากวิกิพีเดีย ไทย
โฆษณา