15 ม.ค. 2021 เวลา 02:44 • ประวัติศาสตร์
ร้านแผงลอยข้างทางในเกาหลีหายไปไหน?
ถนนเมียงดงปัจจุบัน
ใครเคยดูซีรีส์เกาหลีสมัยก่อนจำได้ไหม ไม่ว่าเรื่องอะไรก็มักจะมีฉากพระเอกกับนางเอกเดทกันในร้านอาหารข้างทาง นั่งกินโซจูกรึ่มๆพร้อมกับคุยจีบกันหวานจนทำเอาคนดูจิกหมอนกันไปหมด หรือถ้าเคยมาเที่ยวเกาหลีสมัยสัก10ปีที่แล้วจำได้ไหมคะ เราจะเห็นร้านขายของอยู่ตามข้างทางมากมาย ทั้งมยองดง อินซาดง ฮงแด ฯลฯ
ฉากเดทของพระเอกนางเอกซีรีส์เรื่องGoblinในโพจังมาช่า (포장마차)
แต่วันนี้ร้านแผงลอยข้างทางในเกาหลีลดลงไปมากจนแทบนับได้เลยค่ะ เพจนางเอกเกาหลีอยากจะมาเล่าให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้น
ถนนที่พลุกพล่านและร้านค้าแผงลอย
ร้านแผงลอยตามข้างทางในเกาหลีกำเนิดขึ้นเมื่อไร?
เมื่อก่อนช่วงปี 1950-1960นั้นคนที่มาทำร้านแผงลอยในเกาหลีส่วนใหญ่เป็นชนชั้นเกษตรกรที่เลิกทำนาแล้วหรือคนจนในเมืองใหญ่เป็นส่วนใหญ่ พอเกาหลีมีการปรับโครงสร้างระบบอุตสาหกรรมขึ้นในช่วงปี 1980 ก็มีคนที่ตกงานมากขึ้น นอกจ่ากนี้ วิกฤติเศรษฐกิจIMFก็มีส่วนสำคัญทำให้ชีวิตของชาวเกาหลีชนชั้นแรงงานลำบากมากขึ้น ผู้คนที่ตกงานจำนวนมากจึงหันมาหาวิธีเลี้ยงชีพด้วยการขายของตามร้านแผงลอยข้างถนนนั่นเอง โดยรูปแบบของร้านแผงลอยในเกาหลีก็หลากหลายค่ะ มีทั้งรถซาเล้ง, เต้นท์, food truck, โพจังมาช่าหรือร้านอาหารเต๊นแดงๆที่มักปรากฎในซีรีส์ โดยร้านค้าที่ไม่เป็นทางการเหล่านี้มักจะอยู่ตามถนนที่มีคนพลุกพล่าน บริเวณตลาดสด และสวนสาธารณะค่ะ
1
ร้านขายขนมแถวบ้านฉันที่ถ่ายไว้
ภาพโพจังมาช่าจากChosunBiz
ดังนั้น ร้านค้าเหล่านั้นก็ขายกันอยู่ทั่วไป จนกระทั่งรัฐบาลพยายามดำเนินนโยบายปฏิรูปและพัฒนาพื้นที่เมืองโซลหลายๆด้านด้วยกัน เช่น การพัฒนาพื้นที่แถบคังนัม (ตอนใต้ของโซล) บูรณะพื้นที่เมืองเก่า ปรับมาตรฐานการก่อสร้างอาคาร พยายามเปลี่ยนจากเมืองแห่งรถยนต์ให้เป็นเมืองแห่งถนนคนเดิน การสร้างพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น เป็นต้น
DDP พื้นที่ศูนย์รวมดีไซน์และศิลปะ ส่วนหนึ่งของโครงการปฏิรูปพัฒนาเมืองโซล
หนึ่งในความพยายามของรัฐบาลในการเริ่มโครงการปฏิรูปพื้นที่เมืองก็คือ การกำหนดพื้นที่ห้ามขายของตามถนนเพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่าตั้งแต่ปี 1999 และหลังจากนั้นก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนปี 1990รัฐบาลกลางเป็นผู้รับผิดชอบการดูแลจัดการพื้นที่ ความเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลและระบบราชการส่งผลให้มีการปราบปรามร้านค้าแผงลอยผิดกฎหมาย แต่พอหลังปี 1990ไปเนี่ย รัฐบาลก็เริ่มส่งต่ออำนาจนี้ให้กับหน่วยงานท้องถิ่นทำให้การสอดส่องมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ระบบราชการยังปรับมาใช้merit systemซึ่งเน้นการให้รางวัลตามประสิทธิภาพของงาน ทำให้ข้าราชการเกิดความกระตือรือร้นในการปราบปรามมากขึ้น
แม้ว่าเทรนด์เหล่านี้อาจจะทำให้เมืองเป็นระเบียบขึ้น แต่ก็ทำให้เจ้าของร้านแผงลอยทั้งหลายซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนอายุมากและไม่มีสกิลหาเลี้ยงชีพอะไรประสบกับความลำบากในการเลี้ยงชีพมากขึ้นเพราะพวกเขากลายสถานะเป็นร้านค้าผิดกฎหมาย ขณะที่หลายร้านก็เลิกกิจการไปทำอย่างอื่นแทน หลายร้านก็ยังคงขายอยู่ที่เดิมด้วยความหวาดหวั่นว่าเมื่อไรรัฐบาลจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจและก็วุ่นอยู่กับการต้องเก็บร้านหนี อย่างไรก็ตาม
เครดิตภาพจากนสพ.จุงอังอิลโบ ปี 2014 --> https://koreajoongangdaily.joins.com/2014/11/09/socialAffairs/Vendors-fight-to-stay-in-Gangnam/2997104.html
ในหลายๆที่ที่รัฐบาลเข้าไปปราบปราม มีการเจรจาให้ค่าชดเชยหรือจัดหาพื้นที่ชั่วคราวสำหรับค้าขาย แต่ก็ไม่ได้ประสบผลสำเร็จทุกครั้ง เจ้าของร้านค้าแผงลอยรวมตัวกันเป็นสมาคมและประท้วงกับรัฐบาลหลายครั้ง จนถึงวันนี้ก็ยังมีการปะทะกันอยู่เรื่อยๆ
เมื่อเห็นว่าการไล่ที่อย่างเดียวดูจะเป็นแนวทางที่รุนแรงและไม่สามารถกำจัดร้านค้าแผงลอย นอกจากนี้ หากร้านเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เดือดร้อน พวกเขาออกจะชอบด้วยซ้ำเพราะมีstreet foodและขนมให้ซื้อกินง่ายๆ .ในปี 2019 รัฐบาลเมืองโซลจึงมีนโยบายออกใบอนุญาตสำหรับร้านค้าแผงลอยที่ปฏิบัติตามเงื่อนไข นั่นคือมีขนาดตามกำหนด เจ้าของต้องเป็นคนบริหารเปิดร้านเองหมด รักษาสุขอนามัยตามกฎของเมืองโซล และจะต้องจ่ายค่าเช่าให้รัฐบาลท้องถิ่นด้วย ในหลายพื้นที่เขาจะวางตู้คล้ายๆกับคอนเทนเนอร์ขนาดมาตรฐานของรัฐบาลอย่างเป็นระเบียบให้ผู้ที่มีบัตรอนุญาตประกอบการค้าได้ (ดูตามรูปเลย)
ก่อน-หลังการปรับปรุงร้านค้าแผงลอย เครดิตภาพ https://mediahub.seoul.go.kr/archives/1288147
อย่างไรก็ตาม โควต้านั้นมีจำกัดเพื่อไม่ให้แออัดและเกิดปัญหาสุขอนามัย ร้านค้าริมทางจึงต้องลดลงไปอย่างเลี่ยงไม่ได้ค่ะ
ผู้อ่านคิดว่าเราจะทำแบบนี้ในประเทศไทยได้ไหมคะ?
ใครชอบคอนเทนท์ของนางเอกเกาหลี กดแชร์และติดตามกันด้วยนะคะ แล้วเจอกันใหม่ ^^
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
อ้างอิงและเรียบเรียงจาก
이반의경 (2005). 불법노점상은 생존권을 포기해야 하나?. 진보평론(24), 160-168
홍인옥 (1999). 노점상문제 현황 및 갈등구조 분석. 대한지리학회 학술대회논문집, 17-23
โฆษณา