20 ม.ค. 2021 เวลา 13:45 • ประวัติศาสตร์
# บทเรียนจากการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส: ไวรัสแพร่กระจายไปทั่วโลกในปี 2546 ได้อย่างไร
การแพร่ระบาด และไวรัสนั้นอาจมีความลับที่ยากจะเข้าถึงได้อีกมากมาย
ซาร์ส
ในเดือนพฤศจิกายน 2002 แพทย์ในมณฑลกวางตุ้งทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน เริ่มพบผู้ป่วยรายแรกที่ตรวจพบว่าเป็นโรค ซาร์ส หรือกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง
ซึ่งช่วงหลายเดือนผู้คนราว 8,096 คนใน 26 ประเทศป่วยเป็นโรคไวรัสครั้งใหม่นี้
จนนำไปสู่การเสียชีวิต กว่า 774 ราย แม้จะมีการรายงานว่าสามารถช่วยผู้ป่วยโรคซาร์สได้บ้างแล้ว
รายงานผล
แต่การแพร่กระจายนั้นก็ยังคงดำเนินต่อไป จนกระทั่งการปฏิบัติทางการแพทย์ที่บังคับใช้กันทั่วโลกก็สามารถช่วยและค่อย ๆ ยุติการระบาดได้ในที่สุด
โดยสาเหตุที่ช่วยผู้ป่วยโรคซาร์สได้ช้านั้น มีความซับซ้อนอยู่กลายประการ หนึ่งในสาเหตุสำคัญนั้นอาจด้วย เหตุที่แพทย์ไม่เคยได้พบเห็นการเจ็บป่วยจากไวรัสชนิดนี้มาก่อน
อีกทั้งในช่วงแรก ผู้ติดโรคซาร์สในมณฑลกวางตุ้ง ยังถูกพิจารณาว่าเป็นโรคปอดบวมผิดปกติเท่านั้น
ครั้งแรกที่พบ
“ ไม่มีใครรู้เรื่องนี้รวมถึงคนในปักกิ่งด้วย” อาร์โนลด์เอส. มอนโต ศาสตราจารย์ ด้านโรคระบาดวิทยา และสาธารณสุขระดับโลกจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าว
แต่ในที่สุดหลังจากการวินิจฉัยนั้น แพทย์ก็เริ่มตระหนักถึงบางอย่างเกี่ยวกับความเจ็บป่วยที่เป็นเหมือนปัญหาบางอย่างที่แก้ไขไม่ตกจากอาการที่พบเจอในผู้ป่วยได้ จึงทำให้เริ่มเข้าใจโรคนี้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่บางส่วน ยังสนับสนุนให้แพทย์หยุดรายงานถึงผู้ป่วยรายใหม่ ในช่วงที่โรคซาร์สแพร่กระจายไปยังปักกิ่ง ระหว่างเดือนเมษายน ปี 2003 ด้วย
People wearing masks to protect against the SARS virus in Hong Kong's Mass Transit Railway on March 31, 2003. The death toll at the time of this photograph was 13 with 530 people infected. Peter Parks/AFP/Getty Images
โดยภายหลังนิตยสาร Time ได้รับจดหมายจาก Jiang Yanyong แพทย์ที่โรงพยาบาลของกองทัพในกรุงปักกิ่ง กล่าวอ้างว่า “จำนวนผู้ป่วยโรคซาร์สที่แท้จริงในเมืองหลวงนั้นสูงกว่าจำนวนที่ทางการนับได้ค่อนข้างมาก”
ด้วยเหตุนี้ความจริงในเรื่องตัวเลข และความหน้ากลัวของโรคซาร์ส จึงรับรู้ถึงประชาชนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นเหตุบีบบังคับให้เจ้าหน้าที่ของจีน ต้องออกมาเปิดเผยถึงตัวเลขที่แท้จริงในเดือนเดียวกันนั้นด้วย
แต่ทว่าโรคซาร์ส กลับเริ่มระบาดจากจีนแผ่นดินใหญ่ไปสู่ฮ่องกงเสียแล้วในเดือนกุมภาพันธ์ 2003 เมื่อ Liu Jianlun ศาสตราจารย์ จากมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งไม่รู้ตัวว่าตนเองนั้นเป็นโรคซาร์ส
สถานที่พักและพาหะ
ซึ่งเขาได้เช็คเอ้าท์ออกจากห้องพัก 911 ที่โรงแรม เมโทรโพล ในฮ่องกง ไปตามปกติ แต่ไม่นาน หลังจากนั้นศาสตราจารย์วัย 64 ปีก็เริ่มมีอาการป่วย จนต้องรีบเข้าโรงพยาบาล และเสียชีวิตลงภายในสองสัปดาห์หลังจากนั้น
แม้ระหว่างที่เขาอยู่ที่โรงแรม จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ แต่เจเาหน้าที่ก็ทำการสืบสวนจนทราบว่า เขาได้ติดเชื้อจากแขกคนอื่นโดยไม่เจตนา อีกทั้งคนเหล่านั้นก็ยังนำเอาโรคซาร์สที่พวกเขาติดมา ไปสู่ สิงคโปร์ ,โตรอนโต และฮานอย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“เพราะการสืบสวนครั้งนั้น จึงทำให้ได้ทราบถึงข้อมูลที่น่าทึ่ง และระบุถึงปัญหาที่เกิดนี้ได้ชัดเจน ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปี 2003” มอนโต กล่าว “โดยเราเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า 'ซูเปอร์สเปรเดอร์' - หรือ คนที่ดูเหมือนจะเป็นพาหะ ที่ทำการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นมากมายนั้นเอง"
แพร่กระจาย
แม้นักวิทยาศาสตร์จะยังไม่เข้าใจ ถึงเหตุผลทางชีววิทยาว่า “ทำไมผู้ติดเชื้อบางรายจึงแพร่กระจายความเจ็บป่วยไปสู่คนอื่น ๆ ในสถานการณ์เดียวกันได้แต่นั้นก็เป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่กระจายของโรคซาร์สนี้ไปแล้ว”
“ส่วนลักษณะสำคัญอื่น ๆ ของโรคซาร์ส คือความสัมพันธ์โดยเฉพาะการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล หรือการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์จากผู้ป่วย” มอนโต กล่าว
“ซึ่งนี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความจริงที่ว่า ผู้ป่วยที่ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ป่วยหนัก จะหลั่งไวรัสจำนวนมากสู่สิ่งแวดล้อมที่เขาอยู่ได้”
Doctors and hospital staff talking inside a newly built special wards for SARS patients at the Infectious Disease Hospital in New Delhi, India on May 1, 2003. Prakash Singh/AFP/Getty Images
นอกจากนี้ในระหว่างการระบาดของโรคซาร์ส ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เช่น ดร. หลิว ที่เข้ารักษาผู้ป่วยโรคนี้ กยังถือเป็นบุคคลที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ ไปยังผู้ที่อยู่นอกโรงพยาบาลได้เช่นกัน
แม้ความเจ็บป่วย เช่น โรคซาร์ส จะสร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่รู้จัก และนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการวิเคราะห์การระบาดนี้ ก็ยังไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะสามารถ กำจัดหรือหยุดโรคซาร์ส ได้โดยสมบูรณ์หรือไม่
เพราะถ้าไวรัสนี้พัฒนาจนเหลือความรุนแรงลงได้ ดังเช่น ไข้หวัด ก็คงจะดี แต่หากเชื้อทวีความรุนแรงขึ้น ก็อาจฆ่าชีวิตคนได้อีกหลายร้อยหลายพันคนต่อปีเลยเดียว
ความรุนแรงที่อาจตามมา
แม้จะใช้เวลานานสักหน่อย แต่แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ก็สามารถกำจัดโรคซาร์สได้อย่างสมบูรณ์ โดยการแยกและกักตัวผู้คนจนกว่าไวรัสจะหมดไปจากระบบ (การกำหนดขอบเขตไวรัสไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อีกต่อไปนั้นเอง)
อีกทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศในการแยก และกักตัวคนที่เป็นโรคซาร์ส ตามที่องค์การอนามัยโลกก็ยังถือเป็นผลดี
ถึงขนาดทำให้ประเทศที่ได้รับผลกระทบ จากโรคซาร์ส ลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2003 เป็นต้นมา
Workers disinfect the waiting room of a Beijing railway station in the fight against SARS, on May 25, 2003. Peter Parks/AFP/Getty Images
ในอดีตจีนและฮ่องกง ถือเป็นประเทศที่ประสบปัญหามากที่สุดในช่วงการระบาดของโรคซาร์ส โดยในประเทศจีนมีผู้ป่วยมากถึง 5,327 ราย เสียชีวิต 349 ราย ในฮ่องกงมีผู้ติดเชื้อ 1,755 ราย และเสียชีวิต 299, ตามที่องค์การอนามัยโลกบันทึกไว้
หนึ่งในบทเรียนของการระบาดของโรคซาร์ส จึงทำให้จีนจำเป็นต้องมีความโปร่งใสมากขึ้นเกี่ยวกับการแจงตัวเลขระหว่างภาครัฐและประชาชนทั้วไป
“เนื่องจากโรคซาร์ส ในยุคนั้นถือเป็นความเลวร้ายที่ทุกคนต่างรู้ดีว่ามันมากมายขนาดไหน” มอนโต กล่าว “อีกทั้งจีนยังมีประสบการณ์ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาในการรับมือกับการระบาดของโรค ไข้หวัดนก ซึ่งยังไม่แพร่ระบาดในวงกว้าง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศจีนเสมอ ๆ ดังนั้นพวกเขาจึงได้เรียนรู้วิธีจัดการจัดการกับสิ่งเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี”
การเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาด ได้รับการปรับปรุงในระดับโลกเช่นกัน Anne W. Rimoin ศาสตราจารย์ด้านโรคระบาดวิทยา โดยกลุ่มสาธารณสุขแห่ง UCLA ซึ่งเชี่ยวชาญด้านไวรัสอีโบลากล่าวว่า
“ นับตั้งแต่การระบาดของโรคซาร์ส เราก็ได้เห็นการระบาดอื่น ๆ อีกหลายครั้ง” เธอกล่าว “ไม่ว่าจะเป็นโรคเมอร์ส ,H1N1 หรือไข้หวัดหมู ,ชิคุนกุนยา ,โรคซิกา ,อีโบลา และอีกหลายครั้งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การพัฒนา
ดังนั้นฉันจึงคิดว่าโรคระบาดเหล่านี้มีการประสาน และการตอบสนองที่ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ”
ในเดือนธันวาคม 2019 โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นในประเทศจีน โดย 2 กุมภาพันธ์ 2020 โทลเวย์ เสียชีวิตจากไวรัสตัวใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
ซึ่งเกิดการระบาดเกินกว่า ที่เกิดขึ้นในปี 2002-2003 ที่พบโรคซาร์ส หรือโรคอื่น ๆ ตามที่ คณะกรรมการสุขภาพของจีนได้กล่าวไว้ แต่ถึงอย่างนั้น ประสบการณ์ที่ผ่านมา จึงทำให้ จีน สามารถ รับมือ และตอบสนองต่อไวรัสนี้ได้อย่างรวดเร็วนั้นเอง
ดังคำที่กล่าวไว้ว่า “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”
แปลและเรียบเรียงโดยเรื่องเล่าจากดาวนี้
ที่มา:
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย 😄
โฆษณา