15 ม.ค. 2021 เวลา 01:30 • อสังหาริมทรัพย์
ทำไมคนรุ่นใหม่ซื้อบ้านไม่ไหว?
1
เคยสงสัยไหมว่า ทำไมรุ่นพ่อรุ่นแม่ถึงตั้งตัวได้เร็วกว่าสมัยนี้มาก เป็นเพราะคนรุ่นใหม่ไม่ขยันทำงาน ไม่อดออม ไลฟ์สไตล์ติดหรูแบบไม่ดูรายได้ ถึงทำให้เก็บเงินซื้อของชิ้นใหญ่ๆ อย่างบ้านได้ยากจริงหรือ?
31
คำตอบมีทั้งจริงและไม่จริง
จริง เพราะมีสถิติออกมาว่า คน Gen Y (อายุ 23-38 ปี) ก็มี #ปัญหาหนี้ท่วม ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจริงๆ นั่นล่ะ
7
ก่อนซื้อบ้าน ธนาคารจะประเมินความสามารถแบกรับภาระหนี้ของลูกหนี้เงินกู้สูงสุด 40% ของรายได้ต่อเดือน เช่น มีเงินเดือน 30,000 บาท สามารถผ่อนบ้านได้สูงสุดเดือนละ 30,000 x 40% = 12,000 บาท และธนาคารมักให้วงเงินกู้ประมาณ 15-30 เท่าของรายได้
9
แต่ถ้ามีภาระต้องผ่อนอย่างอื่นอยู่แล้ว เช่น ผ่อนรถเดือนละ 5,000 บาท ก็จะทำให้มีความสามารถผ่อนบ้านลดลงเหลือ 12,000 – 5,000 = 7,000 บาทต่อเดือน หรือบางคนอาจใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระอีกหลายอย่าง ความสามารถในการผ่อนบ้านก็ยิ่งน้อยลงอีก
5
งานวิจัยของ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ TMB (TMB Analytics) เผยว่ากลุ่ม Gen Y จำนวน 7.2 ล้านราย กำลังตกอยู่ในสภาวะหนี้ท่วมหัว เฉลี่ยภาระหนี้ต่อหัว 423,000 บาท ทั้งยังมีรายจ่ายฟุ่มเฟือยเฉลี่ยปีละเกือบ 100,000 บาทต่อคน โดยหมดไปกับ โทรศัพท์มือถือ 22% เสื้อผ้า 11% เครื่องสำอาง 8% อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 5% กระเป๋า 4% และเครื่องประดับ 2% ซึ่งสัดส่วนเกินครึ่งซื้อตามความนิยม ที่สำคัญคือ 50% เป็นการกู้หรือใช้บัตรเครดิตในการซื้อ
24
แต่ในขณะเดียวกัน การมีหนี้สินเยอะก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้คนรุ่นใหม่ซื้อบ้านไม่ได้
1
#ราคาอสังหาฯพุ่งสูง
5
ราคาที่ดินในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 8% ขณะที่รายได้ของผู้บริโภคปรับขึ้นเพิ่มเพียง 3% และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์ในไทย ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝดและคอนโด ต่างก็เพิ่มสูงขึ้นกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ และค่าจ้างแรงงาน พูดง่ายๆ คือ ราคาบ้านพุ่งสูงขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจกลับชะลอตัวลง ความสามารถในการซื้อก็ย่อมน้อยลง
20
และเมื่อปีที่แล้ว (2562) ธนาคารแห่งประเทศไทยยังบังคับใช้ “มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย” หรือ “Loan to Value” (LTV) เพื่อลดการเก็งกำไร และการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือน ทำให้กำลังซื้อถดถอยลงไปอีก ผลของมาตรการนี้ทำให้ยอดโอนที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 5.1
9
#เก็บเงินยากกว่าแต่ก่อน
1
“มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย” หรือ “Loan to Value” (LTV) ที่พูดถึงตอนแรกคือ ธนาคารมีกฎให้ปล่อยสินเชื่อกู้บ้านได้สูงสุด 90% ของราคาบ้าน เช่น ราคาบ้าน 1 ล้านบาท ธนาคารจะให้กู้มากที่สุด 9 แสนบาท อีก 1 แสนบาทจึงเป็นเงินสดที่เราจะต้องจ่ายโดยตรงให้กับผู้พัฒนาโครงการเอง
3
ดังนั้น โครงการจัดสรรต่าง ๆ โดยทั่วไปจะเก็บเงินดาวน์ที่ 10-20% ของราคาบ้าน
ตัวอย่างเช่น บ้านราคา 2 ล้านบาท ธนาคารปล่อยสินเชื่อ 90% ได้ 1,800,000 เท่ากับเราต้องหาเงินดาวน์ประมาณ 200,000 บาท เพื่อดาวน์บ้าน ดังนั้น การวางเงินดาวน์ยิ่งเยอะยิ่งดี ยิ่งผ่อนในเวลาอันสั้นจะทำให้เสียดอกเบี้ยน้อยลง หากยิ่งผ่อนนานอาจทำให้เสียค่าดอกเบี้ยแพงกว่าปกติได้จากอัตราเงินเฟ้อ
แต่ปัญหาก็ติดอยู่ตรงที่คนรุ่นใหม่ออมเงินได้ยากกว่าสมัยก่อน นอกจากเพราะพฤติกรรมการใช้เงินของคนรุ่นใหม่เองแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่ทำให้การเก็บเงินทำได้ยากขึ้นด้วย เช่น
12
#เงินเฟ้อ
3
เมื่อ 10 ปีที่แล้วก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชามมีราคาแค่ 20 บาท แต่สมัยนี้ราคาก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชาม (โดยเฉพาะในเมือง) อาจมีราคาสูงได้ถึง 50 – 60 บาท ซึ่งลักษณะนี้จะส่งผลกระทบไปถึงจำนวนเงินที่คุณต้องจ่ายในแต่ละเดือนและเงินส่วนที่เหลือที่ที่จะใช้เก็บ
6
#ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ
3
ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเฉลี่ย
ปี 2531-2540 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเฉลี่ย 9.9%
ปี 2541-2550 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเฉลี่ย 3.0%
ปี 2551-2561 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเฉลี่ย 1.7%
30
จึงไม่น่าแปลกใจที่รุ่นพ่อรุ่นแม่เราๆ ตั้งตัวได้ง่ายกว่า เพราะแค่ฝากประจำอย่างเดียวเงินก็งอกเงยมากพอแล้ว ต่างจากสมัยนี้ที่ต้องหาช่องทางลงทุนเพิ่มเติมซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่า
4
เพราะฉะนั้น ถ้าคนรุ่นใหม่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง สิ่งหนึ่งที่ทำได้คือพยายามลดหนี้และค่าใช่จ่ายที่ไม่จำเป็น และเริ่มหัดลงทุนเพื่อทำให้เงินงอกเงยในวันที่เราหวังพึ่งดอกเบี้ยเงินฝากไม่ได้อีกต่อไป
9
“Career Fact เพราะทุกอาชีพมีเรื่องราว”
5
#careerfact
………………
สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ ต่อได้ที่ Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว (อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดคอนเท้นท์ดีๆ)
โฆษณา