11 ม.ค. 2021 เวลา 12:02 • กีฬา
ญี่ปุ่นต้องเจ็บตัวหนักขนาดไหน เมื่อโอลิมปิกไม่สามารถแข่งได้ ทำความเข้าใจความโชคร้ายของญี่ปุ่น ที่โดนโควิด-19 เล่นงานแบบไม่สามารถทำอะไรได้เลยสักนิดเดียว
2
ทุกประเทศในโลกได้บาดแผลจากโควิด-19 กันทั้งนั้น แต่หนึ่งในประเทศที่โชคร้ายมากที่สุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย นั่นคือญี่ปุ่น สาเหตุหลักคือ "โอลิมปิก" นั่นเอง
2
ญี่ปุ่นเลื่อนจัดโอลิมปิกมาแล้ว 1 หนในปี 2020 และถ้าโรคยังระบาดต่อแบบนี้ โอกาสที่จะจัดในปี 2021 ก็ยากมากจริงๆ
3
เจ้าภาพทัวร์นาเมนต์กีฬารายการอื่นของโลก ยังโชคดี ที่ไม่เจ็บตัวนัก อย่างเช่นยูโร 2020 ดวงแข็งที่ใช้การจัดแบบกระจายไป 12 ประเทศ และใช้สนามฟุตบอลที่มีอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อปี 2020 ไม่พร้อม ทางยูฟ่าก็แค่เลื่อนออกไปเป็นปี 2021 ซึ่งถ้าสุดท้ายทัวร์นาเมนต์ยังจัดไม่ได้จริงๆ ต้องแคนเซิลไปในปี 2021 ก็จะไม่มีชาติไหนเจ็บตัวหนัก เพราะ กระจายความเจ็บไปคนละนิดละหน่อย
3
ขณะที่ฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์เป็นเจ้าภาพและทุ่มงบสร้างสนามมากมาย ก็ยังพอจะดวงดี ที่โปรแกรมจัดขึ้นช่วงปลายปี 2022 ซึ่ง ณ เวลานี้ มนุษย์ค้นพบวัคซีน ในการต่อสู้กับโควิดแล้ว ดูจากช่วงเวลา กว่าจะถึงปลายปี 2022 มี gap อีก 2 ปีเต็มๆ สถานการณ์โควิด ก็คงปลอดภัยพอสมควรแล้ว
4
แต่กับกรณีของญี่ปุ่นนั้น เป็นคนละเรื่องกันเลย นั่นเพราะพวกเขาลงทุน ลงแรง ไปกับโอลิมปิกครั้งนี้มาก ไม่ว่าจะจัดแข่งไม่ได้ หรือจัดแล้วไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาดู ก็ล้วนแล้วแต่เป็นหายนะทั้งสิ้น
5
ในประวัติศาสตร์ ประเทศญี่ปุ่นเคยเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกมาแล้วในปี 1964 และจากนั้นก็พยายามขอเป็นเจ้าภาพอีกหลายหน แต่ผิดหวังต่อเนื่อง
3
ในปี 1988 เมืองนาโกย่า ปะทะกับโซล ของเกาหลีใต้ ในการโหวตรอบสุดท้าย ผลคือโซลชนะ 52 ต่อ 27 เป็นความเจ็บใจของญี่ปุ่นที่พ่ายแพ้ต่อประเทศเพื่อนบ้าน
2
โอลิมปิก 2008 ญี่ปุ่นส่งโอซาก้า ไปร่วมชิงชัย ปรากฎว่าตกรอบแรก ได้แค่ 6 คะแนนเสียงเท่านั้น โดยคราวนั้นปักกิ่งจากจีน เป็นฝ่ายชนะ
1
ตอนแรกญี่ปุ่นจะส่งปี 2012 ด้วย แต่เมื่อปักกิ่งจากเอเชียเพิ่งเป็นเจ้าภาพไป มันคงเป็นการยาก ที่คะแนนโหวตจะมอบให้ชาติเอเชียอีกรอบ ดังนั้นพวกเขาจึงถอยไปตั้งหลัก และยื่นขอเป็นเจ้าภาพในโอลิมปิก 2016 ซึ่งแม้จะฝ่าฟันมาได้รอบสุดท้าย แต่กลับแพ้ ริโอ เด จาเนโร ของบราซิลไปอย่างน่าเสียดาย
3
เท่ากับว่า ญี่ปุ่นยื่นบิด (Bid) มาถึง 3 รอบ แล้วแพ้มาตลอด ดังนั้นในปี 2020 ความพยายามครั้งที่ 4 คราวนี้พวกเขาจัดเต็มทุกอย่างเท่าที่จะมีพลัง สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก สร้างสาธารณูปโภค บูรณะสนามกีฬา บางแห่งก็สร้างขึ้นใหม่ เตรียมแผนการตลาดล่วงหน้าหลายปี เพื่อยื่นขอเป็นเจ้าภาพอีกรอบในโอลิมปิก 2020
6
เลข 2020 ว่ากันตรงๆคือ ปีที่เลขสวย มันสามารถนำไปทำการตลาดได้มากมาย มีหลายๆชาติที่สนใจ อยากเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ แต่สุดท้าย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ตัดเหลือแค่ 5 ชาติเท่านั้นคือ ญี่ปุ่น (โตเกียว), ตุรกี (อิสตันบูล), อาเซอร์ไบจัน (บากู), กาตาร์ (โดฮา) และ สเปน (มาดริด)
1
พอยื่นข้อเสนอแล้ว ไอโอซีจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจเมือง และให้คะแนนว่าญี่ปุ่นพร้อมแค่ไหน กับการเป็นเจ้าภาพ โดยลิสต์คะแนนคือ
4
- คุณภาพของสนามแข่งขัน : 9/10
- หมู่บ้านนักกีฬา : 9/10
- การจัดการสื่อมวลชน : 9/10
- ที่พัก หรือโรงแรมของผู้ชม : 10/10
- ขนส่งมวลชน : 9/10
- ความปลอดภัย : 9/10
- การสนับสนุนจากรัฐบาล : 9/10
- ระบบการสื่อสาร : 9/10
17
คือจะเห็นว่าในด้านไหนๆก็ตาม ญี่ปุ่นแทบจะดันบาร์ไปสุดแม็กซ์ คราวนี้พวกเขาเอาจริง และต้องการเป็นเจ้าภาพให้ได้
1
นั่นทำให้การโหวตหาเจ้าภาพ ในการประชุมไอโอซี ที่บัวโนสไอเรส วันที่ 7 กันยายน 2013 ได้ข้อสรุปคือ เจ้าภาพจะเป็นของญี่ปุ่น โดยเอาชนะคู่แข่งที่เหลืออย่างขาดลอย ความพยายามครั้งที่ 4 บรรลุผลเสียที
ในวันที่โหวตสำเร็จ ประชาชนล้วนดีใจ เพราะโอลิมปิกจะเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มันจะนำนักท่องเที่ยวเข้ามาสู่ญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากกว่าเดิม ธุรกิจในประเทศจะมีความคึกคัก และช่วยสร้างงาน สร้างเงิน ให้ผู้คนได้มหาศาลแน่ๆ
ช่วงแข่งขันโอลิมปิก อาจกินเวลาแค่ 2 สัปดาห์เศษๆ แต่ลองคิดดูว่าใน 2 สัปดาห์นั้น ทั้งโลกจะหันมาสนใจที่คุณเป็นจุดเดียว มันเป็นโอกาสดีมาก ที่คุณจะประชาสัมพันธ์อะไรก็ได้ เพื่อให้โลกได้มองเห็นศักยภาพในตัวคุณมากขึ้นกว่าเดิม
4
กรณีศึกษาที่คนพูดกันบ่อยๆ คือโอลิมปิกที่บาร์เซโลน่าในปี 1992 เมื่อก่อน บาร์เซโลน่าก็เป็นเมืองใหญ่ที่มีชื่อเสียงในยุโรป แต่ทุกอย่างก็ไม่เหมือนเดิมหลังจากมีโอลิมปิก เพราะมันช่วยยกระดับบาร์เซโลน่าให้กลายเป็นเมืองระดับโลก จนถึงวันนี้ การท่องเที่ยวของบาร์เซโลน่าก็ยังได้อานิสงส์จากโอลิมปิกเมื่อเกือบ 30 ปีก่อนอย่างมากมาย
2
ดังนั้น โอลิมปิก 2020 สำหรับญี่ปุ่น มันคือช่วงเวลาแห่งความหวัง ช่วงเวลาที่จะได้เป็นเจ้าภาพ ต้อนรับคนทั้งโลก อย่างไรก็ตาม ณ วันที่โหวตชนะ มันคือปี 2013 จุดนั้นไม่มีใครคาดคิดหรอกว่าอีก 7 ปีต่อมา โลกนี้จะรู้จักไวรัส ที่ชื่อโควิด-19
4
ในระหว่างปี 2013 ที่โหวตชนะ จนถึงปี 2019 ญี่ปุ่นก็เตรียมการมาเรื่อยๆ ทางไอโอซีก็ชื่นชมว่าทำตามไทม์ไลน์ได้ดี
2
ญี่ปุ่นลงทุนสร้างสนาม สร้างระบบขนส่ง สร้างเครื่องอำนวยความสะดวกทั้งหมด การทำพรีเซ็นเตชั่นขอ Bid รวมถึงการทำโปรดักชั่นในพิธีปิดโอลิมปิก 2016 โดยใช้เงินไปทั้งสิ้น 1.35 ล้านล้านเยน คิดเป็นเงินไทยคือ 3.9 แสนล้านบาท เทียบได้กับจีดีพีของบรูไนทั้งประเทศ
6
แม้จะลงทุนมากขนาดนี้ แต่ในอีกมุม สปอนเซอร์ก็เข้ามาหาผู้จัดตลอดเวลา จนกลายเป็นโอลิมปิกที่ได้เงินสนับสนุนจากโฆษณามากที่สุดในประวัติศาสตร์ คือในโลกปัจจุบันเป็นยุคออนไลน์ แปลว่าแค่คุณลงโฆษณาหนึ่งครั้ง คนก็เห็นทั่วโลก และพร้อมจะสั่งสินค้าออนไลน์ได้ทันที บรรดาแบรนด์ต่างๆ มองว่ายังไงก็คุ้ม
1
โฆษณารายย่อยร่วมเป็นสปอนเซอร์แล้ว 348,000 ล้านเยน (100,691 ล้านบาท) นี่ยังไม่นับแบรนด์ใหญ่ๆ ที่ผูกโฆษณากับไอโอซีเอาไว้ เช่นโตโยต้า ,บริดจ์สโตน,วีซ่า, อาลีบาบา,โคคา-โคล่า และพานาโซนิค ที่ต้องมาจ่ายให้ญี่ปุ่นเมื่อโอลิมปิกเริ่ม
2
ญี่ปุ่นยังมีแผนการทำรายได้อีกเยอะ เช่นค่าลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสด, เงินที่จะสะพัดจากการท่องเที่ยว ,เงินค่าบัตรเข้าชมการแข่งขัน รวมถึงแบรนด์เล็กๆ ยังมีอีกมากมายที่ต่อคิวขอร่วมเป็นสปอนเซอร์ในโอลิมปิกครั้งนี้
1
การคำนวณของญี่ปุ่น แม้จะลงทุนไป 1.35 ล้านล้านเยน แต่พวกเขามองว่ายังคุ้มอยู่ ยังสามารถทำกำไรได้จากโอลิมปิกได้แน่นอน ยังไม่มีเหลี่ยมขาดทุน
1
ช่วงปลายปี 2019 อีกไม่ถึง 1 ปี โอลิมปิกจะเริ่มขึ้น ค่าโรงแรมในโตเกียวพุ่งสูงขึ้นมหาศาล และที่สำคัญคือมัน Sold Out แม้ว่าจะแพงแค่ไหนก็เถอะ
3
ในโอลิมปิกปี 2016 ผู้คนไม่กล้าไปเยือนริโอ เด จาเนโร เพราะบราซิลขึ้นชื่อเรื่องความอันตราย เดินๆอยู่คุณอาจโดนจี้โดนปล้นก็ได้ แต่กับโตเกียวไม่ใช่อย่างนั้น ทุกคนรู้ว่า ญี่ปุ่นปลอดภัยมากๆ ดังนั้นการมาดูโอลิมปิก คุณจะสามารถเอ็นจอยกับช่วงเวลาเหล่านี้ได้อย่างมีความสุขแน่ๆ
1
นั่นทำให้โรงแรม ตั๋วเครื่องบิน บริการเช่ารถ ทุกอย่างโดนจองไว้หมด ราคาแพงแค่ไหน ก็ขายไม่พอ ขณะที่ตั๋วดูกีฬา จำนวน 7.8 ล้านใบ ขายไปได้แล้ว 4.5 ล้านใบ นี่เฉพาะขายในญี่ปุ่นอย่างเดียว ยังไม่เปิดให้คนต่างชาติซื้อ ดังนั้นไม่ต้องห่วงเลย บัตรดูกีฬา Sold Out หมดทุกประเภทแน่ๆ
2
กระทรวงการท่องเที่ยวญี่ปุ่น คำนวณว่า จะมีชาวต่างชาติหลั่งไหลมาโตเกียวจำนวน 6 แสนคน ในช่วงโอลิมปิก ไม่ต้องนึกเลยว่าเงินจะสะพัดแค่ไหน
2
ยิ่งเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2019 เห็นถึงการชะลอการเติบโตอย่างชัดเจน โอลิมปิก 2020 จึงช่วยไม่ได้ที่จะเป็นเหมือนเป็นแสงแห่งความหวังของคนในประเทศ
3
เมื่อโควิด-19 แพร่ระบาด เกมกีฬาต้องพักไประยะหนึ่ง แต่หลังจากคอนโทรลได้ และเข้าใจโรค เกมกีฬาก็กลับมาแข่งขันตามเดิม เพียงแต่ต้องมีข้อกำหนดเรื่อง Social Distancing ที่เข้มข้นแค่นั้นเอง
4
พรีเมียร์ลีก ลาลีกา เอ็นบีเอ เอ็นเอฟแอล ทุกอย่างกลับมาแข่งหมด อย่างไรก็ตามในเคสของโอลิมปิกมันต่างกันออกไป เพราะโอลิมปิกมันคืออีเวนต์ที่มากกว่าการแข่งกีฬา มันคือการรวมตัวของคนจากทุกทวีปเข้าไว้ด้วยกัน
1
แต่ในเมื่อโลกของเรายังไม่มีบริการ การบินเต็มรูปแบบ แปลว่านักกีฬาก็เดินทางยาก แฟนๆก็มาไม่ได้ แล้วมันจะจัดแข่งกันยังไง คือเคสนี้มันต่างจาก ระบบกีฬาลีกในประเทศ ที่เดินทางกันในประเทศ มันก็ง่ายกว่า
1
กำหนดการของโอลิมปิกเดิม คือเริ่มแข่ง 24 กรกฎาคม 2020 และสิ้นสุด 9 สิงหาคม 2020 รวมเวลาทั้งสิ้น 17 วัน แต่เมื่อโลกอยู่ในสภาวะแบบนี้ เป็นไปไม่ได้ที่การแข่งขันจะเริ่มขึ้น
ญี่ปุ่นมีทางเลือก 2 ทางคือ ยกเลิกการแข่งไปเลย กับเลื่อนไปก่อน ซึ่งพวกเขาเลือกอ็อปชั่นหลัง คือเลื่อน 1 ปี ไปจัดในวันที่ 23 กรกฎาคม 2021 ถึง 8 สิงหาคม 2021 แทน โปรแกรมทุกอย่าง สนามแข่งขัน ยังเหมือนเดิมหมด แค่ขยับไป 1 ปี
3
คราวนี้พวกเขาก็ต้องมาลุ้นกันว่า กลางปีนี้ วัคซีน จะสามารถทำให้การแข่งขันกีฬา และการเดินทางกลับมาเป็นปกติได้หรือไม่
เมื่อถึงเดือนกรกฎาคมในปี 2021 อ็อปชั่นทางเลือกของญี่ปุ่นจะไม่สามารถ "เลื่อน" ได้อีกแล้ว เพราะมันจะไปชนกับโอลิมปิก ฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง ซึ่งทางไอโอซีต้องการให้ในหนึ่งปี มีโอลิมปิกแค่ 1 รายการด้วย และถ้ามันคร่อมไปขนาดนั้น ช่องว่างมันจะห่างกับโอลิมปิก 2024 ที่ฝรั่งเศสแค่ 2 ปีเท่านั้น คือมันเป็นช่องว่างที่แคบเกินไป
4
ดังนั้นญี่ปุ่นก็จะเหลือ 2 ทางเท่านั้น คือจัดแข่ง ไม่ว่าจะสถานการณ์จะเป็นอย่างไร กับ ยกเลิกการแข่ง
3
หนทางแรกคือการจัดแข่ง คือแม้พวกเขาอยากทำ แต่ถ้าตอนนั้นไวรัสยังระบาดอยู่ ก็อาจทำไม่ได้ เพราะถ้าเครื่องบินไม่มาถึง นักกีฬาจะเดินทางมาอย่างไรล่ะ ต่อให้วางแผน Social Distancing เสียดิบดี แต่ถ้านักกีฬาไม่มาเสียอย่าง มันจะมีการแข่งได้ไง
1
ดังนั้นญี่ปุ่นจึงต้องการปาฏิหาริย์ ให้วัคซีนช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้น แล้วก็หวังว่าน่านฟ้าระหว่างประเทศจะเปิดโดยสมบูรณ์ ซึ่งไม่มีอะไรยืนยันได้เลยว่า โชคดีแบบนั้นจะเกิดขึ้น
4
ถ้าเป็นแบบนั้นการแข่งขันก็จะเกิดขึ้น แม้จะไม่คึกคักอย่างที่คาดฝัน แต่อย่างน้อยก็จัดได้ แบบนี้ ญี่ปุ่นก็จะได้ไม่ต้องจ่ายเงินคืนสปอนเซอร์ หรือเงินจากการถ่ายทอดสด เพราะการแข่งขันก็มีขึ้นจริง และในสัญญาที่ผู้จัดการแข่งเซ็นกับสินค้าไว้ ก็ไม่ได้มีระบุเรื่องจำนวนคนดูที่เข้าชม
5
อย่างไรก็ตาม ถ้าท้ายที่สุดแล้วมัน "จัดไม่ได้" ตัวเลือกของญี่ปุ่นก็จะเหลือแค่ต้องยกเลิกการแข่งเท่านั้น
2
รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว ว่าถ้าหากการจัดไม่เกิดขึ้นจริงๆ ญี่ปุ่นจะมีความเสียหายเป็นเงินรวม 1.6 ล้านล้านเยน (4.6 แสนล้านบาท)
7
สปอนเซอร์ที่ได้เงินมา ก็ต้องคืนเขาไป เพราะการแข่งไม่มีแล้วนี่ คุณจะไปเอาเงินเขามาได้ไง เช่นเดียวกับบัตรเข้าชม ก็ต้องจ่ายคืนคนซื้อตั๋ว ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด เมื่อถ่ายไม่ได้แล้ว ก็ต้องคืนเงินสถานีโทรทัศน์ทั้งโลก
3
ส่วนหมู่บ้านนักกีฬาที่ทำอย่างสุดเนี้ยบ ใช้ท่อนไม้กว่า 4 หมื่นชิ้น ด้วยสไตล์มินิมอลแบบสวยกริ๊บก็ถือว่าน่าเสียดายมากที่สุดท้ายจะไม่ได้ใช้ เช่นเดียวกับสนามแข่งขันที่รีโนเวทใหม่ บางแห่งก็สร้างขึ้นใหม่ ก็จะไม่ถูกใช้เช่นเดียวกัน
3
รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่อุตส่าห์สร้างมาใหม่ อย่างพิพิธภัณฑ์โอลิมปิกญี่ปุ่น ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามสนามกีฬาคุนิตาจิ ใครจะมาดู
2
พวกเงินก้อนจากสปอนเซอร์ หรือบัตรเข้าชมที่ได้มาแล้ว จะไม่คืนก็ไม่ได้อีก เพราะมันจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่น ในอนาคตถ้าโควิดหายเมื่อไหร่ คนย่อมจำสิ่งที่เคยโดนกระทำ และญี่ปุ่นอาจเสียหายหนักกว่าตัวเลข 1.6 ล้านล้านเยนเสียอีก
2
สำหรับภาพรวมของเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ยังถือว่าแข็งแกร่งมาก พวกเขามี GDP สูงถึง 510 ล้านล้านเยน ความเสียหายจากโอลิมปิกนั้นอยู่ที่ 1.6 ล้านล้านเยน คิดเป็นแค่ 0.3% ของ GDP แต่ว่ากันตรงๆ การสูญเสียเงินขนาดนี้ ก็ไม่ควรเกิดขึ้นเลยจริงๆ
2
ไม่ใช่แค่มุมของรัฐบาลเท่านั้นที่กระอักเลือด แต่พวกกลุ่มธุรกิจรายย่อยก็เจ็บไม่ต่างกัน เพราะตั้งแต่ญี่ปุ่นประกาศว่าจะจัดโอลิมปิก ประชาชนก็วางแผนมากมาย เพื่อทำรายได้กับการเกิดขึ้นของโอลิมปิก เช่นมีคนเปิดร้านอาหารหน้าสนามแข่งขัน ลงทุนไว้เยอะ กะว่าพอดังเปรี้ยงช่วงโอลิมปิก ก็จะต่อยอด ขายต่อไปได้ยาวๆ สุดท้ายมาเป็นแบบนี้ ก็กลายเป็นลงทุนฟรีเฉยเลย และแน่นอน รวมถึงพวกโรงแรม หรือการบินที่ยังไงก็เจ็บหนักอยู่แล้ว
2
ดังนั้นตอนนี้เหลือแค่ปาฏิหาริย์วัคซีนเท่านั้น ที่จะได้ผลอย่างรวดเร็ว จนช่วยให้การแข่งเกิดขึ้นได้ คือดูตามข่าวแล้ว วัคซีนก็เริ่มใช้แล้วจริง แต่คำถามคือ มันจะกระจายได้มากพอ จนทุกอย่างกลับมาเป็นปกติเลยหรือไม่ ในช่วงกลางปีนี้
1
สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ากันตรงๆ ในวิกฤติโควิดครั้งนี้ ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในประเทศที่โชคร้ายที่สุดแล้ว ตัวเลข 2020 ใครๆก็คิดว่าเป็นเลขสวย เป็นปีทอง ที่น่าจะทำเงินได้มหาศาลจากการจัดอีเวนต์ กลายมาเป็นเจ็บหนัก แบบที่ไม่เคยมีใครโดนมาก่อน
ความแน่นอนคือความไม่แน่นอนจริงๆ ลองคิดดูขนาดเรารายได้หายเพราะโควิดเป็นหลักร้อย หลักพัน หรือหลักหมื่น เรายังเจ็บใจ แล้วนี่ญี่ปุ่นต้องมาเสียเงิน 4.6 แสนล้านบาท แบบที่ตัวเองก็ทำอะไรไม่ได้เลยสักอย่าง มันคงเป็นความแค้นที่ยากจะอธิบายจริงๆ
#JAPAN #COVID
โฆษณา