14 ม.ค. 2021 เวลา 05:00 • ความงาม
#เสริมหน้าอก ให้อกอึ๋ม09
การระงับความเจ็บปวดขณะผ่าตัดศัลยกรรมเสริมหน้าอก
.
สวัสดีครับ วันนี้ #คุยกับหมอโภคิน จะมาเล่าให้ฟังถึง
เรื่องราวของการแก้ไขน้องนมที่คุณแม่ให้มาน้อยด้วยการศัลยกรรม
เรื่องราวเป็นอย่างไร วันนี้เรามาฟังกันครับ
.
ในการผ่าตัดทุกชนิดในปัจจุบัน ย่อมต้องมีการระงับความเจ็บปวดระหว่างผ่าตัดเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งการระงับความเจ็บปวดนี้ จะทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดมีความสุขสบายระหว่างผ่าตัดและทำให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้ตามขั้นตอนอย่างครบถ้วนโดยไม่ถูกรบกวนจากภาวะความเจ็บปวดของผู้เข้ารับการผ่าตัด
.
โดยปกติการผ่าตัดศัลยกรรมเสริมหน้าอกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก คือ ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ยกเว้นในรายที่ต้องการควบคุมความเจ็บปวดหลังผ่าตัดอย่างใกล้ชิด
.
การควบคุมความเจ็บปวดระหว่างผ่าตัดเสริมหน้าอกนั้น โดยทั่วไปแล้วมีหลักๆ3แบบคือ
.
1.การดมยาสลบ
เป็นเทคนิกการควบคุมความเจ็บปวดที่ดีที่สุดในการผ่าตัด ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะถูกทำให้หลับด้วยยาฉีดสลบ หลังจากนั้นจะมีการปล่อยก๊าซยาสลบเข้าทางเดินหายใจของผู้ป่วย และมีการฉีดยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้ปวดขณะผ่าตัด โดยในระหว่างผ่าตัด คนไข้จะได้รับปริมาณยาดมสลบ ออกซิเจน อย่างพอดีโดยผ่าเเครื่องช่วยหายใจ ทำให้คนไข้หลับสนิท ไม่ตื่นกลางคันระหว่างผ่าตัด และทำให้ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้อย่างแม่นยำเนื่องจากไม่โดนรบกวนด้วยความเจ็บปวดของผู้ป่วยและกล้ามเนื้อของผู้ป่วยคลายเต็มที่ขณะผ่าตัด
2.การฉีดยาสลบแบบTIVA(total intravenous anesthesia)
โดยปกติการฉีดยาสลบเพื่อทำการผ่าตัดแบบTIVAนี้จะใช้ในกรณีที่การผ่าตัดเป็นการผ่าตัดระยะสั้น และไม่มีการทำหัตถการที่สร้างความเจ็บปวดอย่างรุนแรง เพราะ ตัวยาTIVAไม่ช่วยระงับความเจ็บปวด ทำได้แค่เพียงทำให้คนไข้หลับเท่านั้น ดังนั้นการผ่าตัดที่ใช้ระยาเวลานานๆ เช่น การผ่าตัดยกกระชับหน้าอก หรือ การผ่าตัดแบบไฮบริด จึงอาจจะมีความเสี่ยงที่คนไข้จะตื่นระหว่างรับการผ่าตัดได้ นอกจากนี้ เนื่องจากขณะผ่าตัดคนไข้จะไม่ได้รับการปกป้องช่องทางเดินหายใจซึ่งอาจจะตามมาด้วยอันตรายอันเกิดจากการอุดตันทางเดินหายใจขณะทำการผ่าตัดได้
3.การผ่าตัดแบบใช้ยาชา (local anethesia)
ในปัจจุบันการผ่าตัดแบบใช้ยาชาเพื่อทำศัลยกรรมเสริมหน้าอก เริ่มได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆด้วยเทคนิกTumescent ซึ่งเป็นการผสมยาชาแบบเจือจางกับน้ำเกลือ ฉีดในปริมาณมากเข้าไปในบริเวณที่ผ่าตัด เพื่อระงับความรู้สึกขณะผ่าตัด คนไข้จะรู้ตัวปกติขณะผ่าตัด ข้อดีคือ โอกาสที่จะมีปัญหาด้านการหายใจขณะทำการผ่าตัดนั้นมีได้น้อย เพราะ คนไข้รู้ตัวมีสติสัมปัชัญญะขณะผาตัด แต่ข้อเสียคือ ระยะเวลาในการชาค่อนข้างสั้น และตัวยาชาเองมีฤทธิ์เป็นพิษต่อหัวใจ โดยระยะเวลาเป็นพิษอาจจะยาวได้ถึง 24ชั่วโมงหลังการผ่าตัด จะจำเป็นต้องบริหารการใช้ยาชาอย่างพอดีเพื่อให้เกิด ความปลอดภัยขณะผ่าตัด
.
สำหรับการเลือกการระงับความเจ็บปวดแบบไหนนั้นขึ้นกับความซับซ้อนของการผ่าตัดและระยะเวลาของการผ่าตัด นอกจากนี้ยังขึ้นกับความถนัดของวิสัญญีแพทย์ที่ดูแลอีกด้วย
.
ถ้าชอบความรู้ที่หมอเล่าให้ฟังรบกวนกดติดตามหมอด้วยนะครับ
ด้วยรัก
#หมอโภคิน
นพ.โภคิน เพ็ชร์หอม
ศัลยแพทย์ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
ศัลยแพทย์ คลินิกเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ ด้วยรัก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา