12 ม.ค. 2021 เวลา 17:29 • ไลฟ์สไตล์
อันตรายถึงชีวิต "ภาวะเย็นเกิน" หรือ "ไฮโปเธอร์เมีย" (Hypothermia)
อากาศหนาวเย็นเป็นเรื่องกรี้ดกร้าดของคนภาคกลาง แต่สำหรับคนที่ต้องทนหนาวอยู่บนเทือกเขา หรือบนดอยคงไม่ใช่เรื่องสนุกนัก
ไปเที่ยวสัมผัสอากาศหนาวบ้างเป็นครั้งคราวก็คงไม่เป็นไร แต่สำหรับชาวบ้านที่ไม่มีปัจจัย 4 พร้อมนักโดยเฉพาะเครื่องนุ่งห่ม ก็ต้องทนทุกข์ไปกับความหนาวพร้อมๆกับความสุขของนักท่องเที่ยวอย่างเราๆ
เคยทนนอนหนาวในเต้นท์บนดอยเสมอดาวจนนอนไม่หลับทั้งคืนเพราะลมแรงมาก ซึ้งเลยว่าหนาวเข้ากระดูกเป็นอย่างไร อีกครั้งคือที่ไหนไม่รู้ในบ้านพักของอุทยาน ถ้าไม่ใช่ช่องเย็นก็ที่น้ำหนาว คือเครื่องทำน้ำอุ่นที่เราฝากชีวิตไว้ยามหน้าหนาว ไม่ทำหน้าที่ของมัน คือมันเสีย..นั่นเอง
เพื่อนๆคงมีประสบการณ์กับเครื่องทำน้ำอุ่นแบบใช้แก้สกันนะครับ ถ้าเที่ยวไทยและพักในอุทยานแห่งชาติ เราจะได้เจอกับมันแน่ๆ จริงๆมันไม่เสียหรอกครับ คนที่เปิดเป็นคือเจ้าหน้าที่อุทยานเท่านั้น เวลาปรับความร้อน เหมือนตอนหมุนรหัสปลดเซฟยังไงยังงั้น เวลาเห็นเค้าเขียนเมจิกไว้ว่าห้ามปรับ ก็อย่าทะลึ่งไปหมุนเล่นนะครับ
การที่อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงมากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะเย็นเกิน หรือ ไฮโปเธอร์เมีย เหมือนกับที่เราเห็นในหนังผจญภัยบ่อยๆ เช่น ตกเรือท่ามกลางพายุฝนในทะเลท่ามกลางฤดูหนาว หรือ ตกลงไปในทะเลสาปที่เป็นน้ำแข็ง
พระเอก นางเอกต้องทำให้ตัวอุ่นโดยเร็วที่สุด โดยผ่านการแลกเปลี่ยนความร้อนทางธรรมชาติ และลงเอยกันที่กระท่อมปลายนานั่นเอง ไปไงมาไงถึงมาจุดนี้ได้ 555
หากร่างกายมีอุณหภูมิลดต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส เช่น ถูกอากาศหนาว หรือแช่น้ำเย็น จะทำให้หัวใจและสมองทำงานผิดปกติ ระยะแรกจะมีอาการสั่น พูดอ้อแอ้ เดินเซ งุ่มง่าม อ่อนเพลีย ง่วงซึม
ความสามารถในการคิดและตัดสินใจลดลง โดยมากผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่ากำลังได้รับอันตรายจากการตกอยู่ในสภาวะตัวเย็นเกิน เมื่ออุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงอีก ผู้ป่วยจะหยุดสั่น มีอาการเพ้อคลั่งไม่รู้ตัว หมดสติและหยุดหายใจในที่สุด
การป้องกันอันตรายจากความหนาวเย็น
1. หากตัวเปียกต้องทำให้ตัวแห้ง
2. เพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายด้วยเสื้อผ้า ผิงไฟ หรือห่มผ้าหนาๆ
3. หลีกเลี่ยงสัมผัสอากาศหรือลมเย็นนอกบ้าน ควรมีหมวกไหมพรมหรือถุงมิอ ถุงเท้า เพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย
ก็ขอให้ชาวกรุงเทพ มีความสุขกับฤดูหนาวปีนี้กันทุกคนครับ ขอตัวไปฝึกคัมภีร์ดรุณีแพพ..
สวัสดีครับ
โฆษณา