13 ม.ค. 2021 เวลา 05:35 • สุขภาพ
ผลออกแล้ว !! ประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac มีทั้ง 100% 78% และ 50.4% ซึ่งมีรายละเอียดที่ชัดเจนแล้ว
จากข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac ที่ทำการทดลองกับอาสาสมัครในบราซิลนั้น
วันนี้ ได้มีการแจ้งรายละเอียดการทดลองวิจัยอย่างเป็นทางการแล้ว แต่อาจต้องทำความเข้าใจในรายละเอียดการศึกษาทดลองที่บราซิล ในประเด็นดังนี้
1) วิธีการฉีด ว่าฉีด 2 เข็ม ห่างกันกี่วัน
2) อาสาสมัครเป็นประชากรกลุ่มใด มีโอกาสติดเชื้อ หรือติดโรคมากน้อยเพียงใด
3) การแจ้งตัวเลขประสิทธิภาพการป้องกัน เป็นการป้องกันแบบใด ในระหว่าง
 
3.1) ป้องกันการติดเชื้อ
3.2) ป้องกันการเป็นโรค คืออาจติดเชื้อได้ แต่ไม่มีอาการ
3.3) ป้องกันอาการรุนแรงจนอาจเสียชีวิต คือ ติดเชื้อและเป็นโรคได้ แต่จะไม่ป่วยรุนแรงและไม่เสียชีวิต
รายละเอียดสำคัญดังกล่าว และตัวเลขการวิจัยเพิ่มเติมที่ครบถ้วน จะทำให้เราเข้าใจบริบททั้งหมดเรื่องประสิทธิภาพวัคซีนตัวนี้
และต้องทราบให้ครบในวัคซีนตัวอื่นๆ ที่จะนำมาใช้เปรียบเทียบ ทั้ง วัคซีนของ Pfizer Moderna และ AstraZeneca ด้วย
เฉพาะรายละเอียดวัคซีนของ Sinovac พบว่า
1
A. ตัวเลขประสิทธิภาพการป้องกัน
1) ป้องกันการเป็นโรคที่รุนแรง ได้ผล 100% หมายความว่า วัคซีนป้องกันไม่ให้เกิดอาการของโควิดที่ระดับรุนแรง(Severe)ได้ 100% ครบถ้วน
2) ป้องกันการเป็นโรค ได้ผล 78%( จริงๆคือ 77.96%) คือ ป้องกันการป่วยที่มีอาการ ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อชนิดที่ไม่ป่วยหรือไม่มีอาการ
1
เป็นประสิทธิภาพในการป้องกันอาสาสมัครทั้งกลุ่มที่มีอาการเพียงเล็กน้อย (Mild) รวมปานกลางและรุนแรงด้วย เป็นการป้องกันการต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีประโยชน์คือ
ลดภาระของบุคลากรและระบบสาธารณสุข
5
3) ป้องกันการติดเชื้อ ได้ผล 50.4% คือการป้องกันการติดเชื้อทุกรูปแบบ รวมทั้งที่มีอาการน้อยมากด้วย (Very mild)
3
B. กลุ่มอาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลอง
3
การวิจัยนี้มีลักษณะเฉพาะคือ การทดลองใช้
อาสาสมัครลักษณะเฉพาะ เป็นกลุ่มเสี่ยงมาก คือ บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด จำนวน 13,000 คน
2
แตกต่างจากการทดลองของบริษัทไฟเซอร์
และโมเดิร์นนา ที่ทดลองในกลุ่มประชากรทั่วไป อาสาสมัครจึงมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสไวรัสน้อยกว่าของบริษัท Sinovac
2
ซึ่งจะส่งผลกระทบกับตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนได้ คือในกรณีกลุ่มเสี่ยงมากหรือบุคลากรทางการแพทย์ จะต้องสัมผัสผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา และผู้ป่วยก็จะมีปริมาณไวรัสในตัวเองสูงด้วย
โอกาสที่จะทำให้บุคลากรติดเชื้อ ก็จะมีสูงกว่าอาสาสมัครที่เป็นประชาชนทั่วไป ที่จะไปสัมผัสผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เพราะปริมาณไวรัสน้อยกว่า
2
C. ตารางการฉีดที่แตกต่างกัน
วัคซีน Sinovac นั้นใช้ตารางฉีดห่างกันสองสัปดาห์(14วัน) แล้วติดตามผลว่า ป้องกันได้กี่คน
1
ในขณะที่ของไฟเซอร์และโมเดิร์นนา ฉีดห่างกัน 21 วันและ 28 วัน ตามลำดับ
2
จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับภูมิต้านทานของวัคซีนในการทดลองของสองบริษัทสหรัฐฯขึ้นสูงกว่า (จากการฉีดเข็มสอง ห่างจากเข็มหนึ่งเป็นระยะเวลานานกว่า) จึงป้องกันได้มากกว่า
2
ส่วนการรายงานเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีน พบว่าเกิดขึ้นน้อยมาก และส่วนใหญ่เป็นเพียงปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว และอาการก็ไม่รุนแรง ส่วนผลข้างเคียงชนิดรุนแรงก็ไม่พบเลย
1
การทดลองฉีดในอาสาสมัครของวัคซีน Sinovac เท่าที่รายงานมาแล้วในสามประเทศได้แก่
1
บราซิล ประสิทธิภาพ 78%
ตุรกี ประสิทธิภาพ 91.25 %
อินโดนีเซีย ประสิทธิภาพ 65 %
4
แม้จะกำหนดให้ฉีดวัคซีนตัวเดียวกัน ขนาดเท่ากัน และระยะห่าง 2 สัปดาห์เหมือนกัน
แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการทดลอง ซึ่งเป็นไปตามลักษณะสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงแตกต่างกันของทั้งสามประเทศดังกล่าว
จึงทำให้มีตัวเลขประสิทธิภาพของการป้องกันโรค ในการศึกษาทดลองของประเทศต่างๆ แตกต่างกัน
1
ความสำคัญของวัคซีนโควิด-19 คือ การป้องกันการเสียชีวิตจากอาการป่วยที่รุนแรง
วัคซีน Sinovac ที่วิจัยทดลองที่บราซิล พบมีอาการติดโควิดอย่างรุนแรงเจ็ดราย ซึ่งผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่มีผู้ที่มีอาการรุนแรงเลย
ส่วนที่ตุรกีก็ทำนองเดียวกัน มีผู้ป่วยรุนแรงหกราย ทั้งหมดเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนทั้งสิ้น
1
กล่าวคือผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac ไม่มีผู้ใดติดโควิดแล้วป่วยรุนแรงเลยแม้แต่รายเดียว คิดเป็น 100% ที่ป้องกันความรุนแรงได้
1
ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ ตารางกำหนดการฉีด ในการทดลองที่บราซิลครั้งนี้ ได้มีการแบ่งกลุ่มอาสาสมัครออกมา 1394 คน จากอาสาสมัคร 13,000 คน ซึ่งเป็นส่วนน้อย มาฉีดแบบกำหนดเป็น ห่างกันสามสัปดาห์หรือ 21 วัน
2
พบว่าประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของการฉีดวัคซีนแบบนี้ สูงกว่าฉีดห่างกัน 14 วัน ถึง 20%
2
ซึ่งทางบริษัทและสถาบันวิจัยที่บราซิล ได้ทำการคาดคะเนว่า ถ้าวัคซีนของบริษัทฉีด 21 วันหรือ 28 วัน น่าจะมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นมากกว่า
50.4 %
4
และมีการยกข้อมูล มาเปรียบเทียบกับการทดลองวัคซีนโรคเอดส์ว่า เมื่อทดลองในประเทศที่มีประชากรเสี่ยงสูงเป็นจำนวนมาก วัคซีนก็จะป้องกันโดยมีประสิทธิภาพได้น้อยลง
2
เมื่อไปทดลองในประเทศที่ประชากรเสี่ยงต่ำ ก็จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้สูงขึ้น
โดยทางบริษัท Sinovac ได้ยกตัวเลขของบริษัทไฟเซอร์และ โมเดิร์นนา ที่มีกลุ่มยาหลอกหรือไม่ได้ฉีดวัคซีน ติดเชื้อ 7.29% และ 3.34% ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยการติดเชื้อของประชาชนสหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน
เป็นตัวเลขที่น่าสนใจว่า กลุ่มประชากรที่ทดลองวัคซีนของสองบริษัทดังกล่าว เป็นกลุ่มประชากรที่ติดเชื้อค่อนข้างน้อยอยู่แล้ว
ในขณะที่กลุ่มประชากรที่ฉีดวัคซีนของบริษัท Sinovac ในบราซิล เป็นกลุ่มที่มีอัตราการติดเชื้อเฉลี่ยสูงกว่าสามและหกเท่าตามลำดับ
1
โดยสรุป
2
1) วัคซีนของบริษัท Sinovac ประเทศจีน ใช้เทคโนโลยีเชื้อตาย(Inactivated) ซึ่งเคยผลิตวัคซีนให้กับมนุษย์เรามาหลายชนิดหลายสิบปีแล้ว เช่น วัคซีนโปลิโอ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า และวัคซีนป้องกันตับอักเสบเอ เป็นต้น จึงมีความปลอดภัยในระดับสูงจากเรื่องเทคโนโลยี
2) วัคซีน Sinovac เก็บที่อุณหภูมิตู้เย็นธรรมดาคือ 2-8 องศาเซลเซียส ทำให้สะดวกในการขนส่งและกระจายวัคซีนออกไปฉีดทั่วประเทศ
3) เรื่องประสิทธิภาพที่มีตัวเลขแตกต่างกัน
ก็เป็นการแถลงตัวเลขที่ลงรายละเอียดว่า
3.1) ถ้าป้องกันอาการรุนแรงได้ 100%
3.2) ป้องกันอาการเล็กน้อยได้ 78%
3.3) ป้องกันการติดเชื้อได้ 50%
2
ซึ่งทางบริษัทพยายามอธิบายถึงสาเหตุ ที่ตัวเลขค่อนข้างน้อยว่า มาจากตารางการฉีดที่กำหนดไว้ 14 วันอาจจะสั้นเกินไป เมื่อฉีดเป็น 21 วัน ประสิทธิภาพจะสูงเพิ่มขึ้นอีก 20%
และทางบริษัทยังพยายามยกตัวเลขเทียบเคียงว่าการทดลองในกลุ่มประชากรเสี่ยงสูง คือบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อสูงกว่าประชาชนทั่วไป สามถึงหกเท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มอาสาสมัครของบริษัทในสหรัฐฯ อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันวัคซีนมีตัวเลขที่แตกต่างกัน
1
ผู้เขียนคิดว่า ทางบริษัท Sinovac ควรจะเร่งทำการทดลองฉีดวัคซีน
ในอาสาสมัครที่เป็นกลุ่มประชากรทั่วไป ไม่ใช่ฉีดเฉพาะในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ อาจได้ตัวเลขประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
2
และฉีดด้วยตารางกำหนด 21 วันหรือ 28 วัน ให้เหมือนกับบริษัทไฟเซอร์และโมเดิร์นนา
1
แล้วนำตัวเลข สถิติข้อมูลการศึกษาวิจัย มาแถลงอีกครั้ง ก็จะทำความชัดเจนได้มากยิ่งขึ้น และจึงจะนำมาเปรียบเทียบระหว่างบริษัทต่างๆได้ครับ
แต่เฉพาะข้อมูลวัคซีนของ Sinovac สามารถอธิบายและเข้าใจได้
ส่วนผู้ใดจะคิดเห็นเป็นประการใด จะฉีดวัคซีนตัวใด ก็แล้วแต่การพิจารณาของแต่ละคน ที่ย่อมจะแตกต่างกันได้ครับ
3
Reference
โฆษณา