13 ม.ค. 2021 เวลา 06:19 • สุขภาพ
COVID-19 ในบ้านเรานั้น กลับมารุนแรงอีกรอบ ตัวเลขผู้เสียชีวิตก็ขยับขึ้นทันที ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ตัวเลขที่มากจนน่าตกใจหากเทียบกับประเทศอื่น แต่การป้องกันไม่ให้ตนเองไปถึงจุดเสี่ยงตายแบบนั้นน่าจะดีกว่า โดยเฉพาะกับผู้ป่วยรายที่มีโรคประจำตัว เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่าอาการแทรกซ้อนจะกำเริบขึ้นมาคร่าชีวิตคุณได้เมื่อไร
1
happy hypoxia
อย่างที่เรารู้กันว่า “ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ” ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หมายถึง ผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อมีปัจจัยมากระตุ้น คนกลุ่มนี้เสี่ยงจะล้มป่วยได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป หากล้มป่วยก็เสี่ยงที่จะอาการกำเริบ มีอาการแทรกซ้อน หรืออาการทรุดได้ง่ายกว่าคนที่แข็งแรงดี ดังนั้น ทุกอาการที่เกิดขึ้นล้วนหมายถึงชีวิตค่ะ
อย่างอาการ Happy Hypoxia ชื่ออาจฟังดูแฮปปี้ (Happy) แต่อาการที่เป็นนั้นหาได้ Happy ไม่ เรามาทำความรู้จักกับอาการนี้กันค่ะ
https://pin.it/537OLea
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
💥💥 Happy Hypoxia ชื่อ Happy แต่อาการและผลลัพธ์ไม่ Happy 💥💥
ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  และมักจะเกิดอาการขึ้นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่รู้สึกตัว จนหมดสติไปในที่สุดค่ะ
“Happy Hypoxia ” หรือ “Silent Hypoxia” อาจเกิดจากการที่ โควิด 19 ไปส่งผลต่อสมองหรือระบบประสาททำให้การทำงานของสมองที่ควรจะตอบสนองต่อภาวะขาดออกซิเจนทำงานได้น้อยลง หรืออีกนัยหนึ่งหมายความว่าสมองจะไม่ตอบสนองจนกว่าออกซิเจนจะลดลงสู่ระดับต่ำมาก และเมื่อถึงเวลานั้นผู้ป่วยมักจะหายใจไม่ออกค่ะ
https://m.clicks.id/read/B34dz6-happy-hypoxia-fenomena-baru-covid-19-ini-ciri-cirinya
และเมื่อเร็วๆ นี้ ข้อมูลจากด็อกเตอร์ Sumardi ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคปอด ระบุว่า happy hypoxia  เป็นอาการใหม่ของผู้ที่ติดเชื้อโควิด -19 ซึ่งเคสนี้เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย โดยกลุ่มที่มีอาการดังกล่าว จะมีระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำ แต่ยังดูเหมือนปกติ แทบไม่มีอาการเหนื่อยเลย และจะทราบก็ต่อเมื่อวัดค่าออกซิเจนค่ะ
นอกจากนี้เขายังอธิบายว่าภาวะขาดออกซิเจนเกิดขึ้นเนื่องจากการอักเสบของหลอดเลือดโดยเฉพาะในปอด ซึ่งเกิดจากระดับออกซิเจนในร่างกายลดลง และหากไม่ได้ทำการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่มีภาวะ happy hypoxia ในทันที ไม่เพียงจะทำให้ปอดแข็งตัว แต่ยังทำให้เกิดการแข็งตัวในอวัยวะอื่น ๆ เช่นไตและสมอง จนถึงขึ้นทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ
2
ดังนั้นผู้ป่วยโควิด 19 ที่ไม่แสดงอาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่แยกตัวเป็นอิสระกักตัวอยู่บ้านจำเป็นต้องตรวจสอบสภาพร่างกายเสมอ เช่น หากร่างกายอ่อนแออย่างกะทันหันแม้ว่าจะไม่ได้ทำกิจกรรมที่ทำให้พลังงานลดลงก็ตาม ต้องรีบรายงานอาการนี้กับโรงพยาบาล เนื่องจากความเหนื่อยล้านี้เกิดจากออกซิเจนในอวัยวะลดลง และรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
💥💥 อาการผู้ติดเชื้อโควิด 19 เหนื่อยหอบ และเสียชีวิตฉับพลัน 💥💥
https://pin.it/DHL58R4
ปอด เป็นอวัยวะในระบบทางเดินหายใจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 และส่งผลให้ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดจึงมีค่าต่ำกว่าปกติ ร่างกายจึงมีภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) โดยปกติระดับออกซิเจนในเลือดจะอยู่ระหว่าง 95–100%
และเมื่อไรก็ตามที่ระดับของออกซิเจนมีค่าลดลง ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติทางระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ หายใจถี่ หายใจลำบากและหอบเหนื่อยง่าย ดังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบหรือปอดบวม ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นสัญญาณเบื้องต้นที่แสดงถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
แต่ขณะเดียวกันผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 บางราย กลับไม่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจใดๆ เป็นสัญญาณเตือน ดังเช่น
กรณีเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด รายที่ 64 ของประเทศไทย อายุ 47 ปี อาชีพ รับจ้าง มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดชลบุรี และมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ก็มีลักษณะเดียวกันคือ รู้สึกเหนื่อยหอบเพียงเล็กน้อย เมื่อได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ให้มานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ผู้ป่วยแจ้งว่าอาการไม่มาก ขอนอนเฝ้าดูอาการตัวเองที่ห้องพักในโรงแรมไปก่อน และได้เสียชีวิตในคืนวันเดียวกันนั่นเองค่ะ
1
นอกจากนี้ยังมีรายงานทางการแพทย์ระบุว่า วิธีที่จะสามารถตรวจหาสัญญาณเตือนนี้ได้ คือ การใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Pulse oximeter) หรือแพทย์สามารถใช้วิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ตรวจสมรรถภาพปอด การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-scan) เป็นต้นค่ะ
1
https://joss.co.id/2020/08/waspadai-happy-hypoxia-gejala-tersembunyi-yang-mematikan-dari-covid-19/
ปัจจุบัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นภาวะนี้ก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ได้ให้ข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากความบกพร่องในการไหลเวียนเลือด เนื่องจากมีลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดภายในปอด จนขัดขวางการไหลเวียนเลือดภายในปอด ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนมีประสิทธิภาพลดลงและคาร์บอนไดออกไซด์คั่งค้างอยู่ในเลือดมากยิ่งขึ้น การรักษาที่สามารถทำได้คือ การให้ออกซิเจนทดแทนเพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลายนั่นเองค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
💥💥 ภาวะพร่องออกซิเจน อาการเป็นอย่างไร 💥💥
- รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม
- วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ผิวหนังซีด หรือเขียวคล้ำ
- รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
- รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มีเหงื่อออกมาก
- การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน
- มือเท้าชา
- ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง
- เพ้อ หมดสติ ชัก
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
💥💥 เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของภาวะเลือดพร่องออกซิเจน 💥💥
สามารถแบ่งความรุนแรงของผู้ป่วยได้ 3 ระดับคือ
- Mild Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 60-80 มิลลิเมตรปรอท
- Moderate Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 40-60 มิลลิเมตรปรอท
- Severe Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท
ทั้งนี้ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี จะมีระดับออกซิเจนในเลือดแดงลดต่าลง 1 มิลลิเมตรปรอท ต่ออายุที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ปีค่ะ
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
💥💥 ภาวะพร่องออกซิเจน รักษาได้อย่างไร 💥💥
เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากากออกซิเจนหรือสายให้ออกซิเจนทางจมูก เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลายค่ะ
ทั้งนี้จะต้องให้ออกซิเจนในระดับต่ำที่สุดที่จะเพียงพอเพื่อที่จะรักษาระดับออกซิเจนในเลือด เพราะถ้าหากให้ออกซิเจนเกินความต้องการ จะเกิดภาวะพิษจากออกซิเจนได้เช่นกันค่ะ
2
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
💥💥 เมื่อสมองขาดออกซิเจน 💥💥
ปกติแล้ว ในอากาศแห้งจะประกอบด้วยไนโตรเจน 78 เปอร์เซ็นต์ ออกซิเจนอีก 21 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก 1 เปอร์เซ็นต์จะเป็นแก๊สชนิดอื่น ๆ และไอน้ำค่ะ เมื่อเรานำอากาศเข้าสู่กระบวนการหายใจ แก๊สจะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ โดยการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย เพื่อลำเลียงเลือด สารอาหารไปใช้เลี้ยงสมองและส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะถูกขับออกจากร่างกายค่ะ
เมื่อสมองขาดออกซิเจน ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาการสมองขาดออกซิเจนถือเป็นภาวะอันตรายมาก เพราะอาจสร้างความเสียหายต่อสมองจนถึงขั้นสมองตายและทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น เมื่อพบผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบ หายใจสั้นและถี่ หายใจลำบาก
1
ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเกิดจากอาการร่างกายขาดออกซิเจน ต้องทำ CPR และรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ยิ่งสมองขาดออกซิเจนนานเท่าใด ความเสี่ยงที่สมองจะถูกทำลายอย่างถาวร และโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก็มีเพิ่มมากขึ้นด้วยค่ะ
1
พูดง่าย ๆ ว่าหากสมองขาดออกซิเจนนานถึง 3 นาที โอกาสที่ผู้ป่วยจะฟื้นขึ้นมาเป็นปกติทุกประการนั้นเป็นไปได้ยากเพราะการที่สมองขาดออกซิเจนเป็นเวลานานขนาดนั้น อาจทำให้เกิดภาวะเซลล์สมองตาย เกิดความพิการทางสมอง จนทำให้การทำงานของสมองผิดปกติไปตลอดชีวิต เมื่อสมองที่เป็นอวัยวะสั่งการทำงานทุกอย่างในร่างกายเกิดทำงานผิดปกติ แน่นอนว่าร่างกายก็ไม่มีทางกลับมาทำงานเป็นปกติได้ อาจอยู่ในสภาพเจ้าชาย/เจ้าหญิงนิทรา หรือสภาพเป็นผักจนกว่าจะหมดลมหายใจค่ะ
เพราะฉะนั้น อาการที่ผู้ป่วยหายใจไม่ออก หายใจติดขัด ไม่ใช่เรื่องที่จะทำเป็นเล่นได้ โดยเฉพาะกับผู้ป่วย COVID-19 ต้องหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง ขนาดติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่แสดงอาการได้เลย ภัยร้ายคร่าชีวิตก็อาจไม่แสดงสัญญาณเตือนได้เช่นกันค่ะ
ร่างกายของมนุษย์นั้นขาดน้ำ ขาดอาหาร ขาดแสง หรืออดนอนก็ยังมีชีวิตอยู่ต่อได้หลายวัน (ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม) แต่หากขาดอากาศหายใจ เราจะอยู่ต่อได้เต็มที่ที่สุดคือ 5 นาที (หากไม่ใช่ผู้ที่ฝึกการกลั้นหายใจมา แค่ 3 นาทีก็เข้าขั้นแย่แล้ว) และก็ไม่ใช่ 5 นาทีที่จะฟื้นมาใช้ชีวิตได้ปกติด้วย นี่จึงเป็น 5 นาทีที่ชี้ชะตาชีวิตค่ะ
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
💥💥 วิธีดูแลตัวให้ห่างไกลโควิด 19 💥💥
1. รักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร
2. ใส่หน้ากากในที่สาธารณะและเมื่อต้องติดต่อใกล้ชิดกับผู้อื่นเสมอ
3. ทำงานที่บ้าน ถ้าเป็นไปได้
4. หลีกเลี่ยงที่สาธารณะที่จอแจแออัด สั่งอาหารและสินค้ามาส่งที่บ้านแทน
5. ล้างมือให้บ่อยและรักษาสุขอนามัยสม่ำเสมอ
6. อยู่บ้าน หากมีมาตรการล็อคดาวน์
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
อ้างอิง
1
🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿🌿
โฆษณา