13 ม.ค. 2021 เวลา 14:12 • ประวัติศาสตร์
"แต่ก่อนมาราษฎรมิได้มีโอกาสเข้าใกล้ชิดพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน เพราะฉนั้นความกลัวจึงมีมากกว่าความรัก..."
ความตอนหนึ่งจากหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ 6
เรื่องราวนี้เกิดขึ้นช่วงงานพระบรมศพของร.5
ขอใช้ภาพสมัยปัจจุบันปนะกอบ
ความคิดนี้เป็นของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
โดยร.6 ได้เขียนชมกรมดำรงไว้ว่าท่านช่างคิดอะไร
สำหรับเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลวง (ร.5) ดีจริง ๆ
เช่น การสร้างพระบรมรูปทรงม้าถวาย และคิดนามถวายว่าปิยมหาราช คิดเปิดโอกาสให้ประชาชนเฝ้าพระบรมศพ
"นี่แหละจะไม่ให้ชมว่าท่านฉลาดหรือ"
กรมดำรงท่านให้เหตุผลว่า แต่ก่อนประชาชนไม่เคยเข้าเฝ้า จึงมีความกลัวมากกว่าความรัก
ต่อมาร.5 เริ่มเปลี่ยนประเพณีนี้ ท่านกรุณาให้ประชาชนได้เห็นใกล้ ๆ ได้ ที่เราคุ้นกันคงเป็นเรื่องราวการเสด็จปนะพาสต้น ทำให้ราษฎรเกิดความรู้สึกรัก เมื่อท่านสวรรคตตามธรรมดาของคนที่เคยได้เห็นกัน ย่อมมีความรู้สึกเศร้าสลดจริง ๆ แตกต่างจากคนไม่เคยเห็น
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2453 เป็นวันแรกที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปไหว้ศพท่านในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทได้ ถือเป็นครั้งแรกที่ประชาชนสามารถไหว้ศพพระมหากษัตริย์ใกล้ขนาดนี้
ตัวร.6 เองก็ได้ฟังจากพระยายมราชว่ามีเสียงประชาชนอยากเห็นพระเจ้าอยู่หัวองค์ใหม่
ท่านจึงตั้งใจว่าถ้าไม่ติดธุระอย่างอื่น
ก็จะออกไปให้เฝ้าอีกทุกครั้ง
ส่วนตัวคิดว่าเป็นจิตวิทยาที่ฉลาดมาก
อ้างอิงจากหนังสือประวัติต้นรัชกาลที่ 6
เป็นหนังสือที่ ร.6 ท่านเขียนไว้เองค่ะ
บทความนี้ใช้ภาษาเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ และหากมีข้อผิดพลาดประการใด กรุณาชี้แจงอย่างสุภาพค่ะ
เป้ย 13 Jan 21
1
โฆษณา