14 ม.ค. 2021 เวลา 11:20 • สุขภาพ
จำเป็นต้องรู้!!! ใช้ UVC ฆ่าเชื้อ coronavirus อย่างไรให้ปลอดภัย
ท่ามกลางหลากหลายแนวทางการฆ่าเชื้อ coronavirus ที่โดดเด่นที่สุดคือการนำแสง UVC มาใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสเ อย่างไรก็ตามรังสี UVC หากนำมาใช้ผิดวิธีอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง ครับ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักรังสี UV ทำเข้าใจเกี่ยวกับการใช้รังวี UVC ฆ่าเชื้อโรคและการใช้งานอย่างปลอดภัยไม่ให้เกิดอันตรายครับ
UV รังสีมฤตยู
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าแสงแดดประกอบด้วยรังสีหลายอย่างทั้งที่ดวงตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง และแสงที่ดวงตามองไม่เห็นคือแสงใต้แดง (Infrared) และรังสีเหนือม่วง (Ultraviolet หรือ UV) นั่นเอง
อย่างไรก็ตามรังสี UV สามารถแบ่งย่อยได้อีกเป็น 3 ประเภทด้วยกันครับ ประเภทแรกคือ UVA ซึ่งมีปริมาณสูงสุดในกลุ่มรังสี UV สามารถทะลุเข้ามาถึงชั้นผิวหนัง และเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเหี่ยวย่นบนผิวหนังและแก่ก่อนวัยครับ ในทางกลับกันรังสี UVB ที่มีพลังทำลายสูง สามารถทำลายจนถึงระดับ DNA ก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ครับ ซึ่งรังสีประเภท UVA และ UVB สามารถกันได้ด้วยครีมทากันกันแดดครับ
1
ท้ายที่สุดรังสี UVC เป็นรังสีที่มีพลังงานมากที่สุดในกลุ่มรังสี UV ทำให้ตัวมันเองมีความสามารถในการทำลายสารพันธุกรรมต่างๆ ได้อย่างง่ายได้ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตหรือสารพันธุกรรมไวรัส อย่างไรก็ตาม UVC มีปริมาณน้อยที่สุดที่พบได้ในแสดงแดดทั่วไป เนื่องจากรังสี UVC โดนกรองด้วยโอโซนในชั้นบรรยากาศก่อนที่มันจะมาถึงผิวหนังของคนเราครับ
การใช้ประโยชน์จากรังสี UVC
รังสี UVC ซึ่งถูกค้นพบในปี 1878 เป็นรังสีกลุ่มสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการทำลายและฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ครับ โดยมีการนำ UVC ไปใช้ในหลายกิจการ ตั้งแต่ธุรกิจการบิน สำนักงานอาคาร ไปจนถึงโรงพยาบาลครับ สาเหตุที่ UVC เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากจุลินทรีย์บางชนิดสามารถต้านทานสารเคมีและยาฆ่าเชื้อได้ แต่ก็โดนทำลายโดย UVC อยู่ดีครับ
1
ถึงแม้ยังไม่มีหลักฐานว่า UVC สามารถทำลายไวรัส COVID-19 ได้อย่างราบคาบ แต่จากการศึกษาพบว่า UVC สามารถกำจัดไวรัสชนิดอื่นในตระกูล coronavirus อย่างเชื้อ SARS เป็นต้นครับ
อย่างไรก็ตามหลายประเทศก็ใช้ UVC เป็นแนวหน้าในการต่อสู้กับ COVID-19 โดยในประเทศจีนได้สร้างอาคารเพื่อให้รถขนส่งมวลชนเข้าไปอาบแสง UVC เพื่อทำความสะอาดครับ หรือในประเทศไทยเองก็ใช้รังสี UVC ในการทำความสะอาดพื้นของโรงพยาบาลเป็นต้นครับ ในภาคการธนาคารก็นำรังสี UVC มาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคบนเงินเนื่องจากสะดวกและไม่ต้องนำไปซักล้างครับ
อุปสรรคของการใช้รังสี UVC
ถึงแม้รังสี UVC มีความสามารถสูงที่จะทำลายเชื้อร้ายให้ดายดิ้น แต่แท้ที่จริงแล้ว UVC มีข้อจำกัดพอสมควรในการใช้จริงครับ เนื่องจาก UVC จะฆ่าเชื้อในบริเวณที่โดนรังสีหรือบริเวณที่นรังสีส่องถึงเท่านั้น ดังนั้นบริเวณที่รังสีส่องไปไม่ถึง หรือโดนสารเคมีหรือโลหะเคลือบทำให้ทะลุไปไม่ได้ ความเข้มของรังวี UVC ก็จะไม่เพียงพอ เชื้อโรคก็จะยังมีชีวิตอยู่ครับ ดังนั้นรูปร่างและชนิดของสิ่งของที่ต้องการฆ่าเชื้อจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการทำความสะอาดครับ
นอกจากด้านการใช้งานแล้ว อุปสรรคอีกข้อของ UVC คือการโดนรังสีโดยตรงอาจทำให้มีความเสี่ยงด้านสุขภาพเป็นอย่างมากครับ การโดน UVC แม้เพียงไม่กี่วินาทีก็อาจทำให้เกิดแผลแดดเผาได้ง่ายๆ หรือการจ้องมองรังสี UVC จากแหล่งกำเนิดโดยตรงก็มีอันตรายเทียบเท่าการจ้องดวงอาทิตย์ตรงๆ หลายนาที
1
ด้วยความอันตรายดังกล่าวทาง WHO จึงออกคำเตือนเพื่อห้ามไม่ให้ประชาชนใช้รังสี UVC ในการฆ่าเชื้อ COVID-19 บนผิวหนังของตนโดยตรงครับ ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามธิบดีได้แนะนำให้ผู้ที่ใช้รังสี UV ในการฆ่าเชื้อโรคควรใช้อุปกรณ์ที่มิดชิด และสวมแว่นตา เสื้อผ้า หรือถุงมือในกรณีเปิดใช้งานครับผม
เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดีและอำนวยความสะดวก แต่การใช้ให้ถูกวิธีเพื่อให้ปลอดภัยก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับผม
โฆษณา