17 ม.ค. 2021 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
รู้จัก Catfish Management ทฤษฎีบริหาร "แบบปลาดุก"
4
หลายคนอ่านชื่อบทความแล้ว ก็อาจจะยังงงๆ
ว่าทฤษฎีบริหารแบบปลาดุก มันเป็นอย่างไร?
บทความนี้ THE BRIEFCASE จะพาทุกท่าน ไปรู้จักทฤษฎีบริหารชื่อแปลกๆ นี้กัน..
แนวคิดหรือทฤษฎีบริหารแบบปลาดุกที่ว่านี้
ถูกพัฒนาขึ้นมาจากเรื่องเล่าในประเทศนอร์เวย์
ซึ่งเรื่องที่ว่านั้น เล่าเอาไว้ว่า..
นานมาแล้ว ในประเทศนอร์เวย์
ชาวประมงจะล่องเรือออกไปจับปลาซาดีนในทะเลเพื่อเอามาขายในตลาด
ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ ปลาซาดีนที่ยังมีชีวิตอยู่เมื่อมาถึงตลาด จะสามารถขายได้ราคาดีกว่า ปลาซาดีนที่ตายแล้วเมื่อมาถึงตลาด ถึงสองเท่า
ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวประมงก็คือ
กว่าจะเดินทางมาถึงตลาด ปลาซาดีนที่จับมาได้ ก็ตายไปหมดแล้ว
และแม้ว่าจะจับใส่แทงก์ที่ใส่น้ำไว้ ปลาซาดีนจำนวนมากก็ตายไปอยู่ดี เพราะไม่คุ้นชินกับที่แคบๆ และไม่คุ้นชินกับอุณหภูมิน้ำที่ไม่เหมือนในทะเล
แต่แล้วชายชาวประมงคนหนึ่ง ก็เจอเคล็ดลับที่ทำให้ปลาซาดีนในแทงก์น้ำยังคงมีชีวิตมาจนถึงตลาด
เคล็ดลับที่ว่านั่นก็คือ.. การใส่ “Catfish” หรือ “ปลาดุกทะเล” ลงไปในแทงก์น้ำที่มีปลาซาดีนอยู่
1
ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ปลาซาดีนในแทงก์น้ำนั้น เกิดความตื่นตัวและว่ายน้ำอยู่ตลอดเวลา เพราะกลัวว่าจะโดนปลาดุกทะเลกินเป็นอาหาร
ก็เลยทำให้พวกมัน มีชีวิตอยู่มาจนถึงตลาดได้นั่นเอง..
11
ซึ่งจากเรื่องที่เล่ามา ก็ต้องย้ำกันอีกครั้งว่า
มันอาจเป็นเรื่องจริง หรือเป็นแค่เรื่องเล่าก็ได้
2
แต่ประเด็นก็คือ เรื่องเล่าเรื่องนี้ ได้ถูกนำมาพัฒนา
จนกลายมาเป็นทฤษฎีบริหารแบบหนึ่ง
ซึ่งคอนเซปต์การประยุกต์ใช้ของมันก็คือ
2
การเพิ่มแรงกดดัน หรือสภาวะแห่งการแข่งขัน ให้กับพนักงานในตำแหน่งนั้นๆ
เพื่อให้พนักงานคนนั้นเกิดความ “Active” หรือเกิดความตั้งใจ และพยายามสร้างผลงานที่ดีให้กับตัวเองและองค์กร เพื่อให้ตัวเอง “เอาชนะ” แรงกดดันนั้นได้นั่นเอง
8
ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ลองมาดูตัวอย่างขององค์กรที่หยิบเอาทฤษฎีนี้มาใช้กัน
โดยองค์กรที่ว่าก็คือ Haier Group ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชื่อดังสัญชาติจีน
2
แต่ละทีมใน Haier Group จะมี Manager หรือ ผู้จัดการทีม ซึ่งจะคอยบริหารและนำพาทีมให้บรรลุเป้าหมายงานตามที่ตั้งไว้ในทุกๆ 3 เดือน
1
โดยคนที่เป็น Manager จะถูกกดดันจากอีกคน ที่ถูกเรียกว่า “Shadow Manager” หรือ ผู้จัดการทีมสำรอง
2
ซึ่งกฎก็คือ ถ้า Manager ของทีมนั้น ไม่สามารถพาทีมบรรลุเป้าหมาย 3 เดือนที่กำหนดไว้ได้ คนที่เป็น Shadow Manager หรือ ผู้จัดการทีมสำรอง ก็จะขึ้นมาเป็น Manager แทนทันที
2
ซึ่งมันก็เป็นการสร้างแรงกดดัน และผลักดันให้ Manager ของแต่ละทีมต้องพยายามบริหารจัดการและกระตุ้นลูกทีม ให้ทำผลงานทะลุเป้าที่วางเอาไว้ให้ได้
2
ถ้าเอาตัวอย่างนี้ไปเปรียบเทียบกับเรื่องเล่าตอนต้นบทความ
Shadow Manager ในองค์กร Haier ก็เป็นเหมือนกับ “ปลาดุก” ที่ถูกใส่เข้าไปในแทงก์น้ำ เพื่อให้ Manager ที่เปรียบเสมือน “ปลาซาดีน” ต้องคอยตื่นตัว และเอาตัวรอดอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
2
และนี่ก็คือ Catfish Management หรือ ทฤษฎีบริหารแบบปลาดุก
การบริหารแบบแปลกๆ ที่มีความน่าสนใจซ่อนอยู่เหมือนกัน
3
อย่างไรก็ตาม องค์กรไหนที่จะเอารูปแบบการบริหารนี้ไปปรับใช้ ก็คงต้องควบคุมระดับแรงกดดันจากการแข่งขันกันในองค์กรให้เหมาะสมด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเครียดของพนักงานมากจนเกินไป หรือเกิดปัญหาการแบ่งฝั่งแบ่งฝ่ายกันในองค์กร
2
แต่แก่นแท้ ที่ทฤษฎีการบริหารแบบนี้พยายามจะสื่อก็คือ
ในบางครั้ง คนเราจะเติบโตหรือเก่งขึ้นได้
มันก็อาจต้องมีอะไรมาคอยกดดัน ให้รู้สึกว่า “แพ้ไม่ได้” จริงไหม?..
1
โฆษณา