18 ม.ค. 2021 เวลา 02:24 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เป็นไปได้แค่ไหนที่เมืองไทยจะมี
"หิมะตก"❄️🏔️
เวลาเมืองไทยเราอากาศหนาวจัด ๆ ทีไร มักจะมีคำถามตามมาเสมอ ๆ ถึงความเป็นไปได้ในเรื่องที่ว่า..
เมืองไทยเรานี้ จะมีหิมะตกบ้างได้ไหม?
..
มีสิ....ก็ที่ดรีมเวิร์ลไง...😌
ผ่างงงงง❗❗❗❗
ไม่ใช่หิมะแบบนั้น..😬
..
ยิ่งมีข่าวล่าสุดว่าเกิดหิมะตกขาวโพลนที่บริเวณเมืองเชียงขวางประเทศลาว ทำเอาคนไทยแอบลุ้นว่า เฮ้ย ที่นั่นมันก็ไม่ห่างบ้านเรานัก ที่นั่นมีหิมะตกได้ ทำไมบ้านเราจะมีบ้างไม่ได้...
หิมะนะครับ ไม่ใช่เรือดำน้ำ ที่มีเงินก็ไปซื้อเอาได้....555🤭
..
2
ก่อนจะไปดูเรื่องหิมะกับประเทศไทยว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน?
เราไปทำความรู้จักกับเจ้าเกล็ดน้ำแข็งจิ๋วตกลงมาจากฟากฟ้าที่เรียกว่า"หิมะ"กันก่อนดีกว่า..
..
หิมะ(Snow)
เกิดขึ้นจากการควบแน่นของไอน้ำ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของหยดน้ำจากท้องฟ้าแบบเดียวกับฝนและลูกเห็บ
(เห็บนะไม่ใช่เห็ด🍄)
..
1
ศัพท์ทางอุตุนิยมวิทยาจะเรียกสิ่งที่ตกลงมาจากฟ้าแบบนี้ว่า"น้ำฟ้าหรือหยาดฟ้า"(คล้าย ๆ เพลงเลย)
ในสภาพเมฆปกติ ก็จะมีหยดน้ำเล็ก ๆ ที่มีขนาดเท่า ๆ กันอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ด้วยความที่มันเล็กมาก คือ 0.02 ม.ม.เท่านั้น
ทำให้เมื่อมันร่วงลงมาจากท้องฟ้า มันจึงไม่เกิดการรวมตัวกลายเป็นเม็ดน้ำขนาดใหญ่
ซึ่งตรงนี้จะต่างจากเมฆชนิดก่อฝน
เพราะเมฆฝนเหล่านี้จะมีหยดน้ำขนาดใหญ่ เล็กแตกต่างกันจำนวนมากเกิดขึ้นภายใน
หยดน้ำขนาดใหญ่ในเมฆฝนจะตกลงมาด้วยความเร็วที่มากกว่าจนเกิดการรวมตัวกับหยดน้ำขนาดเล็กจำนวนมากที่ว่าเมื่อสักครู่ พัฒนาจนกลายเป็นหยดน้ำขนาด 2 - 5 มิลลิเมตร
หยดน้ำขนาดนี้สามารถตกลงมาบริเวณใต้ฐานของเมฆและพร้อมที่จะตกลงมากลายเป็นฝน
ในกรณีที่บริเวณใต้ก้อนเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียสขึ้นไป หยดน้ำก็จะตกลงมาในสถานะของเหลวเช่นเดิม เรียกว่า"ฝน"
..
ส่วนความแตกต่างของการเกิดฝนกับหิมะนั้น ก็คือ..
หิมะ จะเกิดในเขตหนาวที่มีอุณหภูมิระดับพื้นผิวอยู่ที่ 0 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า
โดยหากเราย้อนไปที่คำว่า น้ำฟ้าหรือหยาดฟ้าในก้อนเมฆ ในพื้นที่ ที่จะเกิดหิมะตกได้ อุณหภูมิบนก้อนเมฆต้องอยู่ที่ระดับ -40 องศาเซลเซียส ถึงจะสามารถทำให้น้ำฟ้าบนก้อนเมฆแข็งตัวได้
ศัพท์ทางอุตุนิยมวิทยาจะเรียก หยดน้ำที่แข็งตัวระดับนี้ว่า"น้ำเย็นยิ่งยวด"
หรือ Super cooled water
ต่อมาเมื่อเจ้าตัวน้ำเย็นยิ่งยวดพบกับอนุภาคแขวนลอยบนก้อนเมฆเช่นฝุ่น หรือควัน พวกอนุภาคเหล่านี้จะกลายเป็นแกนทำให้เกิดการระเหิดของไอน้ำแข็ง กลายเป็นผลึกน้ำแข็ง
เท่านั้นยังไม่พอ ก่อนจะกลายเป็นหิมะได้ ผลึกน้ำแข็งที่ว่า ต้องชนกันไปมาจนเกิดการรวมตัวให้มีขนาดใหญ่ขึ้นไปอีกจนกลายเป็นก้อนผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เรียกว่า"เกล็ดหิมะ"(Snow flake)
ยังครับ แค่นี้ยังไม่พอที่จะทำให้เจ้าSnow flake ตกลงมากลายเป็นหิมะบนพื้นโลก
1
เพราะเมื่อเกล็ดหิมะใหญ่มากพอที่จะเอาชนะแรงโน้มถ่วงจนตกลงมาใต้ฐานก้อนเมฆแล้ว ปัจจัยที่จะทำให้ก้อนเกล็ดหิมะ ยังคงแข็งตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็งเช่นเดิมจนถึงพื้นโลกก็คือ..อุณหภูมิตั้งแต่ใต้ฐานเมฆลงมาที่ต้องอยู่ที่ 0 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่าลงไปเท่านั้น😬❄️
..
เป็นไงครับ กว่าจะเป็นหิมะตกลงมาขาวสวยหมวย...เย็นอย่างที่เราเห็นในต่างประเทศเขตหนาว มันไม่ใช่ง่าย ๆ
มันต้องอาศัยปัจจัยเยอะแยะมากมาย
ซึ่งเมื่อมองจากปัจจัยที่จะทำให้เกิดหิมะได้
...บอกเลยว่าสำหรับโอกาสเกิดหิมะตกในบ้านเรา..."ยาก" ถึง "ยากมาก"
..
อย่างแรกคือเราเป็นประเทศเขตร้อนชื้น ช่วงที่เรามีความชื้นในฤดูฝน อากาศก็เย็นไม่พอ ช่วงที่เรามีความเย็นในฤดูหนาว ความชื้นเราก็ต่ำ
และความเย็นที่เรามีก็แทบไม่เคยเย็นพอขนาดติดลบมากมายขนาดนั้น
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ อำนวยการ
ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและ
ภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต
ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า..
โอกาสที่จะเกิดหิมะตกในประเทศไทยนั้นค่อนข้างยาก ต่างจากลาวและเวียดนามที่ด้านเหนือติดประเทศจีนและใกล้ทะเล อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวยังมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลที่
สูงกว่าเราอีกด้วย
3
แต่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดหิมะตกในประเทศไทยก็ใช่ว่าจะไม่มี แต่มีความเป็นไปได้แค่บางพื้นที่ เช่นบริเวณเขื่อนภูมิพลหรือเขื่อนสิริกิติ์ที่มีระดับความชื้นสูงและอยู่ในเขตภาคเหนือ หากเกิดปรากฏการณ์ความกดอากาศสูงจากจีนพัดมาแรงมากผิดปกติ ขนาดที่ทำให้อุณหภูมิติดลบ
ก็อาจจะเกิดหิมะตกในบริเวณดังกล่าวได้ แต่ก็คงเป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เพราะโอกาสที่อุณหภูมิบนพื้นดินในประเทศไทยจะติดลบนั้นมีน้อยมาก
..
อาจารย์ยังฝากเตือนไว้ด้วยว่า...
"เราไม่ควรกังวลหรือคาดหวังกับอากาศเย็นจนอาจเกิดหิมะตกในประเทศไทย แต่สิ่งที่น่าห่วงมากกว่าคือ ปรากฏการณ์ลานิญญ่าที่กำลังเกิดขึ้น"
1
"เพราะแนวโน้มที่ลานีญญ่าปีนี้ จะรุนแรงจนอาจทำให้ฝนตกชุกผิดปกติและเกิดน้ำท่วมใหญ่ มีความเป็นไปได้"
"หากเดือนมีนาคมนี้ ภาคใต้ยังเกิดน้ำท่วมอยู่ ก็ให้เราเตรียมความพร้อมรับมือกับฝนตกหนักจากลานีญญ่าในช่วงฤดูฝนได้เลย"
..
ขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
ขอบคุณภาพประกอบจากunsplash
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา