17 ม.ค. 2021 เวลา 05:33 • ธุรกิจ
วิกฤติการมีอยู่ของ Alibaba!!! ถอดรหัสปัจจัยภายในจีนและต่างประเทศรวมถึงตัวอย่างในไทย
บริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่และโด่งดังที่สุดในประเทศจีน Alibaba กำลังเผชิญหน้าความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ทั้งในประเทศจีนและการกดดันอย่างหนักจาก US โดยชะตากรรมของ Alibaba อาจจะเปลี่ยนไปตลอดกาลและอาจนำไปสู่ปัญหาการล่มสลายของอุตสากรรมเทคโทโนโลยีในจีนได้ครับ
ผีซ้ำด้ามพลอย
1
หลังจากที่บริษัท Alibaba เริ่มก่อตั้งเมื่อ 20 ปีก่อนโดยคุฯ Jack Ma เจ้าพ่อ e-commerce ในจีน Alibaba เริ่มเติบใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาไปยังหลายธุรกิจหลายอุตสาหกรรมจนปัจจุบัน Jack Ma อาจจะเริ่มยิ่งใหญ่กว่าประเทศจีนที่มีพรรคคอมมิวนิสต์ดูแลอยู่ครับ เมื่อ Alibaba มีขนาดใหญ่จนเกินไปแต่ถูกถือหุ้นโดยกลุ่มทุนต่างประเทศ ปัจจุบันทางภาครัฐจีนจึงดำเนินการสอบสวนหาความผิดทางด้านการผูกขาดทางการตลาดครับ
ทางฝั่งของพญาอินทรีคู่ปรับของจีนก็กดดันทาง Alibaba อย่างหนัก โดย Trump ได้ออกกฎหมายห้ามไม่ให้ธุรกิจสัญชาติอเมริกาลงทุนใน Alibaba (Ban American Investment in Alibaba: BABA) ทำให้ความตึงเครียดเรื่องความมั่นคงของ Alibaba ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ครับ
ที่หนักไปกว่านั้น ท่ามกลางวิกฤติการณ์ที่ถาโถมเข้ามาเรื่องๆ Jack Ma หัวเรือใหญ่ของ Alibaba กลับหายตัวไปจากสื่อสังคมมากกว่า 2 เดือนแล้วครับ ทำให้นักวิเคราะห์หลายๆ ท่านรวมถึงคุณ Alex Capri แห่ง National University of Singapore ออกมากล่าวว่าปัจจุบัน Alibaba กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤติการณ์ด้านการมีอยู่ของธุรกิจครับ
1
จุดเริ่มต้นของโอากาสล่มสลายในแผ่นดินแม่
1
ประธานาธิบดี Xi Jinping ได้กล่าวเรียกร้องให้มีการทลายการผูกขาดทางด้านการตลาดที่เกิดจาก platform online ขนาดใหญ่ในจีน (คือ Alibaba นั่นละครับ) ซึ่งเขากำหนดไว้เป็นเป้าหมายที่สำคัญในปี 2021 ครับ ซึ่งการตรวจสอบการผูกขาดของ Alibaba ได้แสดงให้เห็นถึงการพูดจริงทำจริงของรัฐบาลจีนครับ
2
นอกเหนือจาก Alibaba แล้วหลายบริษัท เช่น VIP Shop ซึ่งเป็น platform e-commerce อีกแห่งหนึ่งก็โดนตรวจสอบเช่นกัน หรือในกรณีของ Punduoduo (PDD) e-commerce อันดับ 3 ของประเทศจีนก็โดนตรวจสอบอย่างหนักเมื่อมีพนักงาน 2 คนเสียชีวิตอย่างไม่ทราบสาเหตุในช่วงวันหยุดที่ผ่านมาครับ
จากการบังคับทั้งทางตรงและทางอ้อม หลายบริษัททางด้านเทคโนโลยีกำลังถูกบังคับให้ควบรวมกับบริษัทที่ถูกถือหุ้นและบริหารโดยรัฐบาลจีน (State Own Enterprise: SOE) เช่นเดียวกับกรณีของ Alipay ของ Ant Group ต้องร่วมมือกับ UnionPay ของรัฐบาลจีนเพื่อนพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาครับ ซึ่งนักวิเคราะห์หลายๆ สำนักคาดว่าการบังคับควบรวมน่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคตครับ
1
การเข้าถึงและควบคุมข้อมูลของ Digital Platform ถือเป็นปัจจัยสำคัญในด้านนี้ครับ ดังนั้นการแตก Alibaba แล้วผนวกเข้าไปเป็นของภาครัฐเป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ อย่างไรก็ตาม Softbank ที่เป็นกลุ่มทุนสัญชาติญี่ปุ่นที่เติบโตมากับธุรกิจมือถือจะมีการตอบสนองหรือเตรียมตัวกับเรื่องนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยากมากครับ
1
การกดดันจากต่างประเทศ
ประเทศ US ดินแดนแห่งเสรีภาพก็มีความพยายามที่จะกดดันภาคธุรกิจของจีนเช่นกันครับ ทั้งเรื่องที่ US แบนธุรกรรมกับบริษัทที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับธกองทัพจีน เช่น Xiaomi ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือันดับ 2 รองลงมาจาก Huawei ครับ
นอกจากการระงับธุรกรรมดังกล่าว ตลาดหุ้นที่ New York ก็มีคำสั่งให้หยุดการซื้อขายหุ้นจากประเทศจีนครับ และประธานาธีบดี Trump ก็ออกกฎหมายบังคับให้บริษัทสัญชาติมังกรต้องถอดหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์หากไม่ผ่านการตรวจงบตามมาตรฐาน US (ในที่นี้ผมว่าน่าจะเป็น US GAAP ครับ)
1
ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนผู้นำจาก Trump เป็นคุณ Joe Biden แต่นโยบายภาครัฐที่ US มีต่อจีนน่าจะดำเนินต่อไป แต่อาจไม่โผงผางเมื่อเดิมแล้วครับ แต่กลยุทธ์ด้านการทูตจะเป็นที่น่าจับตาว่าทาง Biden จะใช้ไม้ไหนในการฟาดฟันกับจีนต่อไปครับ
2
ย้อนกลับมาที่เมืองไทย
ภาพจากไทยรัฐ
ถึงแม้เรื่องการต่อต้านการผูกขาดจะเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทำให้เกิดการแข่งขันในตลาด แต่ที่ผ่านมาในประเทศไทยก็มีการยินยอมให้ CP เข้าซื้อหุ้นของ Tesco Lotus ทำให้กลุ่มบริษัท CP ควบคุมช่องทางการตลาดกว่า 14,000 สาขาทั่วประเทศครับ ถึงแม้ว่าดีลนี้จะถูกวิพากวิจารณ์จากทางผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก็ตาม
1
ประการต่อมาที่น่าจับตามองคือเรื่องของ application หมอชนะทีแต่เดิมถูกพัฒนาโดยทีมนักพัฒนาอาสาสัญชาติไทย “ทีมงานอาสาหมอชนะ” ได้ออกมาถอนตัวจากการพัฒนาและดูแล application ดังกล่าวเนื่องจากโดนควบคุมการบริหารจัดการจากทางภาครัฐ จนทำให้ application หมอชนะกลายเป็น application ของภาครัฐอย่างสมบูรณ์
ท้ายที่สุดคงต้องย้อนกลับมาดูว่าการผูกขาดทางการตลาดและการแบ่งและควบรวมกิจการของภาครัฐและภาคเอกชนอันจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมการแข่งขันจะเป็นอย่างไรต่อไปครับ
โฆษณา