17 ม.ค. 2021 เวลา 12:10 • ประวัติศาสตร์
อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม เชื้อสายบรรพบุรุษกลุ่มแรกผู้บุกเบิกออสเตรเลีย และมีพ่อแม่ผู้สร้างตำนานรักบันลือโลกจนออสเตรเลียนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์
2
สวัสดีครับวันนี้ผมจะขอพาท่านผู้อ่านไปรู้จักภูมิหลังที่น่าสนใจของอนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม พระเอกอารมณ์ติสท์มากความสามารถ มีประวัติศาสตร์ผ่านครอบครัวของเขาที่น่าสนใจ ที่หลายคนอาจไม่รู้ครับ
อนันดาเป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 2 คน คุณพ่อคือ นายจอห์น เอเวอร์ริ่งแฮม ชาวออสเตรเลีย และคุณแม่ คือนางแก้วสิริ สัญชาติลาว อนันดามีน้องชาย 1 คน ชื่อ เชสเตอร์ ทั้งคู่เป็นลูกครี่ง ลาว-ออสเตรเลียครับ
3
ฉะนั้นแล้วอนันดาไม่ใช่คนไทยเพราะถือสัญชาติตามคุณพ่อ และได้เปลี่ยนจากสัญชาติเดิมมาเป็นสัญชาติไทยในภายหลังครับ
2
ความน่าสนใจอยู่ตรงที่บรรพบุรุษของ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ทางฝั่งคุณพ่อครับ ต้องบอกก่อนว่าชื่อเต็มๆของอนันดานั้นคือ อนันดา แมทธิว เอเวอริงแฮม นั้นมีที่มาครับ
3
คุณพ่อของอนันดาตั้งชื่อกลางให้ลูกแบบนี้ ก็เพราะว่า คุณทวดของอนันดา คือหนึ่งในครอบครัวผู้บุกเบิกประเทศออสเตรเลียรุ่นแรก นั่นก็คือ 263 คนแรกที่ตัดสินใจเดินทางมาตั้งรกรากที่ออสเตรเลียครับ
4
ในอดีตช่วง ค.ศ.1608-1720 ชาวยุโรปหลายคนเดินเรือมาเทียบฝั่งออสเตรเลียและผู้ที่ขึ้นบกเป็นคนแรกคือ วิลเลี่ยม ยันส์โซน นักสำรวจชาวดัตช์ ได้ขึ้นฝั่งในปี ค.ศ. 1606
3
ต่อมานักสำรวจชาวดัตช์อีก 29 คน ได้เริ่มสำรวจชายฝั่งทางตะวันตกและทางใต้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และทำการตั้งชื่อทวีปใหม่นี้ว่า "นิวฮอลแลนด์”
2
หลังจากนั้นนักสำรวจชาวยุโรปชาติอื่นก็ทยอยตามกันมาเรื่อยๆ แต่เนื่องจากมีการพบชาวพื้นเมืองที่แสดงการเป็นศัตรูและสภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง นักสำรวจหลายกลุ่มจึงนี้ไม่ค่อยให้ความสนใจกับอาณาบริเวณนี้มากนัก
1
กัปตันคุกส์
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1770 เรือโท เจมส์ คุก หรือ กัปตันคุกส์ ได้ทำการร่างแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียให้กับสหราชอาณาจักร และเมื่อกัปตันคุกส์เห็นสภาพภูมิอากาศคล้ายแคว้นเวลส์ของสหราชอาณาจักรจึงได้ตั้งชื่อดินแดนแถบนั้นว่า “นิวเซาท์เวลส์” (New South Wales)รวมทั้งได้ประกาศพื้นที่แถบนี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร แล้วยึดครองออสเตรเลียมาเป็นอาณานิคมครับ
4
ในช่วงแรกสหราชอาณาจักร มีนโยบายให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเพียงทัณฑนิคมสำหรับนักโทษครับ เหตุผลที่รัฐบาลอังกฤษมีนโยบายส่งนักโทษมาตั้งถิ่นฐานที่ออสเตรเลียในช่วงแรกเนื่องจากอังกฤษได้สูญเสียอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ และต้องการระบายนักโทษที่แออัดอยู่ในคุกของประเทศอังกฤษ
4
การขนส่งนักโทษในช่วงแรก มีกัปตันอาเธอร์ฟิลลิป (Arthur Philip) เป็นผู้ควบคุม ซึ่งนักโทษกลุ่มแรกเดินทางมาถึงอ่าวซิดนีย์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1788 และได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานถาวรบริเวณ อ่าว พอร์ต แจคสัน แล้วตั้งชื่อใหม่ให้ว่า ซิดนีย์ โคฟ ฉะนั้นในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1788 จึงถือเป็นวันชาติออสเตรเลีย นับเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งถิ่นฐานในทวีปออสเตรเลียของชาวอังกฤษครับ
4
กัปตันฟิลลิปพร้อมนักโทษ 730 คน ถึงอ่าวซิดนีย์จัดตั้งอาณานิคมอังกฤษ
ผู้ตั้งถิ่นฐานในยุคแรกส่วนใหญ่จะเป็นนักโทษและครอบครัวของทหาร แต่อีกส่วนหนึ่งก็ยังมีผู้ที่ตั้งใจย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ซึ่งรวมถึงชนชาติ อาทิ อิตาเลียน กรีกและชาวยุโรปชาติอื่น ๆ ตลอดจนชาวเอเชียบางส่วนที่สมัครใจ อาทิ จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น การเริ่มตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของผู้สมัครใจได้เกิดขึ้นบริเวณอ่าวโบตานีเมืองซิดนีย์ ผมคาดว่าทวดของอนันดาคงจะเป็นครอบครัวแรกๆที่บุกเบิกในกลุ่มนี้นั่นเองครับ
3
พลเรือเอก Arthur Phillip ที่ Sydney Cove หรืออ่าวซิดนีย์ เมื่อ มกราคม ค.ศ. 1788 (ภาพจาก www.britannica.com/biography/Arthur-Phillip)
หากเทียบตามไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์กับฝั่งไทยแล้ว ในช่วงที่ทวดของอนันดาเดินทางมาตั้งรกรากนี้จะตรงกับในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ครับ
2
และนี่จึงเป็นที่มาให้นายจอห์น เอเวอร์ริ่งแฮม(พ่อของอนันดา) ตั้งชื่อลูกชายตนเองว่า อนันดา แมทธิว เอเวอร์ริ่งแฮม เพราะ แมทธิว ก็คือชื่อของผู้บุกเบิกออสเตรเลียรุ่นทวดของอนันดานั่นเอง
2
จุดพีคไม่ได้อยู่แค่ในรุ่นทวดของพระเอกผู้นี้เท่านั้นครับ แต่ยังมีเรื่องราวที่โด่งดังไปทั่วโลก จากวีรกรรมของพ่อและแม่ของอนันดา นายจอห์น เอเวอร์ริ่งแฮม ชาวออสเตรเลีย และคุณแม่ คือนางแก้วสิริชาวลาว
3
สายเลือดบรรพบุรุษผู้บุกเบิกทวีปออสเตรเลียที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายใน ทำให้คุณจอห์น เอเวอร์ริ่งแฮม ค้นพบแรงบันดาลใจในการเดินทางตามรอย แมทธิว เอเวอร์ริ่งแฮม(ผู้บุกเบิกรุ่นแรก) เพื่อกลับไปยังบ้านเกิดสหราชอาณจักร
5
ในยุคที่จอห์นเริ่มเดินทางข้ามทวีปออสเตรเลีย โลกได้เข้าสู่ภาวะสงครามแถบอินโดจีน นั่นก็คือ สงครามเวียดนาม ครับ
1
คุณจอห์นเดินทางขึ้นเหนือหาแรงบันดาลใจไปเรื่อยๆ ผ่านอินโดเนเซีย ผ่านมาเลเซีย ผ่านประเทศไทย จนมาถึงลาวตอนอายุ 19 ปี ใช้วิธีรับจ้างทำงานในบาร์บ้าง รับจ้างตัดอ้อยบ้าง เพราะตัวเองไม่ได้มีความสามารถพิเศษอะไร มีแต่แรงบันดาลใจล้วนๆครับ
7
ในช่วงที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในลาวเป็นช่วงเดียวกับที่กำลังมีสงครามเวียดนาม ฉะนั้นแล้วฝั่งลาวจึงเต็มไปด้วยทหารอเมริกัน และ CIA ที่ประจำการอยู่จำนวนมาก
ต่อมาเขาค้นพบว่าตัวเขาเองเริ่มหลงรักประเทศลาว จึงพยายามหางานทำ และหยิบกล้องมาถ่ายรูปบันทึกเรื่องราวประทับใจ รวมทั้งได้พบรักกับหญิงสาวชาวลาว "แก้วสิริ” ซึ่งขณะนั้นกำลังเป็นนักศึกษาแพทย์อยู่ที่หลวงพระบางครับ
3
เมื่อทั้งคู่ตกหลุมรักกัน แพลนการเดินทางไปยังสหราชอาณาจักร ตามรอยคุณทวดจึงชะงักลง จอห์นตัดสินใจทำงานเป็นช่างภาพ เพื่อให้ได้อยู่ใกล้ๆกับคนที่ตนเองรักแทนครับ
3
แต่แล้วเหตุการณ์ที่ทำให้ทั้งคู่ต้องพรากกันก็มาถึง เมื่อทางรัฐบาลลาวสงสัยว่า จอห์น เป็น CIA จึงได้จับกุมและทำลายรูปภาพทั้งหมดที่จอห์นบันทึกมากว่าสิบปี พร้อมทั้งขับไล่ออกจากประเทศลาว
4
จอห์นจึงต้องมาตั้งหลักที่ฝั่งไทยครับ และส่งข่าวถึงแก้วศิริ นักศึกษาแพทย์หญิงสาวในดวงใจของตน ผ่านทางเพื่อนอยู่บ่อยครั้ง และมีแผนที่จะพาหนีออกจากประเทศลาว
2
ทั้งคู่วางแผนโดยใช้วิธีดำน้ำผ่านแม่น้ำโขงครับ ในตอนนั้นชายแดนไทยคุมเข้มมาก มีทั้งเรือทหาร และเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน กระชับอยู่หลายจุด แม่น้ำโขงทั้งเชี่ยวและขุ่น การใช้วิธีดำน้ำผ่านแม่น้ำโขงจึงนับว่าเป็นวิธีที่ระห่ำมาก
3
จอห์นและแก้วศิริ ใช้วิธีนัดเจอกันที่ริมฝั่งโขงครับ จอห์นจะดำน้ำไปหาโดยใช้ถังดำน้ำแบบสกูบ้า ดำไปเรื่อยๆ โดยผูกเชือกกับเอวไว้ แต่ความพยายามก็ล้มเหลวหลายครั้ง เพราะเมื่อจอห์นถึงฝั่งลาวก็ไม่พบกับแก้วสิริ
และปาฏิหารย์ก็ได้เกิดขึ้นครับ การดำน้ำข้ามโขงครั้งที่สี่ ทั้งคู่ได้พบกัน จอห์นพาแก้วศิริซึ่งดำน้ำไม่เป็นข้ามโขงอย่างทุลักทุเล โดยใช้ท่อหายใจสำรองมอบให้แก้วสิริหายใจขณะลอดลำน้ำโขง จนสามารถข้ามมาฝั่งไทยได้สำเร็จ และพอมาถึงฝั่งไทยได้ทั้งคู่ก็ถูกจับ
2
การพาชาวลาวหลบหนีออกนอกประเทศ ผิดกฎหมายของทั้งทางฝั่งไทยและของฝั่งลาว เมื่อตำรวจตระเวนชายแดนไทยมาพบเข้าจึงถูกจับ โดยแก้วสิริต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในค่ายผู้อพยพ ส่วนจอห์นก็ติดคุกครับ
4
แต่ในโชคร้ายกลับมีโชคดีครับ วิธีพาสาวที่ตนเองรักหลบหนีแบบระห่ำของจอห์นนี้ กลับโด่งดังมาก จนมีสื่อต่างประเทศหลายสำนักเข้ามาทำข่าว
2
ในช่วงเวลาที่สงครามระหว่าง คอมมิวนิสต์ กับ ประชาธิปไตย ทั่วโลกกำลังร้อนระอุ ประกอบกับความระห่ำของจอห์นที่แสดงถึงความรักกับสาวฝั่งลาวนี้ จึงทำให้รัฐบาลฝั่งประชาธิปไตยทั่วโลกยกจอห์นให้เป็นดั่งสัญลักษณ์ตัวแทนของฝั่งประชาธิปไตยไปในทันทีครับ
3
พอกลายเป็นข่าวดังทางรัฐบาลไทยจึงเริ่มถูกสังคมประชาธิปไตยทั้งในและต่างประเทศกดดัน รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจยกโทษให้จอห์นและแก้วสิริครับ
4
และนี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งให้จอห์นและแก้วสิริ พ่อแม่ของอนันดาอาศัยอยู่ที่ประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้ แต่เรื่องราววีรกรรมรักยังไม่จบแค่นี้ครับ หลังจากนั้นบริษัททำภาพยนตร์ของออสเตรเลียได้ติดต่อมา เพื่อขอนำเรื่องราวและวีรกรรมรักนี้ มาทำเป็นภาพยนตร์เพื่อฉายในทีวีออสเตรเลีย ในช่วง พ.ศ.2523 โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ มีชื่อว่า "Love is Forever”
2
สร้างจากเรื่องจริงของช่างภาพออสเตรเลีย “จอห์น เอเวอริ่งแฮม” กับ “แก้ว สิริสมพร” ภรรยาชาวลาว ซึ่งพบรักกัน ในช่วงที่ลาวปิดประเทศ ทั้งคู่จึงต้องว่ายน้ำข้ามแม่น้ำโขง เข้ามายังฝั่งไทย Love is Forever นับเป็นหนังรักเกี่ยวกับประเทศลาวเรื่องแรกๆ ที่ถูกกล่าวถึง และลูกชายของทั้งคู่คือ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮมนั่นเองครับ
2
ในท้ายที่สุดแล้ว ความรักของจอห์นและแก้วศิริ อาจไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่เราวาดฝันไว้ เพราะปัจจุบันนี้ทั้งคู่ได้หย่าร้างกันมาได้ประมาณเกือบ 20 ปีแล้วครับ
2
คุณพ่อของอนันดา (จอห์น)ใช้ชีวิตเป็นนักเขียนอยู่ที่หัวหิน ส่วนคุณแม่(แก้วสิริ) ก็สะสมและซื้อขายผ้า พร้อมกับทุ่มเทเวลาเพื่อทำงานการกุศลให้กับโบสถ์ครับ
3
แม้ภายหลังชีวิตของทั้งคู่จะจบไม่เหมือนที่เราวาดฝันไว้ แต่วีรกรรมของพ่อและแม่ของอนันดา เคยโด่งดังจนกระทั่งกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งรักให้ฝั่งประชาธิปไตยในยุคนั้น และนี่คงเป็นเหตุผลหนึ่งที่สามารถแสดงถึงอานุภาพแห่งรักว่าทรงพลังเพียงใด
1
นี่คือเรื่องราวของพระเอกหนุ่มผู้มีสายเลือดบรรพบุรุษ ผู้บุกเบิกออสเตรเลียกลุ่มแรก และพ่อแม่ที่สร้างวีรกรรมรักบันลือโลก ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนครับ
1
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
โฆษณา