18 ม.ค. 2021 เวลา 05:41 • ความคิดเห็น
🕊 EP.4 อิสระทางการเงิน...อิสระจากเงิน? 🕊
(ไม่ใช่บทความทางการเงินนะครับ 😆)
หลังจากที่คิดว่าจะแค่แวะพัก แต่ดันเจอจุดหมายหลักไปแล้ว
ก็กลับมาบนเส้นทางที่เล็งไว้ตอนเริ่มแรกอีกครั้ง
โดยครั้งนี้จะลองดูเรื่องที่ดูจับต้องได้หน่อยอย่าง...
💲💲💲'อิสระทางการเงิน' 💲💲💲
Credit:pixabay.com
เริ่มต้นก็เหมือนเดิม..
อิสระทางการเงิน..มันคืออะไรนะ? 🤔
ขี้เกียจหา..คิดเองละกัน 🤣
ถ้าเอาความหมายของอิสระตาม EP.2 มาลองเทียบดู
ก็คงได้ประมาณว่า..
[อิสระทางการเงิน คือ การสามารถทำสิ่งต่างๆได้ตามใจโดยไม่ติดข้อจำกัดเรื่องเงิน]
นี่มัน...
ดีมากเลยนะเนี่ย! 🤣
แบบนี้ก็คือ ซื้ออะไรก็ได้? แจกเงินใครก็ได้?
อยากจะซื้อเครื่องบินมาสะสมวันละลำจนกว่าจะตาย..ได้มั้ย?
ได้สิ..ถ้าไม่ติดข้อจำกัดเรื่องเงิน
หรือก็คือ..มีเงินไม่จำกัด!
ซึ่งมัน..
ได้เหรอ???
มหาเศรษฐีรวยแค่ไหนก็มีทรัพย์สิน'จำกัด'
ต่อให้มีธุรกิจที่มีรายได้เข้าตลอด..มันก็'จำกัด'
ไม่สามารถใช้จ่ายแบบ'ไม่มีขีดจำกัด'
หรือก็คือ...
อิสระทางการเงินตามความหมายข้างต้น..มันไม่มี!
เหมือนตอนอิสระจากทุกสิ่งอีกแล้ว 😅
งั้นก็..นึกมุกเก่าได้ล่ะ! (ขอยืมพี่แถวนี้นะครับ 😁)
ถ้า'ไม่จำกัด'ไม่ได้ ก็ต้อง 'จำกัด' 'ขอบเขต' ให้แคบลง
งั้นถ้าลองคิดความหมายให้มี 'ขอบเขต' เน้นๆ
เอาแบบขั้นต่ำที่น่าจะเป็นไปได้
น่าจะเป็น..
[อิสระทางการเงิน(ขั้นต่ำ) คือ การมีเงิน'พอ'ที่จะสามารถใช้ชีวิตได้ไปจนตายแบบไม่ขาดปัจจัย'จำเป็น'ในการดำรงชีวิต]
แบบนี้น่าจะชัดดีและดูจะเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ
แถมถ้าจะขยับจากขั้นต่ำก็แค่เปลี่ยนจากคำว่า
ปัจจัย'จำเป็น' ไปเป็น ปัจจัยที่ทำให้ 'ไม่รู้สึกขัดสน'
อะไรคือ'จำเป็น'?
ก็คงเป็นค่าอาหาร, ที่อยู่อาศัย, ยารักษาโรค, สาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่ทำให้สามารถดำรงชีวิตต่อได้
อะไรคือ'ไม่รู้สึกขัดสน'?
ก็คงมีสิ่ง'จำเป็น'และเพิ่มส่วนที่ทำให้รู้สึกไม่อึดอัดเกินไป
เช่น
ค่าความบันเทิง (ท่องเที่ยว, สังสรรค์), ครอบครัว (มรดก), สงเคราะห์ผู้อื่น
รวมไปถึง'ค่าความสบายใจ'คือ รวมเงินแล้วยังต้องมีเหลือเกินไว้หลังตาย
ซึ่งไม่ใช่เพื่อมรดกแต่เป็นเผื่อเหตุที่คาดไม่ถึงใดๆ
แล้ว..
เงิน'เท่าไหร่'?ถึงจะ'พอ'กับสิ่ง'จำเป็น'หรือ'ไม่ขัดสน'ล่ะ??
🤔🤔🤔
ถ้าสำหรับทุกคน..
บอกได้เลยว่า..ไม่รู้ครับ! 🤣
ก็แต่ละคน'คิด'ไม่เหมือนกัน
เช่น..
คิดว่าจะอยู่ถึงเมื่อไหร่?
(ว่าง่ายๆจะตายตอนไหนล่ะครับ👻)
คิดว่าต้องเผื่อค่ารักษาพยาบาลแค่ไหน?
คิดว่าค่าใช้จ่ายประจำวันคือเท่าไหร่?
คิดว่าเงินเฟ้อจะเป็นยังไง?
คิดว่า...เยอะครับ! 🤣
แต่ถ้าจะยกตัวอย่างที่เคยเห็นเค้าสอนวางแผนการเงินกันแบบที่คิดว่าง่ายที่สุดคือ..
คิดแค่ว่า'อยาก'มีเงินใช้เดือนละเท่าไหร่
ไปจนถึงอายุเท่าไหร่
แล้วก็ประเมินอัตราเงินเฟ้อแบบเดาๆไปค่านึง
ถ้าจำไม่ผิดน่าจะมีบางเว็บกรอกเลข 3 ตัวนี้ไป
ก็จะช่วยคำนวณเงินเก็บที่ต้องมีให้ครับ 😆
ลองเสิร์ชคำพวก..
'วางแผนการเงิน' 'มีเงินเท่าไหร่พอ'
อะไรแบบนี้ดูก็ได้ครับ
จะมีข้อมูลและคำแนะนำให้ไปค้นคว้าต่อมากมาย
ทั้งวิธีวางเป้าหมายและแนวทางการไปสู่เป้าหมายนั้น
ซึ่งผม..
จะไม่ขอกล่าวถึงเพราะผมไม่ใช่กูรูการเงินครับ!
ลองค้นหาและพิจารณาตามพอใจกันเองนะครับ 😎
(ขี้เกียจแหละดูออก! 🤣🤣🤣)
จะว่าไป ถ้าคิดดีๆ..
'อิสระทางการเงิน' นี่มัน..
ก็แค่เราอยากจะมั่นใจว่าสามารถดำรงชีวิตได้แบบอึดอัดขัดสนจนตาย
ไม่ใช่เรอะ?
เอาจริงๆก็เหมือนว่าเราแค่อยากใช้ชีวิตโดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน
หรือก็คือเราอยากเป็น 'อิสระจากเงิน' ล่ะมั้งนะ?
มัวแต่ 'หาเงิน' มากๆก็อย่าลืมเป้าหมายหลักจริงๆ
เป้าหมายที่ว่าเราจะหาความมั่นใจในการดำรงชีวิตให้รอด
อย่าถึงขั้นปล่อยให้ 'เงิน' ชักนำให้ทำอะไรก็ได้เลยนะครับ..
ผมขอ...
ขออย่าให้ตัวเองเป็นแบบนั้นเลย
💲🤣🤣🤣💲
ถ้าเปรียบกับรูปคนขับรถม้าข้างล่างก็คงเป็นว่า..
ขอให้เราเป็นคนขับม้า(เงิน)เดินทาง(ใช้ชีวิต)
ไม่ใช่ว่า..
นั่งเฉยๆให้มัาพาไป
หรือถ้าจะสุดกว่านั้นก็..
เราเป็นมัาให้เงินเป็นคนขับ
...
น่าจะไม่ดีนะครับ..ว่ามั้ย? 😅
Credit:pixabay.com
จากที่คิดและเขียนมาก็พอจะเห็นแล้วว่า
'อิสระทางการเงิน' (ในความคิดผม) เป็นยังไง
ส่วนแนวทางได้มาที่แม้จะไม่ได้กล่าวถึงชัดเจนในที่นี้ แต่มีสิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนคือ..
[ต้องเริ่มจากวาง 'ข้อจำกัด' หรือ 'ขอบเขต' ก่อน]
เหมือนตอนหาความหมายของ 'อิสระ' ใน EP.2 เลย
แต่ที่ดูจะได้เพิ่มมาอีกหน่อยคือ..
'ข้อจำกัด' หรือ 'ขอบเขต' นั้นจะตั้งได้จาก 'ความพอ' ของเราเองด้วย!?
ซึ่งพอเอาไปเทียบกับความหมายของ 'อิสระ' ที่ตั้งไว้ว่า..
"การทำสิ่งที่อยากทำได้แบบไม่ขึ้นกับใครหรือข้อบังคับควบคุมใดๆ"
'อยากทำ' แบบ 'ไม่มีข้อบังคับ'
แต่จะได้มากลับเริ่มจาก
'ความพอ' และ 'ขอบเขต'
?????
คิดแล้วก็ดูย้อนแย้ง
และน่าตลก..
ตลกแบบแห้งๆด้วยนะ 😅
แต่ก็อาจจะเป็นเฉพาะเรื่องอิสระทางการเงินมั้ย?
ลองคิดเรื่องอิสระอื่นๆดูอีกดีกว่า...
ต้องดีสิ...
จะได้มีตอนต่อไป 🤣
พบกัน EP.5 ครับ
⚠ หมายเหตุซักหน่อย ⚠
แม้ในบทความจะบอกว่าไม่ขอพูดถึงเรื่องแนวทางการเงินแต่อยากจะขอกล่าวไว้เป็นหมายเหตุเตือนใจซัก 2 เรื่องคือ..
(1) จะแนวทางไหน..ก็ต้องดูให้'รายรับ'มากกว่า'รายจ่าย'
(ใครๆก็รู้เหอะ! 🤣🤣🤣)
ซึ่งส่วนใหญ่เราจะหาแต่วิธี 'เพิ่มรายรับ'
เลยอยากจะเตือนว่าพิจารณาเรื่อง 'ลดรายจ่าย' บ้างนะครับ
(ส่วนตัวคิดว่า 'เพิ่มรายรับ' มันสนอง 'ความอยาก' 2 เด้ง
คือ 'ได้เงิน' มาเพิ่ม/มาโชว์ และ 'จ่ายได้มาก' ไม่ต้องลด
ลองสวน 'ความอยาก' โดย 'ลดรายจ่าย' บ้างก็ดีครับ 😁)
(2) อีกเรื่องคือเผื่อใจความไม่แน่นอนของ 'รายรับ' ไว้ด้วยครับ
บางคนทำงานได้ OT, BONUS มาตลอด
เลยจดเหมือนเป็นรายรับถาวร..
แต่พองานหรือเศรษฐกิจเปลี่ยนไป..
OT, BONUS นี่ไปก่อนเลยนะครับ! 😣
อย่าว่าแต่ OT, BONUS เลย ทั้งเงินเดือนและรายได้ประจำของธุรกิจ
มันก็ปรับลดหดหายได้หมดนะครับ
เช่น?...โควิด...โอเคนะครับ?
ที่เขียนไปนี่ไม่ได้สอนใครนะครับ...
สอนตัวเองนี่แหละ! 😂😂😂
KhunKidD
18/01/2021

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา