18 ม.ค. 2021 เวลา 13:44 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สวัสดีครับ วันนี้ผมอยากมาแชร์วิธีการออมเงินฉบับเด็กจบใหม่ หรือที่รู้จักกันในนาม first jobber 🚀 ผมได้เริ่มศึกษาการลงทุนจริงจังเมื่อช่วง covid19 ระบาดใหม่ๆ
2
เศรษฐกิจหยุดชะงักและดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารก็ต่ำมาก ทำให้ผู้คนเริ่มสนใจในการลงทุนมากขึ้น “รวมถึงเด็กจบใหม่อย่างผมด้วยครับ”
1
บทความแรกของผมพูดถึงหลักการคิด 4 ข้อที่ทำให้ผมมีเงินออมเยอะขึ้น ซึ่งผมก็เริ่มจากการเป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งนี่แหละครับ..
2
เก็บเงินลงทุนได้ง่ายๆ สไตล์คนรุ่นใหม่
Mindset: เริ่มต้น day1 กับการลงทุน
🚀 1. อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยด้วยหลักการคิด 2 วัน
เริ่มจากการหาเหตุผลในการซื้อของ 1 ชิ้น พยายามมองหาความจำเป็นของสินค้าชิ้นนั้นว่าจำเป็นแค่ไหน สมมติเจอของฟุ่มเฟือยที่อยากได้ 1 ชิ้น ให้ลองกลับบ้านไปนอนคิด 1-2 วัน
ถ้าภายใน 1-2 วันนี้ยังคงโหยหาและอยากได้อยู่ ให้ไปกลับไปซื้อของชิ้นนั้นซะ! หากไม่ได้โหยหาแล้วแปลว่าสินค้าชิ้นนั้นยังไม่จำเป็นมาก
7
ทริคเด็ด! ผมจะคิดเปรียบเทียบเสมอว่า “หากเอาเงิน X บาท ไปซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยชิ้นนั้น” กับ “เอาเงิน X บาทไปลงทุนในกองทุน 1 กอง ผมจะได้ผลประโยชน์จาก choice ไหนมากกว่ากัน”
1
เช่น ผมผู้มีโทรศัพท์ที่ยังไม่ตกรุ่น เห็นโฆษณาโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่ล่อตาล่อใจออกวางจำหน่าย สามารถผ่อน 0% 10 เดือน เดือนละ 3,000 บาทได้ ผมเกือบจะกดซื้อไปแล้ว! แต่ตัวผมอีกคนในสมองกระซิบผมเบาๆว่า หาก DCA ลงกองทุนเดือนละ 3,000 บาท 10 เดือน จะสามารถ “สร้างเงินเพิ่มในกระเป๋าของเราได้หลายบาทเลยนะ” ผมจึงเลือก choice หลัง ผ่านไป 1-2 วันผมก็เริ่มคิดได้แบบกระจ่างแล้วว่า อ๋อโทรศัพท์เครื่องเก่าก็ยังใช้ได้นี่นาาา..
1
***DCA (Dollar-cost averaging) คือ การลงทุนแบบสม่ำเสมอในสินทรัพย์ที่เราเลือกหรือการลงทุนด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กันทุกเดือน หรือทุกไตรมาส เป็นต้น โดยไม่สนใจว่าราคาของสินทรัพย์ขณะนั้นจะเป็นเท่าไหร่ วิธีการเก็บเงินนี้จะช่วยถัวเฉลี่ยต้นทุนของสินทรัพย์ได้ดีครับ
2
🚀 2. ออม! ก่อนใช้
สมการการเงินเปลี่ยนชีวิตจากเพจลงทุนศาสตร์กล่าวไว้ว่า [ รายได้ = เงินออม+เงินลงทุน+ค่าใช้จ่ายจำเป็น+ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ] โดยสมการจะเรียงลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่าย
7
เมื่อเรามีรายได้หรือเงินเดือนเข้ามา อันดับแรกคือให้หักออมหรือหักไปลงทุนก่อนเลย 30-50% (สามารถปรับให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล)
ผมแบ่งเงินออมส่วนหนึ่งฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (เงินสำรองฉุกเฉิน 10-20%) และเงินส่วนใหญ่นำไปลงทุนผ่านกองทุนรวม (20-30%) ทั้งนี้หากใครมีหนี้ก็ควรชำระหนี้ให้หมดก่อนนะครับ หรือจะแบ่งไปชำระหนี้ควบคู่กับการลงทุนส่วนหนึ่ง 5-10% ก็ยังดีครับ
🚀 3. หาตัวช่วยควบคุมการใช้จ่าย
การควบคุมการใช้จ่ายเเต่ละวันเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนตัวผมใช้แอปบนมือถือ จดรายรับ/รายจ่ายเป็นประจำทุกครั้งหลังใช้เงิน ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าแต่ละเดือนเราหมดเงินไปกับอะไร ทุกสิ้นเดือนผมจะเอาค่าใช้จ่ายมานั่งดูว่าควรลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นตรงไหนได้บ้างแอปที่ผมใช้คือ Money Lover ใช้งานง่ายดีครับ
5
เรื่องบัตรเครดิต ทุกครั้งที่มีการรูดบัตรผมจะโอนเงิน เติม/คืน เข้าไปในบัตรเครดิตเลย ซึ่งปลูกฝังนิสัยนี้ให้เป็นประจำเพื่อลดค่าดอกเบี้ยครับ อย่าให้สะสมจนถึงวันสรุปยอดไม่อย่างนั้นจะกระทบกับแผนการออม/ลงทุนในเดือนถัดไป
1
🚀 4. ลงทุน! ให้เงินทำงาน
ปัจจุบันมีหลายสินทรัพย์มากให้เราเลือกลงทุนไม่ว่าจะเป็นเงินฝากประจำ หุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ สลากออมทรัพย์ หรือหวย(อันนี้เป็นการลงทุนที่เสี่ยงมากเลยนะครับอิอิ) แต่ละชนิดให้ผลตอบแทนต่างกัน ความเสี่ยงสูงผลตอบเเทนก็สูงตามครับ
3
ผมเลือกลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศประเภท Feeder fund เป็นการลงทุนผ่าน บลจ.ในประเทศไทยที่นำเงินเราไปลงทุนในกองทุนที่อยู่ต่างประเทศอีกที
ซึ่งจะอธิบายภายหลังนะครับ ข้อดีของการลงทุนในกองทุนรวมคือ ลงทุนง่าย! สามารถเริ่มต้นด้วยเงินทุนจำนวนน้อย, มีผู้เชี่ยวชาญ(ผู้จัดการกองทุน)คอยบริหารเงินให้, ที่สำคัญคือเรามีเวลาไปทำอย่างอื่นมากขึ้น ไม่ต้องคอยติดตามตลอดทั้งวันว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง เนื่องจากกองทุนส่วนมากจะ balance ความเสี่ยงให้ชนะตลาดอยู่แล้ว (กองทุนรวม active), ลงทุนเติบโตไปกับ บ.ยักษ์ใหญ่ได้ทั่วโลก, สามารถเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมที่สนใจได้ โดยแต่ละกองทุนจะถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 30 ตัว ดังนั้นเราจะได้ลงทุนกับหลาย บ.รวมทั้งยังลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้ดีกว่าการถือหุ้นรายตัว เป็นต้น
4
ผลตอบเเทนจากการลงทุนผ่านกองทุนรวมต่างประเทศให้ผลตอบเเทน 7-15% ต่อปี (ขึ้นอยู่กับการจัดแผนการลงทุนและความเสี่ยงที่รับได้ของเเต่ละคน) ซึ่งหากเรามีเงินเย็นหรือมีเป้าหมายทางการเงินโดยไม่ได้ใช้เงินในอีก 2-3 ปี ผมว่ากองทุนรวมก็เป็นตัวเลือกที่ดีครับ
***ความเสี่ยงในที่นี้คือ เสี่ยงต่อการสูญเสียเงินต้นครับซึ่งกองทุนรวมจะมีตั้งเเต่เสี่ยงระดับ 1-7 เลยครับ
สรุป* ถ้าอยากมีเงินเก็บต้องหักห้ามใจ + หักเป็นเงินออมตั้งเเต่ได้รับเงินเดือน + คุมค่าใช้จ่าย เพื่อเอาเงินที่เหลือแต่ละเดือนมาลงทุน โดยนำไปลงทุนซื้อสินทรัพย์ลงทุน
3
(ตามความคิดผมนะ ถ้าเก็บเงินไว้ในบัญชีธนาคารปกติมันสามารถถอนเงินออกมาได้ง่าย แต่การที่เราเอาเงินไปไว้ในสภาพแวดล้อมที่ถอนเงินออกมาได้ยากกว่าเดิมขึ้นนิสนึง จะทำให้เกิดแรงเสียดทานที่จะอยากถอนเงินออกมาใช้ฟุ่มเฟือยครับ เอาไปซื้อกองทุนซะเลย กว่าจะขาย กว่าเงินจะเข้า ก็ใช้เวลา+เสียค่าธรรมเนียมทำให้เราไม่อยากขายแถมได้เห็นเงินโตเอาๆ)
3
ทั้งนี้ควรตั้งเป้าหมาย ว่าจะเอาเงินไปทำอะไร ก้อนนี้ใช้เวลาเก็บกี่ปี ต้องการผลตอบเเทนกี่ % ต่อปี หลังจากนั้นก็เลือกจัดสรรสินทรัพย์ลงทุนให้ได้ผลตอบเเทนตามเป้าหมายได้เลยครับ
ต่อไปผมจะพาไปเรียนรู้ Platform ที่เอื้ออำนวยให้การซื้อขายการลงทุนของคุณเป็นเรื่องง่าย..
4
สามารถพูดคุยแชร์ความคิดเห็นกันได้นะครับ อยากรู้จักทุกคนเลย
ฝากกด share และ กด follow กันด้วยน้าาา
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา