20 ม.ค. 2021 เวลา 10:29 • สุขภาพ
สยามไบโอไซเอนซ์ Siambioscience บริษัทอันเกิดจากพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เพื่อคนไทยได้ใช้ยาในราคาที่ไม่แพง..🙏๙
1
ด้วยปรัชญา..Our loss is our gain
..
คุณเคยได้ยินประโยคที่ว่า
"ถ้าคุณเป็นคนจน ก็จงตายไปซะ"
ไหมครับ?
..
3
คำกล่าวประโยคนี้กำลังสะท้อนอะไร?
คำกล่าวนี้กำลังสะท้อนว่า...
หากใครคนใดเจ็บป่วยไข้ไม่สบายแล้วจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลด้วยยาราคาแพง
หากคุณไม่มีเงินพอจ่าย ก็จงตายไปซะ...
..
ในวงการสาธารณสุขทราบกันดีว่า บ้านเราไม่ได้ขาดแคลนหมอเก่ง ๆ นักวิจัย หรือบุคคลากรทางการแพทย์เก่ง ๆ ...
แต่สิ่งที่เราขาดคือ ยาและวิทยาการทางการแพทย์ที่ราคาสูงที่เราผลิตเองไม่ได้ ส่วนใหญ่เราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศและมีใช้ในโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐชั้นนำเพียงบางแห่ง ซึ่งไม่ทั่วถึงและมีราคาแพง
1
แพงจนคนทั่วไป ยากจะเข้าถึง
ปัญหานี้หลายคนทราบ
แต่ไม่มีใครทำอะไร...
1
..
แต่ด้วยน้ำพระทัยและพระปรีชา
ญาณของพระบาทสมเด็จพระชนกา
ธิเบศวร ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ของปวงชนชาวไทย
พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า..
คนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของชาติ
ปัญหาคนไทยที่นับวันมีความเจ็บป่วยไข้ด้วยโรคภัยที่สลับซับซ้อนขึ้น ตามวิวัฒนาการของเชื้อโรคและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
2
หากเราต้องพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศเท่านั้น มันคือความไม่มั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศ
ยาและวัคซีนหลายชนิดมีราคาสูง ซึ่งทำให้สวัสดิการของรัฐเช่น สิทธิ์ข้าราชการ ประกันสังคมหรือประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง)ไม่สามารถเบิกจ่ายยาเหล่านี้ให้กับประชาชนผู้ใช้สิทธิ์ที่เจ็บป่วย โดยเฉพาะคนยากไร้ได้
1
..
ด้วยพระราชปณิธานสำคัญนี้เอง จึงเป็นที่มาของการก่อตั้งบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ด้วยทุนก่อตั้งจำนวน 5,000 ล้านบาทโดยมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์(ขณะนั้น)ถือหุ้น 100 %
วัตถุประสงค์หลักของบริษัทคือทำการวิจัยพัฒนาและผลิตยา วัคซีน เครื่องมือทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
โดยพร้อมกับมีการก่อตั้งบริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด ขึ้นอีกหนึ่งบริษัทเพื่อทำหน้าที่ทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
..
เมื่อเราได้รู้จักที่มาของบริษัทสยาม
ไบโอไซเอนซ์ ไปแล้ว
ต่อมาคือการตอบคำถามว่า ทำไมสยามไบโอไซเอนซ์จึงได้เป็นผู้จำหน่ายวัคซีนของบริษัท AstraZeneca ในประเทศไทยและเป็นผู้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตหนึ่งเดียวในอาเซียน
3
..
เรื่องนี้ต้องย้อนไปตั้งแต่การเริ่มวิจัยวัคซีนโควิด - 19 ของมหาวิทยาลัย Oxford ประเทศอังกฤษ
1
ความตั้งใจของทางOxford ในการวิจัยวัคซีนโควิด - 19ครั้งนี้ ต้องการจะผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพภายใต้ข้อตกลงร่วมกับภาคเอกชนที่ว่า..
"ในสถานการณ์วิกฤติไวรัสโควิด - 19 ระบาดหนักครั้งนี้ ไม่ควรเป็นเวลาที่ใครจะมาตักตวงผลประโยชน์จากการคิดราคาวัคซีนที่แพง ซึ่งจะทำให้มีคนจำนวนมากบนโลกใบนี้เข้าไม่ถึงวัคซีน"
1
จึงเป็นที่มาของข้อตกลงกับทางบริษัท
AstraZeneca ผู้ผลิตวัคซีนโควิด - 19 ภายใต้ผลงานวิจัยของ Oxford ว่าจะผลิตวัคซีนและจำหน่ายในราคาที่ไม่มีกำไรก่อนในช่วงแรก
ด้วยวัตถุประสงค์หลักนี้เอง จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างทาง AstraZeneca กับบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ที่จะผลิตและจำหน่ายวัคซีนในราคาที่ถูกและไม่สร้างกำไร
เพราะบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ เป็นเพียงบริษัทเดียวที่เข้าหลักเกณฑ์และมีความพร้อม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
1
และในฐานะที่ไทยโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์เป็นผู้ร่วมผลิตวัคซีนในครั้งนี้ ทำให้วัคซีนลอตแรกที่เราจะได้มาจากทาง AstraZeneca เราซื้อได้ในราคาเพียง 5 ดอลล่าร์สหรัฐหรือ 151 บาทต่อหลอด ซึ่งถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับวัคซีนที่ประเทศอื่นกำลังใช้อยู่ในขณะนี้
..
อ้างถึงคำพูดของ นพ.นคร เปรมศรี
ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
ที่กล่าวไว้ว่า
"เรื่องวัคซีน ไม่ใช่ใครนึกจะทำก็ทำได้เลย ต้องมีความพร้อม มีการเตรียมการ ซึ่งทางเราได้มีการทำงานร่วมกับผู้วิจัยและผลิตคือ Oxford และ AstraZeneca มาโดยตลอด"
"การที่เราสามารถมีความพร้อมตรงนี้ได้ ก็ด้วยแนวพระราชดำริ ว่าการทำงานเกี่ยวกับชีววัตถุทางยา เป็นเรื่องที่จะมาคิดกำไรแบบธุรกิจเลยไม่ได้
เพราะการที่เราจะได้ยาแต่ละชนิดมาต้องผ่านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูงและระยะเวลายาวนาน"
การทำงานนี้จึงต้องใช้หลัก
Our loss is our gain
ขาดทุนคือกำไร
1
บริษัทอาจจะขาดทุนหรือมีกำไรน้อย
ไม่เป็นไร ประเทศชาติ ประชาชนที่ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีคุณภาพในราคาที่เข้าถึงได้ โดยไม่แบ่งฐานะต่างหาก
2
นั่นคือ กำไรที่แท้จริง
🙏น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
1
..
ภาพประกอบจากunsplash
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา