25 ม.ค. 2021 เวลา 01:30 • สุขภาพ
ข้อเท็จจริงเรื่องราคาวัคซีน AstraZeneca ที่สื่อใหญ่พูดไม่หมด ทำไมแพงกว่ายุโรป เทียบราคาต่อยี่ห้อ เงื่อนไขที่มีผลต่อราคา
จากประเด็นที่มีการตั้งคำถามว่าทำไมวัคซีน AstraZeneca ที่มีการเปิดเผยราคาออกมาทั้งจากผ่านสำนักข่าวต่างๆ รวมทั้งสื่อออนไลน์ที่แปลข้อมูลมาจากสำนักข่าวต่างประเทศที่ลงเรื่องราวนี้ไว้นั้น Reporter Journey ที่มักจะสนุกกับการเล่นกับการค้นหาข้อมูลต่างๆ มาตอบข้อมสงสัยของตัวเองและผู้ติดตาม จึงเกิดคำถามว่าสิ่งที่ถูกนำเสนอนั้นครบถ้วนมากน้อยเพียงใด หรือมีอะไรที่ต้องรู้เพิ่มเติมจากที่เห็นจากข้อมูลเดียวหรือไม่
3
ดังนั้นในประเด็นของราคาวัคซีน AstraZeneca ที่มีการเปิดเผยข้อมูลออกมาว่าทำไมราคาในยุโรป สหรัฐ หรือแม้แต่ในไทย ถึงไม่เท่ากันนั้นมันเป็นเพราะอะไร และวัคซีนแต่ละยี่ห้อมีราคาเท่าไหร่กันบ้าง บทความนี้จะตอบใน 2 ข้อสงสัยนี้
เทียบราคาวัคซีนของแต่ยี่ห้อ
ข้อมูลแรกมาจากสำนักข่าว BBC อังกฤษเรื่อง “Covid vaccines: Will drug companies make bumper profits?” กล่าวถึงข้อมูลของการผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด – 19 โดยเป็นการร่วมพัฒนาจากหน่วยงานเอกชน บริษัท มูลนิธิเพื่อการกุศล หรือแม้แต่มหาเศรษฐีชื่อดังระดับโลก รวมทั้งมีรัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่สนับสนุนการผลิตวัคซีนโดยเทงบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์ร่วมด้วย
1
จุดประสงค์หลักก็คือการผลิตวัคซีนที่มีราคาไม่สูงมาก และเข้าถึงกลุ่มของประชาชนทุกชนชั้นไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศยกจนก็ต้องได้รับวัคซีนในปริมาณต่อคนที่ 2 โดสตามเกณฑ์ เพื่อประสิทธิภาพในการสูงสุดในการป้องกัน
บริษัทบางแห่งไม่ต้องการถูกมองว่าทำกำไรจากวิกฤตครั้งนี้ โดยเฉพาะหลังจากได้รับเงินทุนจากภายนอกจำนวนมาก เช่น Johnson & Johnson ผู้ผลิตยารายใหญ่ของสหรัฐ และบริษัท AstraZeneca ของสหราชอาณาจักรซึ่งทำงานร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ที่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะขายวัคซีนในราคาที่ไม่สูงและคุ้มค่า เข้าถึงได้ ปัจจุบัน AstraZeneca มีราคาถูกที่สุดที่ 4 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส
6
Moderna บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขนาดเล็กซึ่งทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังวัคซีน RNA ที่ล้ำสมัยมานานหลายปี กำลังกำหนดราคาที่สูงขึ้นมากถึง 37 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส จุดมุ่งหมายคือการทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัท (แม้ว่าส่วนหนึ่งของราคาที่สูงขึ้นจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการขนส่งวัคซีนในอุณหภูมิต่ำมาก)
7
นั่นไม่ได้หมายความว่าราคาวัคซีนเหล่านั้นจะคงที่ โดยปกติบริษัทยาจะเรียกเก็บเงินที่มีสัดส่วนแตกต่างกันในแต่ละประเทศตามที่รัฐบาลสามารถจ่ายได้
1
ซึ่ง AstraZeneca ยืนยันว่าจะรักษาระดับราคาให้อยู่ในระดับต่ำในช่วงเวลาของการระบาดเท่านั้น และเมื่อวิกฤติซาลงอาจเริ่มจำหน่ายวัคซีนในราคาที่สูงขึ้นในต้นปีหน้า แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการระบาด ณ ขณะนั้น
1
ข้อมูลช่วงราคาของวัคซีนป้องกันโควิด – 19 ของบริษัทต่างๆ ต่อโดส / BBC
จากภาพอินโฟกราฟฟิกนี้ซึ่งเป็นข้อมูลมากจาก ยูนิเซฟ รัฐบาลสหรัฐ และองค์การอนามัยโลก เผยให้เห็นช่วงราคาวัคซีนต่อโดสของบริษัทต่างๆ โดยเรียงจากถูกไปแพงดังนี้
1
– AstraZeneca ราคา : 4 – 8.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส (ถูกที่สุด)
1
– Johnson & Johnson ราคา : 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส
– Sputnik V ราคา : 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส
– Sanofi/GSK ราคา : 10.65 – 21 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส
– Curevac ราคา : 11.84 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส
– Sinovac ราคา : 13:6 – 29.75 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส
1
– Novavax ราคา : 16 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส
– Pfizer/BioNTech ราคา : 18.39 – 19 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส
– Moderna ราคา : 25 – 37 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส
1
ไขข้อมูลทำไมทั่วโลกใช้วัคซีน AstraZeneca แพงกว่ายุโรป
มีประเด็นที่เป็นที่พูดถึงว่า ทำไมในยุโรปถึงสามารถซื้อวัคซีนต่อโดสของ AstraZeneca ได้ถูกกว่าไทยและประเทศทั่วโลกที่ 2.18 ดอลล่าร์สหรัฐต่อโดส จนเกิดการเปรียบเทียบราคาขึ้นมา
ข้อมูลนี้เป็นการเรียบเรียงจากหลายแหล่งข้อมูลทั้ง คณะกรรมาธิการยุโรป วอชิงตัน โพสต์ และ Business insider ระบุว่า สาเหตุที่ทางประเทศในยุโรปได้วัคซีนราคาถูกกว่าไทยคือ
2
1. สหภาพยุโรปได้ให้เงินทุนสนับสนุนเพื่อร่วมพัฒนาวัคซีนตั้งแต่อยู่ในงานวิจัยเฟส 2 ซึ่งเงินสนับสนุนนี้เป็นเหมือนกับการจองแบบ “พรีออเดอร์” ก่อนใครจำนวน 200 ล้านโดส และจองอีก 100 ล้านโดส ในนามของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป รวมทั้งระดมเงินทุนอีก 16,000 ล้านยูโร เพื่อสนับสนุนการสำหรับการเข้าถึงการทดสอบ การรักษา และการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสทั้งในยุโรปและทั่วโลก ดังนั้นมันก็ย่อมได้ของที่ราคาถูกกว่าอยู่แล้ว แต่ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงหากวัคซีนนั้นไม่ประสบความสำเร็จดังคาดหวัง
4
2. รัฐบาลสหรัฐสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาวัคซีนให้กับ AstraZeneca มากถึง 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Moderna ได้รับทุนที่ 4,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้สหรัฐได้วัคซีนสูตร Oxford ในราคาที่ 4 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส ส่วนวัคซีน Moderna ที่ 15 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส พร้อมกับเงื่อนไขซื้อเหมาวัคซีน AstraZeneca ที่ 300 ล้านโดส และซื้อเพิ่มอีก 100 ล้านโดส ซึ่งมากกว่าไทยที่จองวัคซีนจำนวน 29 ล้านโดสถึง 20 เท่า
1
3. วัตถุดิบ และสารเคมี ที่ใช้เป็นองค์ประกอบการทำวัคซีนทั้งหลายถูกผลิตขึ้นในยุโรป และไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ไม่เสียค่าขนส่ง แถมได้รับการผลักดันสนับสนุนร่วมกันทั้งภูมิภาคในการผลิตวัคซีน รวมทั้งรัฐบาลของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปก็ข้ามไปให้เงินลงทุนวิจัยวัคซีนบริษัทอเมริกันอีกด้วย ซึ่งหน่วยงานด้านการเงินของสหภาพยุโรปเสนอเงินกู้ 122 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับ Pfizer/BioNTech เพื่อช่วยในการพัฒนาวัคซีน ตามด้วยเงินอีก 458 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากรัฐบาลเยอรมนีอีกก้อน
1
ดังนั้นราคาวัคซีนในยุโรปจึงถูกกว่าภูมิภาคอื่นก็ไม่แปลกอะไร เพราะว่ารัฐบาลอียูมีการอุดหนุนทุ่มเงินให้กับการวิจัยกันมหาศาลของบริษัทวัคซีนต่างๆ อย่างมหาศาล แถมต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า และการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรนั่นเอง
1
กลับมาที่ประเทศไทยผู้ซึ่งไม่ได้ออกเงินช่วย AstraZeneca วิจัยเลยสักสตางค์แดงเดียวก็จริง แต่รัฐบาลไทยใช้งบประมาณราว 500 ล้านบาท หรือเพียง 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ปรับปรุงโรงงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดการผลิตวัคซีนของ AstraZeneca และได้วัคซีนที่ราคาต่อโดสคือ 5 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้อีก เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนกระจ่ายสู่ภูมิภาคในอนาคต
1
ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น แอฟริกาใต้โดนไป 5.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส ปากีสถาน 6 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนก็ 7.8 – 8.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส
ดังนั้นการที่ไทยได้วัคซีนของ AstraZeneca ได้ราคาที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อโดส โดยที่ไม่ได้ทุ่มงบลงทุนการวิจัยให้กับบริษัทแห่งนี้เลย แล้วทำให้วัคซีนมีราคาแพงหรือไม่นั้น ตรงนี้ผู้อ่านก็ต้องไปลองตกผลึกทางความคิดต่อเอาเอง แล้วเปรียบเทียบกับปัจจัยต่างๆ ที่รวบรวมมาให้อ่านกันในบทความนี้
ส่วนการนำเสนอข่าวของหลายสำนักข่าว หรือสื่อต่างๆ ที่เป็นข้อมูลจากที่เดียวและอาจไม่ครบถ้วนนั้น ผู้อ่านอาจก็ต้องพิจารณาข้อมูลให้รอบคอบ สามารถวิเคราะห์ และตกผลึกข้อมูลให้ได้ก่อนที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อข้อมูลใดๆ รวมทั้งข้อมูลที่ Reporter Journey นำเสนอด้วย เพื่อจะได้รับสาส์นหลายๆ ด้าน และเท่าทันต่อสื่อนั่นเอง
โฆษณา