25 ม.ค. 2021 เวลา 01:16 • สุขภาพ
23 ม.ค.64 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "บริษัทพระราชทาน" ไม่ใช่ "วัคซีนพระราชทาน" ผ่าน www.thaipost.net โดยมีรายละเอียดดังนี้
ถาม ไลฟ์สด ของธนาธร เรื่อง “วัคซีนพระราชทาน : ใครได้ใครเสีย” โดนรัฐบาลส่งคนไปแจ้งความเอาผิด มาตรา ๑๑๒ ได้อย่างไร ใครวิพากษ์รัฐบาลก็โดน ๑๑๒ ปิดปากเอาได้ง่ายๆ ยังงี้หรือ ?
ตอบ บทไลฟ์สดที่ว่านี้ คุณต้องแบ่งเนื้อความเป็นสองส่วน ส่วนที่วิพากษ์นโยบายจัดซื้อวัคซีน โควิด ของรัฐบาล กับส่วนที่พาดพิงสถาบัน
แม่แฮปปี้ ถ่ายโล่งทุกเช้า เพราะมาเจอตัวนี้...
Boozto
ส่วนวิพากษ์นั้น คุณธนาธรเขาเห็นว่า
๑.การจัดหาวัคซีนของรัฐบาลช้าเกินไป ไม่กระจายความเสี่ยง สั่งจองกับ แอสตร้าซีเนกร้าเจ้าเดียว มีวัคซีนของจีนเจือมาบ้างนิดหน่อย แถมยังสั่งไม่เพียงพอกับจำนวนประชากรอีกด้วย
๒. บริษัทสยามไบโอไซแอนซ์ ที่แอสตร้าฯจ้างผลิตวัคซีนนั้น ขาดทุนต่อเนื่องไม่น่าไว้วางใจให้มาดูแลผลิตวัคซีนเกือบทั้งหมดให้ประเทศไทย
ถาม พูดแค่นี้ก็ผิดแล้วหรือครับ
ตอบ ยังครับ มันมีส่วนที่สองที่พาดพิงสถาบันว่า
๑. เป็นการไม่ชอบมาพากลอย่างยิ่งที่รัฐบาล ออกเงินให้สยามไบโอฯ ปรับปรุงโรงงานเครื่องจักรเครื่องมือในงานผลิตวัคซีนนี้ด้วยกว่า ๑,๕๐๐ ล้านบาท ( มีสัญญาให้ชำระคืนในรูปของวัคซีนในภายหลัง )
๒. นโยบายที่ผิดพลาด และการให้เงินสนับสนุนที่ไม่ชอบมาพากลนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น คุณธนาธรไม่บรรยายตรงๆ ว่าในหลวงสั่งการ แต่บอกข้อมูลว่าสยามไบโอนี้มีในหลวงถือหุ้น ๑๐๐ % แล้วใช้คำในหัวข้อว่า “วัคซีนพระราชทาน”
๓. แล้วเขาเสริมด้วยนะครับว่า การตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นในไตรมาสที่สามของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ม๊อบเยาวชนปลดแอกกำลังโจมตีสถาบันอย่างหนักพอดี การให้บริษัทในหลวงโผล่มาผลิตวัคซีนให้ประชาชน จึงเป็นนโยบายซ่อมแซมความเสียหายทางเกียรติภูมิให้สถาบันด้วย
ถาม การบอกโดยปริยาย ใช้ถ้อยคำและเดินเรื่องให้ผู้ฟังเข้าใจได้เองเช่นนี้ ถือเป็นการใส่ความได้แล้วหรือยังครับ
ตอบ ประเด็นตัดสินในคดีก็อยู่ตรงนี้แหละครับ ว่าท้องเรื่องและคำนี้ชัดพอไหมที่จะถือเป็นการใส่ความในหลวง ที่ผ่านมาก็มีคนใช้คำในทำนองนี้มาแล้วเช่นใช้คำว่า“กระสุนพระราชทาน” เพื่อสื่อว่าในหลวงรู้เห็นในการใช้อาวุธกับฝ่ายตนด้วย
ถาม เห็นธนาธรเขาอ้างว่า เมื่อพฤศจิกายนปีที่แล้ว ในคราวชี้แจงเรื่องการจัดซื้อวัคซีนนั้น นายกฯลุงตู่ก็พูดพาดพิงไว้แล้วในครั้งนั้นว่า งานนี้ “ในหลวงได้พระราชทานบริษัทในพระปรมาภิไธยให้มาผลิตวัคซีนด้วย”
ดังนั้นการที่เขาพูดตามคำพูดลุงตู่ข้างต้นว่า “วัคซีนพระราชทาน” จึงไม่แปลก
ตอบ นายกฯลุงตู่เขาบอกว่าในหลวง “พระราชทานบริษัท” ไม่ใช่ “พระราชทานวัคซีน”สองคำนี้ให้ความเข้าใจต่างกันคนละเรื่องเลย ที่ลุงตู่พูดน่าจะหมายถึงการกราบทูลขอให้เจ้าของบริษัท ทรงเห็นด้วยกับการที่สยามไบโอจะรับงานผลิตวัคซีนตามโครงการที่ผู้เกี่ยวข้องได้ไปเจรจากับแอสตร้าซีเนกร้าเท่านั้นก็ได้ การที่ลุงตู่ใช้คำว่า“ในหลวงพระราชทานบริษัทในพระปรมาภิไธยให้รับผลิตวัคซีน ” จึงถูกต้องแล้วส่วนควรจะพูดหรือไม่นั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ถาม คดี ๑๑๒ ของธนาธร จึงมีประเด็นชี้ขาดอยู่ตรงการใช้คำคำนี้
ตอบ ครับ เวลาอัยการเขียนคำฟ้อง ก็ต้องบรรยายฟ้องว่า จำเลยขึ้นต้นหัวข้อก็บอกไว้แล้วว่า”ใครได้ใครเสีย” จากนั้นในท้องเรื่องก็ชี้ถึงมาตรการที่ไม่ชอบมาพากล ไม่สมเหตุผล แล้วมีบริษัทของในหลวงได้ประโยชน์ ส่วนจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเจ้ากี้เจ้าการนั้น จำเลยก็จบด้วยคำที่ขึ้นต้นไว้ก่อนแล้วว่า “วัคซีนพระราชทาน”
ถาม จำเลยคงปฏิเสธท่าเดียวว่า ตนเองวิพากษ์นายกฯลุงตู่เท่านั้นว่าแอบอ้างในหลวงมาคุ้มกันนโยบายที่ผิดพลาดของตน
ตอบ ถ้าต้องการแค่นี้ มันไม่จำเป็นต้องวิพากษ์พาดพิงถึงในหลวงเลยก็ได้ ตั้งหัวข้อว่า
“นโยบายจัดหาวัคซีนโควิดของรัฐบาล : ใครได้ใครเสีย? ” เปลี่ยนหัวข้อแค่นี้ก็รอดตัวแล้วครับ น่าเสียดายที่เกินเลยจนจะเข้าคุกอย่างนี้
ถาม ทำไมต้องเสียดายครับ
ตอบ คนรุ่นใหม่ควรเป็นความหวังใหม่ ส่งผู้แทนดีๆเก่งๆมาช่วยติดตามตรวจสอบแก้ไขความเลวในแผ่นดินนี้ได้ดีกว่ารุ่นผม แต่ผู้นำที่ชักใบเรือขึ้นมารับลมรับพลังเยาวชนไทยในยุคนี้ ได้พลังแล้วกลับถือท้ายพาเรือมุดเข้าป่าชายเลนไปเลย
นโยบายจัดหาวัคซีนโควิดครั้งนี้ของรัฐบาลก็เช่นกัน ผมเห็นด้วยว่ามีจุดที่ควรตรวจสอบซักถามอยู่จริงๆ แต่แทนที่พวกธนาธรเขาจะสืบสาวกันให้จริงจัง กลับเกินเลยพุ่งมาพาดพิงสถาบัน ถึงขั้นเป็นคดีใส่ความให้ในหลวงเสียหายไปเสียได้
ถาม เข้าตำรา “ปากหมาพาโชค ”
ตอบ มันเป็นปัญหาที่สมองและหัวใจครับ ไม่ใช่ปาก.
โฆษณา