25 ม.ค. 2021 เวลา 23:30 • ธุรกิจ
จับตามอง CPALL พี่ใหญ่ค้าปลีกที่ยังรอวันฟื้นตัว
เมื่อกล่าวถึงหุ้นที่เป็นขวัญใจมหาชนและพี่ใหญ่ในกลุ่มค้าปลีกอย่าง CPALL ขึ้นมาแล้ว เชื่อว่าเพื่อนๆก็น่าจะทราบปัญหาที่ทำให้หุ้นตัวนี้เกิดการสะดุดทางกำไรสุทธิกันอย่างแน่นอน
โดยในช่วงที่ผ่านมานั้นเราก็คงจะสังเกตุเห็นว่าดัชนีของ SET มีการปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างดีถึงราวๆ 300 จุด แต่หุ้นกลุ่มที่ดูเหมือนว่าจะยังโดนกดดันจากปัญหาการแพร่ระบาดของ Covid-19 ก็คือหุ้นกลุ่ม “ค้าปลีก”
และก็คงจะหนี้ไม่พ้นพี่ใหญ่อย่าง CPALL หรือบมจ. ซีพี ออลล์ บริษัทเจ้าของร้านค้าปลีกอันดับ 1 ในประเทศไทยอย่าง“7-Eleven” โมเดิร์นเทรดที่มีสาขาอยู่ทั้งหมดถึง 11,983 แห่ง
3
เพราะการ Lockdown รอบก่อนก็ทำให้พวกเขาได้รับผลกระทบไปหนักอยู่เหมือนกันครับ จากที่เคยเป็นร้านสะดวกซื้อ24 ชั่วโมงก็โดนลดเวลาเปิดลงไปถึง 5-6 ชั่วโมงในตอนนั้น
แต่ CPALL และร้านค้าปลีกอย่าง 7-Eleven ก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่ผ่านวิกฤติมาได้หลายครั้งหลายคราวอยู่ครับ เนื่องจากว่า CPALL ได้ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2531 และ 7-Eleven สาขาแรกที่หัวมุมถนนพัฒน์พงษ์ก็ได้เปิดขึ้นในปีต่อมา(พ.ศ. 2532) นั่นเอง
💰งบการเงินของ CPALL
ปี 2560 รายได้ 489,403 ล้านบาท
กำไร 19,907 ล้านบาท
1
ปี 2561 รายได้ 527,859 ล้านบาท
กำไร 20,929 ล้านบาท
1
ปี 2562 รายได้ 571,110 ล้านบาท
กำไร 22,343 ล้านบาท
1
(ล่าสุด)งวด 9 เดือนปี 2563
รายได้ 409,381 ล้านบาท
กำไร 12,530 ล้านบาท
โดยถ้าหากเรามานั่งดูความสำเร็จของ CPALL ย้อนหลังกลับไปก็จะพบว่าบริษัทและหุ้นตัวนี้ได้เกิดการเปลื่ยนแปลงก้าวใหญ่ๆมาแล้วถึงสองครั้งด้วยกัน รอบแรกคือการเปลื่ยนจากการเป็นร้านค้าที่เน้นการขายสินค้ามาเน้น “ขายความสะดวก” ให้มากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นบริการรับจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่ารูดบัตรเครดิต หรือจะเป็นการย้าย “ร้านอาหาร” เข้ามาอยู่ใน7-Eleven จนทำให้สัดส่วนของสินค้าประเภทอาหารเพิ่มขึ้นมาเป็นราวๆ 80% ในปัจจุบัน
ก้าวสำคัญครั้งที่สองของ CPALL ก็คือการเข้าซื้อธุรกิจค้าส่งอันดับ 1 อย่าง MAKRO ที่ถึงแม้ว่าจะทำให้ CPALL ต้องแบกรับภาระไปยาวนานกว่า 2-3 ปีกว่าที่จะเริ่มรับรู้เป็นกำไรในตอนนั้น
3
แต่สุดท้ายแล้วผลงานของ MAKRO ก็แสดงให้ทุกคนเห็นว่าเจ้าสัว ”ธนินท์ เจียรวนนท์” อ่านเกมส์ได้อย่างเฉียบขาดในการซื้อ MAKRO เข้ามา
และล่าสุด การเดินหน้าเพื่อขยายอาณาจักรของ CPALL ก็ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในปีพ.ศ. 2564 หลังจากที่ดีลบันลือโลกอย่างการซื้อธุรกิจ Hypermarket อันดับ 1 ในบ้านเราอย่าง Lotus จากกลุ่ม TESCO ได้ถูกยืนยันมาเป็นที่เรียบร้อย
ว่า CPALL และ CPF จะทำการเข้าซื้อบจ. เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) และ Tesco Stores (Malaysia) Sdn. Bhd. หรือกิจการเทสโก้ โลตัส ในประเทศไทยและมาเลเซียทั้งหมด โดยประเด็นนี้ก็ทำให้ตลาดเกิดความกังวลเกี่ยวกับเรื่องการ“เพิ่มทุน” กันอยู่ไม่น้อยในตอนแรก
แต่สุดท้ายแล้วรายละเอียดก็ได้ถูกแจ้งออกมาว่าจะไม่มีการเพิ่มทุนเกิดขึ้น ซึ่งการลงทุนเพื่อเข้าซื้อเทสโก้ โลตัส ในครั้งนี้ก็จะมาจากการ “กู้ยืมระยะสั้น” จากสถาบันการเงินและกระแสเงินสดภายในกิจการผ่านนิติบุคคลที่อย่างบจ. ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง ที่เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบจ. ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้นต์
โดยภายหลังการควบรวมสำเร็จ CPALL ก็จะเป็นผู้ถือหุ้นใน TESCO LOTUS เอเชียในสัดส่วนที่ 40% หรือคิดเป็นเงินลงทุน 3 พันล้านเหรียญ ส่วน CPF จะมีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 20% หรือราวๆ 1.5 พันล้านเหรียญ
จริงอยู่ที่ว่าการลงทุนในครั้งนี้จะส่งผลให้ CPALL ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยไปถึงหลักหมื่นล้านในแต่ละปี แต่ถ้าหากมองอีกมุมว่าเทสโก้ โลตัส นั้นจะสามารถเข้ามาเติมเต็มและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ CPALL ได้หลังจากที่หมดภาระดอกเบี้ยไปเหมือนครั้งที่เคยซื้อ MAKRO กันได้อีกไหม ?
4
ส่วนปัจจัยสำคัยอย่างสถานะการณ์ของ Covid ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกัน เพราะถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไรร้ายแรงจนเกินไป กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆก็น่าจะเริ่มทำได้และเรื่องพวกนี้ก็จะส่งผลบวกให้กับCPALL
2
ถึงแม้ว่าจะยังมีข่าวร้ายกดดันจากหลายๆทิศทาง แต่ CPALL ก็จะถือว่าเป็นอีกหนึ่งหุ้นพื้นฐานของประเทศไทยที่น่าจับตามองอีกตัวเลยล่ะครับ เพราะเชื่อว่าในระยะยาวๆอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า CPALL ก็อาจจะยังคงเป็นผู้นำอยู่เช่นเดิม
1
CPALL จะโดนกดดันจากภาระที่เกิดกับการซื้อเทสโก้ โลตัส จนทำให้กำไรหดหายไปแค่ไหน ??
และเพื่อนๆคิดว่า CPALL จะอยู่คู่กับชีวิตประจำวันของคนไทยไปได้อีกนานหรือไม่ ?
เรื่องนี้ต้องมาติดตามไปพร้อมๆกันต่อไป สวัสดีครับ...
ผู้สนับสนุน
สนใจเปิดบัญชี ค่าคอมหุ้น 0.05 %
1
TFEX สัญญาละ 25
กรอกข้อมูลได้ที่
1
โฆษณา