26 ม.ค. 2021 เวลา 10:30 • ความคิดเห็น
⚠️โปรดระวัง⚠️ แก๊งตกพัสดุ ❗❗
หากินกับCOD(Cash on delivery)พัสดุเก็บเงินปลายทางที่เราไม่ได้สั่ง
1
จริง ๆ ปัญหาเรื่องมิจฉาชีพหลอกลวงด้วยวิธีการสุ่มส่งพัสดุ เพื่อตกเงินจากเหยื่อตามบ้านด้วยวิธีที่เรียกว่า..
แก๊ง COD นั้นมีมานานแล้ว ตั้งแต่ก่อนโควิดระบาดเสียอีก
..
แต่ในช่วงหลังที่โควิดเริ่มระบาด จนทำให้พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของคนไทยที่หันไปใช้บริการช้อปสินค้าผ่านช่องออนไลน์มากขึ้นแบบทวีคูณ
ตัวเลขจำนวนผู้เสียหายจากแก๊งตก COD เริ่มสูงขึ้น เพราะยิ่งมีการซื้อขายมากเท่าไหร่ โอกาสสอดแทรกเข้ามาหาเหยื่อของคนกลุ่มนี้ก็สูงตามไปด้วย
..
รูปแบบการทำงานของแก๊งเหล่านี้
จะใช้วิธี ซื้อข้อมูลชื่อ - ที่อยู่ลูกค้าจากตลาดมืด
ซึ่งที่มาของข้อมูลก็มีหลายทาง ทั้งจากเจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งที่ไม่ซื่อสัตย์หรือจากกลุ่มผู้ค้าออนไลน์ที่เลิกกิจการไปแล้วขายข้อมูลออกมา
เมื่อแก๊งพวกนี้ได้ข้อมูลชื่อ - ที่อยู่ลูกค้ามา ก็จะทำการจัดส่งสินค้าในรูปแบบพัสดุเก็บเงินปลายทางหรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า COD (Cash on delivery)
ซึ่งปกติสินค้าออนไลน์กว่า 90 % ในท้องตลาด จะนิยมสั่งแบบ COD กันแทบทั้งนั้น
ส่วนมากแก๊งพวกนี้จะเลือกส่งกล่องพัสดุที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบาเพื่อประหยัดค่าขนส่งและที่สำคัญจำนวนเงินที่ระบุให้จัดเก็บจากลูกค้าปลายทางเมื่อรับสินค้านั้น จะเป็นจำนวนเงินที่ไม่สูงมาก ส่วนมากจะแค่หลักร้อย
สำหรับค่าขนส่ง แก๊งพวกนี้จะจัดส่งสินค้าจำนวนมาก ทำให้สามารถตกลงค่าขนส่งในราคาพิเศษกับทางบริษัทขนส่ง(โลจิสติคส์)ได้
จึงทำให้ต้นทุนค่าขนส่งต่อกล่องของแก๊งพวกนี้ต่ำมาก
..
ถามว่า การส่งไปมั่ว ๆ แบบนี้
มันจะมีกำไรตรงไหน?
หากลูกค้าไม่รับสินค้า
(เพราะจริง ๆ แล้ว ลูกค้าไม่ได้สั่ง)
ซึ่งจะทำให้สินค้านั้น ถูกตีคืน
มีครับ มีกำไรเยอะด้วย
..
ยกตัวอย่าง
บริษัท A ทำธุรกิจตกCOD โดยเลือกส่งกล่องพัสดุขนาดเล็กเบอร์ 00
กล่องเบอร์ 00 ราคาขายส่ง หากเราซื้อจำนวนมาก จะตกอยู่ที่กล่องละ 1 บาทเท่านั้น
นี่คือต้นทุนส่วนที่ 1 คือ 1 บาท
..
ต่อมาก็สินค้าตัวหลอกภายในกล่อง ที่จำเป็นต้องใส่ไว้เพื่อป้องกันการผิดสังเกตุ กรณีลูกค้ายกดูหรือเขย่า จะได้รู้สึกว่าพัสดุนี้ไม่ใช่กล่องเปล่า
สินค้าตัวหลอกส่วนมากก็เป็นสินค้าประเภทเดียวกับของร้านทุกอย่าง 20 บาท เพียงแต่แก๊งพวกนี้ซื้อมาได้ในราคาที่ถูกกว่าชิ้นละ 20 บาทเพราะใช้วิธีไปเหมามาจากร้านค้าส่งหรือโรงงานในราคาถูก
ต้นทุนส่วนที่ 2 นี้ก็ไม่เกิน 10 บาท/ชิ้น
..
ต่อมาก็ค่าขนส่งสินค้า
ค่าขนส่งกล่องไซด์เล็กสุด เฉลี่ยทุกบริษัทขนส่งจะอยู่ที่ 30 - 50 บาท/กล่อง
แต่หากเลือกส่งในช่วงโปรโมชั่นหรือส่งในปริมาณมาก ก็อาจถูกลงจนเหลือเพียง 20 บาท/กล่อง
ต้นทุนส่วนที่ 3 อยู่ที่ 20 บาท
..
ต้นทุนส่วนที่ 4 คือ ค่าจัดการและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่นพนักงานแพคกิ้ง จัดส่ง ปริ้นชื่อที่อยู่ วัสดุสิ้นเปลืองในการแพคกิ้ง
คำนวณแบบเผื่อ ๆ ให้อยู่ที่ 5 บาท/กล่อง
ต้นทุนส่วนที่ 4 อยู่ที่ 5 บาท
..
ต้นทุนส่วนสุดท้ายคือค่าธรรมเนียม COD ที่บริษัทขนส่งเรียกเก็บ
ส่วนนี้จะอยู่ที่ประมาณ 3% ของยอดเงินรวมในแต่ละรอบการเก็บเงิน
..
คราวนี้เราลองมารวมดูกัน
ค่ากล่อง เบอร์ 00 1 บาท
ค่าสินค้าหลอก 10 บาท
ค่าขนส่ง 20 บาท
ค่าจัดการ 5 บาท
รวม 36 บาท/กล่อง
1
สมมติว่า จัดส่งไป 500 กล่อง/วัน
ระบุยอดเก็บปลายทางอยู่ที่กล่องละ
290 บาท
ต้นทุนการโกงเท่ากับ
500 x 36 = 18,000บาท
สมมติว่าจำนวน 500 กล่อง
มีคนยอมรับสินค้าและชำระเงิน COD
ทั้งหมด 20 % คือ100 กล่อง
จะได้เงินมา
100 x 290 บาท
= 29,000 บาท
เอา 29,000 มาคำนวณค่าธรรมเนียม COD ก่อนโอน จะได้เท่ากับ
29,000x3% = 870 บาท
..
เมื่อคำนวณเป็นกำไรที่ได้จริง ๆ
ยอดรับ 29,000
หักต้นทุน - 18,000
หักค่า COD - 870
กำไร 10,130 บาท
..
นี่คือ ยอดแบบสมมติ ๆ หากบริษัท A สุ่มส่งแค่เพียงวันละ 500 กล่อง
ซึ่งในความเป็นจริง บางแก๊งมียอดสุ่มส่งสูงกว่านี้มาก ที่สำคัญมันไม่ได้มีแก๊งเดียว มันมีเป็นร้อย ๆ แก๊ง...😬
..
ถามว่า...ทำไมวิธีนี้ถึงได้ผล
ทำไมถึงมีคนตกเป็นเหยื่อ?
เหตุผลง่าย ๆ เลย
1. แต่ละบ้านสั่งของออนไลน์กันเป็นประจำ จนดูเป็นเรื่องปกติหากมีพัสดุมาส่งแต่ละบ้าน
2. สินค้ากล่องเล็ก ดูไม่ใช่ของมีราคา
เลยไม่ค่อยมีคนใส่ใจ
3.ยอดเก็บเงินปลายทางไม่สูง จึงไม่รู้สึกว่าผิดสังเกตุจากคนจ่ายเงิน
4.จำนวนความเสียหายต่อคนต่ำ(หลักร้อยบาท) ทำให้น้อยคนนักที่จะไปร้องเรียนหรือเอาเรื่อง
5.คนที่รับของส่วนมากเป็นคนชรา ที่มักเข้าใจว่า ลูกหลานหรือคนอื่น ๆ ในบ้านสั่ง จึงยอมจ่ายเงินไปง่าย ๆ
..
ส่วนเรื่องผู้รับโอนเงินค่าสินค้า ที่ทางบริษัทขนส่ง จะต้องเป็นผู้โอนให้เมื่อเคลียร์ยอดเรียบร้อยแล้วประมาณ 3-7 วันนั้น
ส่วนมากเจ้าของบัญชีเหล่านี้จะเป็นคนที่ถูกหลอกให้มาเปิดบัญชี ไม่ใช่คนในแก๊งที่แท้จริง
ทำให้เมื่อเรื่องเริ่มแดง มีคนร้องเรียน เข้าไปมากขึ้น การสืบหาต้นตอจึงมักสาวไปไม่ถึงตัวการใหญ่
..
สำหรับคำแนะนำจาก กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หากท่านสงสัยว่าท่านถูกแก๊งCOD
ต้มตุ๋นหลอกจัดส่งพัสดุแบบนี้
ให้ทำดังต่อไปนี้
1.)ก่อนรับพัสดุใด ๆ ที่ตนเองไม่ได้สั่ง ให้สอบถามคนที่มีชื่อเป็นผู้สั่งก่อนให้ชัดเจนทุกครั้ง ว่าเป็นผู้สั่งจริงไหม?
2).สั่งคนในบ้านให้เรียบร้อยทุกครั้ง โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุว่า ห้ามชำระค่าสินค้าใด ๆ หากคนในบ้านไม่ได้สั่งหรือฝากเงินไว้ชำระ
3).หากจำเป็นต้องรับ หรือสงสัยว่าใช่สินค้าที่เราสั่งหรือเปล่า ให้เปิดกล่องต่อหน้าพนักงานส่งของทันที พร้อมบันทึกภาพวิดีโอ(กล้องมือถือ) ขณะที่เปิดกล่องไว้เป็นหลักฐาน โดยมีพนักงานบริษัทส่งของเป็นพยาน
3
กรณีนี้ สามารถป้องกันการส่งยาเสพติดผ่านคนกลาง ซึ่งเราจะกลายเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดโดยไม่รู้ตัวได้
4).รีบติดต่อ
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
โทร : 02-142-2556
โทร : 02-143-8078
หรือสายด่วนคุ้มครองผู้บริโภค
โทร : 1166
สมัยนี้เงินทองหายาก
ระมัดระวังให้มาก ดีที่สุด
ขอขอบคุณ
PPTV HD 36
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง
ผู้บริโภค
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ภาพประกอบจากunsplash
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา