27 ม.ค. 2021 เวลา 00:16 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
5 หลักจิตวิทยาง่าย ๆ ที่ทำปุ๊บ คนรักปั๊บ
ทำยังไงให้คนอื่นชอบเรามากขึ้น? วันนี้ เรามีหลักจิตวิทยาง่าย ๆ เพื่อเพิ่มเสน่ห์ดึงดูดมาฝากกันครับ รับรองว่าทำปุ๊บ ใคร ๆ ก็ต้องเอ็นดู (ไม่มากก็น้อย) แน่นอน
❶ เลียนแบบ
งานวิจัยจาก New York University เรื่อง “Chameleon Effect” พบว่าหากเราเลียนแบบคู่สนทนาไม่ว่าจะเป็นท่าทาง สีหน้า น้ำเสียง หรือการเลือกใช้คำศัพท์ คู่สนทนามีแนวโน้มที่จะชอบเรามากขึ้นครับ
ทั้งนี้ ต้องเป็นการเลียนแบบที่ไหลลื่น ดูเป็นธรรมชาติ มิเช่นนั้น จะกลายเป็นการล้อเลียนซึ่งส่งผลตรงข้ามได้
1
❷ ยิ้มแบบ Duchenne Smile
การยิ้มเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ายิ้มเพราะแค่ต้องการรักษาความสุภาพ หรือสถานการณ์บังคับ หรือแม้แต่ยิ้มแบบธรรมชาติแล้ว แต่ดูเหมือนยิ้มแบบฝืน ๆ ก็อาจจะทำให้คนตีความรอยยิ้มของเราผิด ๆ และให้ผลลัพธ์ด้านลบได้ครับ
แต่การยิ้มที่สร้างความประทับใจและความชื่นชอบให้ผู้ที่พบเห็นได้มากที่สุด คือการยิ้มแบบ Duchenne Smile นั่นคือยิ้มเต็มปาก มุมปากยกขึ้น แก้มยกขึ้น ตาเล็กลง ดูยิ้มทั้งใบหน้า ทั้งปาก ทั้งตา
1
โดยนักการเมืองต่างประเทศหลาย ๆ ท่าน ก็มีฝึกเรื่องนี้กันด้วย เพราะส่งผลต่อความชอบของผู้พบเห็นได้จริง ๆ ครับ
❸ เอ่ยชมคนอื่น (เพื่อให้เขามองเราแบบนั้น)
เรื่องนี้เป็นเรื่องของ Spontaneous Trait Transference โดยพบว่าหากเราเอ่ยชมคู่สนทนา หรือเอ่ยชมคนอื่นให้คู่สนทนาฟัง คู่สนทนามักจะมองว่าเราเป็นคนแบบนั้นไปด้วย
1
เช่น ถ้าเราเอ่ยชมเจ้านายว่าเป็นคนใจดี ผู้ฟังก็มักจะมองว่าเราเป็นคนใจดีแบบเดียวกับเจ้านายไปด้วย ในขณะเดียวกัน หากเราตำหนิหรือด่าใครให้คนอื่นฟัง เขาก็มีแนวโน้มที่จะมองเราในแง่ลบได้เช่นกัน
1
❹ ผูกมิตรกับเพื่อนของอีกฝ่าย
ทฤษฎีเครือข่ายสังคม Triadic Closure พบว่าคนสองคนจะสนิทกันมากขึ้น หากคนสองคนนั้นมีเพื่อนร่วมกัน ฉะนั้นการไปตีซี้หรือสร้างสัมพันธ์อันดีกับเพื่อน ๆ ของอีกฝ่าย ก็จะทำให้อีกฝ่ายมีโอกาสชอบเรามากขึ้น
1
งานวิจัยจาก University of British Columbia พบว่านักศึกษารู้สึกดีกับเพื่อนใหม่บน Facebook มากขึ้น หากเพื่อนคนนั้นมี “เพื่อนร่วมกัน” หรือ Mutual Friends มากกว่า 11 คนขึ้นไปครับ
❺ ไม่ต้องทำตัวสมบูรณ์แบบ
ทฤษฎี Pratfall Effect พบว่าถ้าเราเป็นคนเก่งมีความสามารถ แต่เราทำผิดพลาดบ้าง เช่น พูดผิด ทำของตก เดินสะดุด คนจะยิ่งชอบเรามากกว่าทำตัวสมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง
นั่นเพราะความไม่สมบูรณ์แบบทำให้คนอื่นรู้สึกถึงความเป็นกันเอง และเข้าถึงได้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงชื่นชมในความเก่งของเราอยู่
งานวิจัยโดย Elliot Aronson พบว่าผู้เข้าร่วมทดลองชอบคนตอบคำถามเก่ง แต่ซุ่มซ่ามทำกาแฟหกตอนสุดท้าย มากกว่าคนที่ตอบคำถามเก่งเหมือนกัน แต่ไม่ได้ทำอะไรผิดพลาดเลย
เอาเป็นว่า หากใครลองทำวิธีไหนแล้วได้ผลอย่างไร อย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ ส่วนผู้เขียนเอง ซ้อมยิ้มแบบ Duchenne Smile รอแล้วครับ
========================
ℹ ขอบคุณสำหรับการกดไลค์ กดติดตาม และเป็นกำลังใจให้พวกเราในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร และแนวคิดใหม่ ๆ นะครับ - The Columnist
1
โฆษณา