28 ม.ค. 2021 เวลา 12:23 • ธุรกิจ
Money101
ความรุ่งเรืองแห่งประชาชาติ ขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งทางการเงินของประชาชนทุกคน
The richest man in babylon จอร์ส เอส.คลาสัน
Money 101 จักรพงษ์ เมษพันธุ์
การจัดการการเงินขั้นพื้นฐาน
1.หารายได้(Earning)
2.จัดการค่าใช้จ่าย (Spending)
3.มีเหลือออม (Saving)
4.ลงทุนต่อยอด (Investing)
หาได้ ใช้เหลือ เผื่อออมและต่อยอดให้งอกเงย
Money101
ชีวิต>> เราต้องการอะไร
การเงิน>>สิ่งที่ต้องการใช้เงินสนับสนุนเท่าไหร่
เรียนรู้และลงมือทำ>>เราต้องรู้อะไรต้องทำอะไรบ้าง
ภายใต้เป้ามายการเงินพื้นฐาน 4 ข้อ
1.มีรายได้เพียงพอกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต>>มีกินมีใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ขัดสนกับปัจจัยสี่ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญกับชีวิต
2.เติมเต็มความสุขได้ตามฝัน>>และความต้องการของตัวเอง
3.พร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดฝัน>>ที่อาจส่งผลกระทบทางลบต่อชีวิต
4.มีความมั่งคั่งเพียงพอ>>ที่จะดูแลตัวเองได้จนถึงวาระสุดท้าย
Money101
พอเราเริ่มเก็บเงินได้ต่อเนื่อง ก็จะเริ่มรู้สึกว่ามันไม่ยาก เราทำมันได้ จากนั้นก็จะเริ่มอยากเก็บเงินให้ได้มากขึ้น เริ่มงกมากขึ้น ใช้จ่ายน้อยลงและที่สำคัญที่สุดก็คือ เริ่มมีความหวังกับชีวิตมากขึ้น เพราะเมื่อเริ่มเก็บเงินหมื่นได้ ตัวเราเองก็จะเริ่มเชื่อว่าการเก็บเงินแสนนั้นเป็นไปได้ และพอเก็บเงินแสนได้จริง ความเชื่อก็จะมากขึ้น จนถึงจุดที่เรากล้าเชื่อกล้าฝันว่าวันหนึ่งเราจะมีเงินเก็บหลักล้านได้
สภาพคล่อง(Liquidity) >>มีกิน มีใช้ มีเหลือเก็บ
ความมั่งคลั่ง(Wealth)>>สภาพคล่องที่สะสมในทรัพย์สินรูปแบบต่างๆ
#เริ่มเหลือก็เริ่มรวย
Money101
สภาพคล่อง>>รายรับ-เงินออม-รายจ่าย=เงินคงเหลือ>>>ความมั่งคลั่ง>>ทรัพย์สิน-หนี้สินย์=ทรัพย์สินสุทธิ
Money101
ให้ x=สภาพคล่อง y=ความมั่งคลั่ง
รายรับ=a เงินออม=b รายจ่าย=c
ทรัพย์สิน=d หนี้สิน=e
X=a-b-c
Y=d-e
ถ้า x และ y เป็น +++
ชีวิตก็เป็นสุข>>อิสรภาพในการใช้ชีวิต
หนี้
หนี้จน(Bad Debt)>ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม>>หนี้บริโภค>>หนี้เพื่อการประกอบอาชีพและปัจจัยพื้นฐาน
หนี้รวย(Good Debt)>หนี้ที่สร้างรายได้เพิ่ม>>ทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด>>>กระแสเงินสดรับจากการลงทุน-กระแสเงินสดจ่ายหนี้ เป็นบวก
หนี้
$การใช้จ่ายเกินตัว>เกินตัวไม่ใช่ฟุ่มเฟือย>>การใช้จ่ายในสภาวะที่ตัวเองไม่พร้อม>>>จ่ายทีหลัง
$$การอุปถัมภ์เกินกำลัง
$$$การลงทุนที่ผิดพลาด>หนี้สิน>>หนี้จน
อยากได้อะไร?
ความจำเป็นในการซื้อและความเหมาะสมในการใช้งาน>ทำไมต้องซื้อรถยนต์เป็นของตนเอง>>หากจำเป็นต้องมีรถยนต์ไว้ใช้งาน รถยนต์ยี่ห้อไหนรุ่นไหน ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเรา
สภาพคล่องหลังการซื้อหรือเป็นเจ้าของ>เงินผ่อนชำระกู้ซื้อรถยนต์(รายเดือน)>>ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วนและค่าจอดรถ(รายเดือน)>>>ค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษารถยนต์(ตามระยะเวลา/ระยะทาง)>>>>ค่าประกันภัย(รายปี)>>>>>ภาษีรถยนต์
 
เปรียบเทียมค่าใช้จ่ายรายเดือน แบบเดิม กับเเบใหม่ เงินคงเหลือเป็นอย่างไร
" ถ้าผมขายรถ แล้วผมจะบอกเพื่อนๆผมยังไงว่ารถผมหายไปไหน "
ภัยต่อความมั่งคลั่ง
1.บุคคล>ตาย เจ็บ พิการ อุบัติเหตุ
2.ต่อทรัพย์สิน>สูญหาย เสียหาย
3.การรับผิด>การงาน ค้ำประกัน
แนวทางจัดการ>ป้องกัน&วางแผนรับมือ
ป้องกัน>หลีกเลี่ยงและลดโอกาสในการเกิดปัญหาที่ต้นเหตุ>>กลัวตายก็ออกกำลังการ พักผ่อน
วางแผนรับมือ>รับความเสี่ยงไว้เองและการประกัน
รับความเสี่ยงไว้เอง>ประเมินและเตรียมพร้อมรับมือ
ประกันชีวิต
"คนที่ควรซื้อประกันชีวิตก็คือ คนที่มีภาระรับผิดชอบอุปการะการเงินให้ผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นลูก คู่ชีวิต หรือพ่อเเม่ หรือบุคคลอื่นๆ ซึ่งถ้าหากเราจากไปก่อนวัยอันควร(เสียชีวิต) คนในอุปการะเหล่านี้จะได้รับผลกระทบทางการเงินและการดำรงชีวิต
ทุนประกันที่จำเป็น=ความจำเป็น-ทรัพย์สินและทุนประกันที่มี=(ภาระหนี้สิน+มรดก)-(ทรัพย์สินที่มี+ทุนประกันที่มี
ประกันชีวิต>ตลอดชีพ>>สะสมทรัพย์หรือออมทรัพย์>>>แบช่วงระยะเวลา>>>>ควบการลงทุน
ประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรง>คุ้มครองและค่าใช้จ่าย>>การต่อระยะเวลาความคุ้มครอง>>>ระยะเวลารอคอย และการยกเว้นความคุ้มครอง
ประกันอุบัติเหตุ>เบี้ยถูกไม่ปรับเพิ่มตามอายุ
จำไว้ว่า เตรียมพร้อมรับมือกับเรื่องร้ายๆแล้วชีวิตคุณจะพานพบแต่เรื่องดีๆ ครับ
Money101
ภาษีคำนวณยังไง??
วิธีเงินได้สุทธิ >ใช้คำนวณเวินได้ทุกประเภท
วิธีเงินได้พึงประเมิน>ใช้คำนวณเวินได้ประเภทที่ 2-8
>>>แบบไหนคำนวณแล้วเสียภาษีมากกว่าเลือกคำนวณตามแบบนั้น
เงินได้สุทธิ=เงินได้พึงประเมิน-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน
>>>คำนวณภาษีในอัตรา 0-35% ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ประเภทเงินได้ 8 ประเภท(เบื้องต้น)
1.เงินเดือน โบนัส 40(1)
2.ค่าจ้างทั่วไป 40(2)
3.ค่าลิขสิทธิ์ ค่ากู๊ดวิลล์สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา40(3)
4.ดอกเบี้ย และเงินปันผลจากหุ้น40(4)
5.ค่าเช่า 40(5)
6.ค่าวิชาชีพอิสระ40(6)
7.ค่ารับเหมา(ทั้งค่าแรงและของ)40(7)
8.เงินได้อื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในประเภท1-740(8)
ค่าลดหย่อน >รายการที่สรรพากรอนุญาตให้หักเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าใช้จ่าย
<<< แนวทางการวางแผน >>>
บริหารฐานภาษีให้เหมาะสม>เลือกประเภทเงินได้ให้ตรงกับลักษณะงาน>เพิ่มค่าลดหย่อนให้พอเหมาะพอดี
" ใช่ว่าการลดหย่อนเยอะแล้วจะดี(ต้นทุนทั้งนั้นเลย)ที่ถูกต้องเราควรมองสิทธิลดหย่อนเป็นประโยชน์เสริมมากกว่า "
เป้าหมายความมั่งคลั่ง 2 เป้าหมาย
1.เกษียณเร็ว>สร้างทรัพย์สิน(Asset)เพื่อให้มี กระเเสเงินสด(Passive Income) เพียงพอจัดการกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและมี อิสระทางการเงิน ก่อนถึงวัยเกษียณจากการทำงาน
2.เกษียณรวย>ทยอยออมและลงทุนระยะยาว เพื่อสะสมเงินไว้ให้เพียงพอใช้จ่ายในช่วงหลังเกษียณ ซึ่งเป็นช่วงที่หลายคนอยากพักผ่อน อยากหยุดทำงาน หรือทำงานแต่น้อยแล้ว
ปัจจัย>เงินออมที่สม่ำเสมอ อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ และระยะเวลาในการลงทุน
" ควรวางแผนเกษียณ ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงาน "
คำนวณทุนเกษียณที่ต้องการ>ประเมินแหล่งรายได้หลังเกษียณ>>วางแผนออมและลงทุนเพื่อเติมทุนเกษียณส่วนที่ขาด
ขั้นตอน
1.ประมาณการใช้จ่ายรายเดือน
2.ค่าใช้จ่ายรายเดือน(ปรับเงินเฟ้อx1.😎
3.หักรายได้รายเดือน ณ วันเกษียณ
4.เงินส่วนขาดรายเดือน
5.เงินเกษียณ(ก้อน)ที่ต้องสะสมเพิ่ม=ข้อ4x12เดือน/ปีx20ปร(ตายใน20ปี)
ช่องทางการสะสมเงินเกษียณแบบมีเวินสมทบ>เงินชดเชยกรณีเลิกจ้าง>>บำเหน็จชราภาพประกันสังคม>>>กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ>>>>กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน>>>>กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ>>>>>>กองทุนการออมแห่งชาติ
ช่องทางการสะสมทุนเกษียณ แบบสะสมเอง>เงินฝาก สลาก พันธบัตร หุ้นกู้ ประกันชีวิต กองทุนรวมหุ้นสามัญ หุ้นสหกรณ์ ทรัพย์สินที่แปลงเป็นเงินสดได้
ทำไมต้องมีรายได้หลายทาง
เพราะหากรายได้ดังกล่าวขาดหายไปไม่ว่าจะเป็น>รายได้จากการทำงาน>>ตกงาน เจ็บป่วยทำงานไม่ได้ >รายได้จากทรัพย์สิน>>ทรัพย์สินเสียหาย สูญหาย
สร้างรายได้เสริม >การพัฒนาทุนทางปัญญาที่มี อาทิ ความรู้ ทักษะ งานอดิเรก ประสบการณ์ สายสัมพันธ์ และไอเดีย ให้เกิดเป็น>>>คุณค่า >>>>เป็นรายได้ทางที่ 2 3 4
สร้างสินค้าขึ้นมาขาย>สร้างเป็นบริการขึ้นมา>>สร้างเป็นทรัพย์สินทางปัญญา
เธอเล่าให้ฟังว่า " ในตอนเริ่มต้นเธอยังไม่ได้ทำอาหารเก่งสักเท่าไหร่หรอก แต่ก็ทำไปฝึกไป ทำไปชิมไป เหมือนใช้รายการที่เธอตั้งใจจะทำเป็นที่ฝึกฝีมือ ช่วงแรกก็รู้สึกเขินเวลาอยู่หน้ากล้อง เลยถ่ายวิดีโอที่มือเธอเพียงอย่างเดียวว่าหยิบจับใส่อะไรลงไปในอาหารบ้าง แล้วก็ใส่ข้อความอธิบายประกอบ เพราะอายที่จะใช้เสียงตัวเอง เรียกว่าดูคลิปจนจบ ก็ยังไม่เห็นหน้าและไม่ได้ยินเสียงคนทำเลย "
3 ปีผ่านไป เธอมีผู้ติดตาม (Subscriber) ช่องรายการสอนทำอาหารของเธอเกิน 1,000,000 คน รายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของเธอและครอบครัวได้อย่างสบาย
พลังทวี(Leverage)
ลงทุนกลุ่มหุ้นและกองทุนรวม ถ้ามีเงินเพียงเล็กน้อยแล้วลงทุนในทรัพย์สินที่ไม่มีพลังทวี จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาและวินัยลงทุนต่อเนื่องและยาวนาน เช่นลงทุนเดิอนละ 5,000 บาท ผลตอบแทนแบบทบต้น 8 เปอร์เซ็นต์ต่อปี กว่าจะเก็บเงินได้ 10 ล้าน ต้องใช้เวลายาวนานถึง 400 เดือน หรือ 30 กว่าปีเลยทีเดียว >เหมาะกับเกษียณรวย
OPM(Other People's Money) การลงทุนโดยใช้เงินคนอื่น
1.เงินกู้>ความสามารถในการชำระเงินคืน>>หลักทรัพย์ค้ำประกัน
2.หุ้นส่วน
อื่นๆ เช่น การสนับสนุนจากภาครัฐ นักลงทุนทั่วไป ระดมทุนออนไลน์ ใช้ทรัพยาการของคนอื่น เช่น outsourcing
ต้องอาศัยเทคนิคและความรู้ด้านการลงทุนที่สูงด้วยเช่นกัน
จังหวะเวลาของการใช้>รูปแบบหรือโครงการลงทุน>ข้อตกลงการใช้>รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจที่จะรองรับกิจการหรือการลงทุน
ทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด (Passive Income)
มีหลายหลายวิธีที่จะพิมพ์เงินใช้เองจากทรัพย์สินที่เราสร้างขึ้น
>มีเงินก้อน (มากพอ) ก็ฝากหรือซื้อพันธบัตรกินดอกเบี้ยหรืออาจเลือกซื้อหุ้นหรือกองทุนรวมกินปันผล
>ใช้พลังทวีของเงินกู้ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้เช่า
>สร้างธุรกิจขึ้นมาสักอย่าง วางระบบให้คนอื่นมาทำงานให้ วางมือ แล้วก็วางใจให้คนอื่นทำ จากนั้นก็หมั่นคอยตรวจสอบ ตรวจดูกิจการ และเก็บกินกำไร
>สร้างงานที่เป็นลิขสิทธิ์(งานเขียน งานเพลง วิดีโอบนยูทูบ) หรือสิทธิบัตร แล้วเก็บกินส่วนแบ่งจากสิทธินั้น
>>ทั้ง ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า กำไร ค่าลิขสิทธิ์ ก็คือ เงินสดที่ทรัพย์สินของเราพิมพ์ออกมาให้เราใช้ตลอด ตราบเท่าที่เรายังคงถือครองมันและตัวมันยังสามารถทำประโยชน์ได้อยู่
อะไรคือสาเหตุหลักที่ทำให้คนเราอดทนรอคอยให้ทรัพย์สินสร้างรายได้ไม่ไหว คำตอบง่ายๆ ก็คือ !!หนี้!! ครับ
จงสร้างทรัพย์สิน ก่อนซื้อหนี้สิน หรือพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า หากอยากมีสมาธิโฟกัสกับการสร้างทรัพย์สินของตัวเอง ก็จงทำตัวให้เบาสบายจากหนี้สินเสียตั้งแต่เริ่ม เพียงเท่านี้โอกาสที่คุณจะสร้างแท้นพิมพ์เงินของตัวเองก็จะง่ายขึ้นอีกเยอะเลย
The RICH don't WORK for MONEY
จำเอาไว้! คนรวยไม่ทำงานเพื่อเงิน แต่ทำงานเพื่อสร้างทรัพย์สิน
แผน A รายได้จากทรัพย์สิน มากกว่ารายจ่ายรวมต่อเดือน
โมเดลโค้ช แนะนำ
1.สร้างธุรกิจ ค่าลิขสิทธิ์ ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ให้กระแสเงินสด โดยใช้เงินตัวเองให้น้อยที่สุด(แนวคิด OPM)
2.นำกระแสเงินที่ได้ไปลงทุนต่อในธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ และแบ่งส่วนหนึ่งสะสมลงทุนในตราสารการเงิน อย่างเช่น หุ้น หรือกองทุนรวม อีกต่อหนึ่ง
มองข้ามเรื่องเงินไปก่อน แล้วโฟกัสไปที่การหาการลงทุนที่ดีๆ ให้เจอเสียก่อน กระโดดเข้าไปศึกษาในทุกการลงทุนที่สนใจ เมื่อหาการลงทุนที่ดีจนเจอ จึงค่อยมาคิดกันว่า จะหาเงินจากไหนมาลงทุน
คนที่มีชีวิตพุ่งทะยานไปข้างหน้า เขามองหาโอกาสก่อนหาเงิน ส่วนคนที่ชีวิตอุดมไปด้วยข้อจำกัดมักทำตรงกันข้าม และมักใช้เงินทุนเป็นข้ออ้างที่ทำให้พวกเขาไม่ต้องคิด ไม่ต้องทำอะไรต่อ
เกษียณเร็ว (Retire Rich)
1.กำหนดรูปแบบชีวิตที่ต้องการ
2.ประเมินค่าใช้จ่ายรายเดือนของรูปแบบชีวิตที่ต้องการ
3.ตั้งเป้าหมายรายได้จากทรัพย์สิน
4.วางแผนสร้างทรัพย์สินและลงมือทำ
มันง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ???
ทุกแย่างบนโลก ก็เริ่มจากไอเดียง่ายๆแบบนี้แหละครับ คิดง่ายๆ แล้วเริ่มลงมือทำ >มีวินัยและอดทนมากพอที่จะลงมือทำและเรียนรู้ต่อเนื่องจนกว่าจะถึงจุดหมาย
การเงินส่วนบุคคล
มีความรับผิดชอบทางการเงิน>เพื่อผลลัพธ์ทางการเงินที่ดีขค้น
มีความรู้ทางการเงิน>การหารายได้>การใช้จ่าย>>การออม>>>การลงทุน
มีวินัยทางการเงิน>นำความรู้มากำหนดเป้าหมาย และแผนพร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
การเงินเป็นเรื่องส่วนบุคคล ที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบการเงินของตัวเองให้ดี อย่าให้มีปัญหาทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นและในขณะเดียวกัน ก็อย่าให้คนอื่นมาก่อปัญหาทางการเงินให้กับตัวดราด้วย
โฆษณา