31 ม.ค. 2021 เวลา 13:16 • ประวัติศาสตร์
"สตรีไทยที่ไว้ผมยาวคนแรกดูเหมือนจะเป็น
ทูลกระหม่อมหญิงวไลยอลงกรณ์"
6
ความตอนหนึ่งจากหนังสือเจ้าชีวิต
เขียนโดยพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์ เป็นลูกของรัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระพันวัสสา มีศักดิ์เป็นน้องสาวของเจ้าฟ้าวชิรุณหิศ และเป็นพี่สาวของเจ้าฟ้ามหิดล
1
ท่านจึงเป็นป้าของรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9
3
ชาววังเรียกท่านว่าทูลกระหม่อมฟ้าหญิง
แต่บ้างก็เรียกว่า "ทูลกระหม่อมหญิงแหม่ม"
เนื่องจากหน้าตาคล้ายชาวตะวันตก
และมักจะแต่งตัวอย่างสตรีชาวตะวันตก
2
มีเรื่องแปลกคือท่านเรียกแม่ว่าป้า และเรียกป้าว่าแม่
เพราะป้าของท่านคือพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเสียลูกสาวไปจึงขอท่านไปเลี้ยง ท่านจึงเรียกป้าว่าแม่
4
พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์เขียนในหนังสือเกิดวังปารุสก์ว่าท่านสวยเก๋มากและชอบไปเฝ้าท่านบ่อย ๆ
และเขียนในหนังสือเจ้าชีวิตว่า
ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการเปลี่ยนแปลงขนมธรรมเนียมเกี่ยวกับสตรี ซึ่งบางเรื่องไม่กลับไปเป็นอย่างเดิมอีกเลย เช่น ร.6 ท่านแนะนำให้สตรีไทยทุกภาคไว้ผมยาวผ่านทางหนังสือพิมพ์ ซึ่งสตรีไทยก็ทำตาม โดยเริ่มแต่งตัวอย่างตะวันตกมากขึ้น เรียกว่าแบบสากล
และ "สตรีไทยที่ไว้ผมยาวคนแรกดูเหมือนจะเป็น
ทูลกระหม่อมหญิงวไลยอลงกรณ์"
1
จากที่หาข้อมูลดูพบว่าในสมัยอยุธยาสตรีไว้ผมสั้นบ้าง ยาวบ้าง แต่เป็นความยาวเพียงประบ่า ถ้ายาวถึงกลางหลังเริ่มมีในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ตามอย่างตะวันตก
1
ซึ่งก็พอเป็นไปได้ในความเห็นของเป้ย เนื่องจากสมัยโบราณ(ในที่นี้หมายถึงอยุธยา) เครื่องดูแลผม เช่น ยาสระผม น่าจะไม่มีคุณภาพเท่าไร ขนาดปัจจุบันผมยาวยังดูแลยากเลยค่ะ
2
ทรงผมถือเป็นสิ่งแสดงตัวตนและบุคลิกของเรา
เราเกิดสมัยนี้โชคดีตรงที่มีทรงผมให้เลือกหลากหลาย ไม่ถูกบังคับด้วยกรอบธรรมเนียมและยาสระผมที่ไม่มีคุณภาพ
4
บทความนี้ใช้ภาษาเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ และหากมีข้อผิดพลาดประการใด กรุณาชี้แจงอย่างสุภาพค่ะ
เป้ย 31 Jan 21

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา