5 ก.พ. 2021 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
2020 ปีที่เลวร้ายที่สุด
ของธุรกิจสายการบิน!
ทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA เพิ่งเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการบิน การขนส่งทั้งในส่วนของผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้าทางอากาศ
โดยจั่วหัวว่า ปี ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมานับเป็นปีที่เลวร้ายที่สุด นับตั้งแต่ มีธุรกิจการบินเลยทีเดียว และสำหรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ ก็เป็นปีที่แย่ที่สุด นับตั้งแต่มีการเก็บตัวเลขมาตั้งแต่ปี 1990
ในบทความนี้ แอดมินเลย สรุปประเด็นสำคัญ นำตัวเลขที่น่าสนใจมาให้อ่านกัน
และที่หลายๆ คนน่าจะอยากรู้ก็คือ สำหรับปี ค.ศ. 2021 นี้ สถานการณ์จะเป็นเหมือนปี 2020 ต่อไป หรือสถานการณ์น่าจะกลับมาดีขึ้นเมื่อไหร่
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
=========================
นำเข้า "ความรู้" ส่งออก "ความคิด" ติดตาม
"นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
=========================
1) นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1914 เป็นปีที่ถือกำเนิดธุรกิจสายการบินเชิงพาณิชย์ เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐฯ ช่วยเชื่อมโยงผู้คน ให้ไปมาหาสู่กันง่ายขึ้น พรมแดนของโลก แคบลง จำนวนผู้โดยสารเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด
แต่เมื่อมาถึงปี 2020 ที่ผ่านมา วิกฤตโควิด-19 พบว่า จำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศลดลง 75.6% หรือหายไป 3 ใน 4 ส่วนภายในปีเดียว! นับเป็นอัตราการลดลงที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของธุรกิจสายการบิน และทำให้สายการบินหลายๆ สาย...
ไม่ได้ไปต่อ...
2) ในแง่ของการเดินทางภายในประเทศในภาพรวมในปี 2020 ลดลง 48.8% เมื่อเทียบกับปี 2019 ซึ่งก็ทำให้สายการบินไม่มีทางเลือก ต้องจอดเครื่องบินไว้เฉยๆ
3) หากเราเจาะไปดูที่ การโดยสารทางอากาศในรายภูมิภาค ก็จะพบว่า
- สายการบินในแถบเอเชีย-แปซิฟิก ครองแชมป์ ปริมาณโดยสาร ลดลงถึง 80.3%
- สายการบินในแถบอเมริกาเหนือ ปริมาณโดยสาร ลดลงถึง 75.4%
- สายการบินในแถบยุโรป ปริมาณโดยสาร ลดลงถึง 73.7%
- สายการบินในแถบตะวันออกกลาง ปริมาณโดยสาร ลดลงถึง 72.9%
- สายการบินในแถบอเมริกาใต้ ปริมาณโดยสาร ลดลงถึง 71.8%
- สายการบินในแถบแอฟริกา ปริมาณโดยสาร ลดลงถึง 69.8%
เรียกได้ว่า ลดกันทั้งโลก
4) ในแง่การขนส่งสินค้าทางอากาศ แน่นอนว่า โควิด-19 ทำให้คนเดินทางไม่ได้ก็จริง แต่สินค้านั้น “ยังไปได้”
5) อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ค่าขนส่งทางอากาศที่ถีบตัวสูงขึ้น ทางเส้นทางสูงเป็น 10 เท่าตัว ก็ทำให้ปริมาณขนส่งสินค้าทางอากาศของทั้งโลก หดตัวไปถึง 10.6% นับเป็นอัตราการหดตัวที่สูงที่สุดในรอบ 30 ปี นับแต่มีการเก็บตัวเลขนี้
แถมการขนส่งทางอากาศ ยังหดตัว มากกว่า ปริมาณการค้าของโลกอีกด้วย ที่หดตัวไป 6% หมายความว่า สินค้าบางส่วน ไปเครื่องบินไม่ไหว ก็ต้องหาทางอื่นไปแทน เช่น ทางทะเล หรือทางบก (รถ,รถไฟ) ทดแทน
6) หากนับเฉพาะการขนส่งทางสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ ก็พบว่า ปริมาณขนส่งหดตัวถึง 11.8%
7) การขนส่งสินค้าทางอากาศ ทำการขนผ่านเครื่องบินที่ขนส่งผู้โดยสาร ประมาณ 50% ของการขนส่งทั้งหมด
ในขณะที่ พื้นที่ขนส่งในส่วนนี้หายไปเพราะคนเดินทางไม่ได้ แต่ตัวเลขปริมาณขนส่งลดแค่เพียง 10.6% นั่นหมายถึง อัตราการใช้กำลังขนส่ง หรือตัวเลข Load Factor โดยรวมเพิ่มสูงขึ้น
ดังนั้น จะเรียกว่าเป็นปีที่แย่ที่สุดของการขนส่งสินค้าทางอากาศ ก็อาจไม่ถูกต้องนัก ผู้ให้บริการบางคน อาจจะยิ้มซะมากกว่า (ฟันกำไรได้เยอะ)
8) นอกจากนี้อัตราการใช้กำลังการผลิตที่สะท้อนผ่านดัชนี manufacturing Purchasing Managers’ Index (PMI) ก็กำลังปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ จึงกล่าวได้ว่า ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ สามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์วิกฤต ได้ดีกว่าการขนส่งผู้โดยสารอย่างมาก
9) หากมองไปข้างหน้า ทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ประเมินว่า ความต้องการเดินทาง คงใช้เวลาอย่างน้อยๆ ก็อีก 4 ปี กว่าจะกลับมาถึงจุดเดิมก่อนโควิด ก็คงจะปี ค.ศ. 2024 หรือช้ากว่านั้น ปัจจัยสำคัญก็คงจะเป็น เรื่องวัคซีน ว่าจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ ได้เร็วขนาดไหน
10) และสำหรับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะร้านค้าส่ง ค้าปลีก ที่เจอปัญหา ทำให้ขนส่งสินค้าทางทะเลยากช่วงนี้ สินค้าคงคลังอาจร่อยหรอ ทำให้ต้องเปลี่ยนไปส่งทางอากาศ บางส่วน เพราะว่ามีของขาย แต่ต้นทุนแพงหน่อยก็ยังดีกว่า ทำให้ลูกค้าโมโห และหนีไปหาคู่แข่ง
ทำให้สถานการณ์ระยะสั้น การขนส่งทางอากาศก็ยังตึงตัวอยู่
11) แอดมินได้มีโอกาสอ่านบทวิเคราะห์ของทางผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ มีแนวทางรับมือที่น่าสนใจ เลยเอามาฝาก เพื่อนๆ ผู้นำเข้า ส่งออก ดังนี้
หนึ่ง ลงทุนในเครื่องมือดิจิตอล ที่จะช่วยบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
สอง เตรียมงบประมาณ รองรับ ค่าขนส่งทั้งทางอากาศ และทางทะเล ที่ยังมีแนวโน้มสูงแบบนี้ต่อเนื่องในปีนี้
1
สาม พูดคุยกับผู้ให้บริการขนส่ง ให้ทราบถึงข้อจำกัด เป็นการช่วยกันแก้ปัญหา
และสี่ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ อันนี้ตรงกับที่แอดมินคุยกับแฟนเพจ ท่านหนึ่ง ที่บอกว่า ในเมื่อเรือเข้าท่าเรือฝั่งตะวันตก ของสหรัฐฯ มีปัญหา ก็ย้ายไปพอร์ทฝั่งตะวันออกซะเลย (แต่อาจเจอปัญหาเรื่องเอกสารที่ต้องมาแก้กันแทน T-T)
10) และนั่นก็เป็นมุมมอง ในภาพรวมของการขนส่งทางอากาศ ที่ยังคงราคาแพง ไปอีกสักพักใหญ่ สำคัญคือ การมีข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อให้ตัดสินใจปรับตัวได้ทันสถานการณ์
11) สำหรับ ผู้นำเข้า ส่งออก ที่รู้สึกเหนื่อยกับสถานการณ์ขนส่งช่วงนี้ แอดมินขอแนะนำเครื่องมือดิจิตอล ที่ช่วยบริหารจัดการขนส่งระหว่างประเทศ ที่ชื่อว่า “ZUPPORTS” (ซัพพอร์ทส์)
โดย ผู้นำเข้า ส่งออก สามารถเปรียบเทียบ จอง และติดตามสถานการณ์ขนส่ง ได้ทั้งทางอากาศ ทะเล และทางบก กันแบบง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์
หากสนใจ สามารถลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ ได้แล้ววันนี้ที่ www.zupports.co/register
หากไม่อยากพลาดความรู้ ข่าวสาร ดีๆ กดไลค์เพจ และกด Favorites ในเฟสบุ๊ก กันไว้เลย
และหากบทความมีประโยชน์ ก็กดไลค์โพสและแชร์ให้เพื่อนๆ กัน ได้เลยจ้า
=========================
นำเข้า "ความรู้" ส่งออก "ความคิด" ติดตาม
"นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
=========================
(ad) พิเศษ! ZUPPORTS บริการดีๆ สำหรับผู้นำเข้าส่งออก ช่วยบริหารจัดการ ขนส่งระหว่างประเทศเปรียบเทียบราคา และจองขนส่งทั้งทางทะเล อากาศ และทางบก ได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์
ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษและข่าวสถานการณ์การค้าโลก ได้แล้ววันนี้ที่ https://zupports.co/register/
❤️ อ่านบทความ ของ “นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า” ได้ที่
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ซื้อ-ขาย สินค้าทั้งในและต่างประเทศ ร่วมกลุ่มได้เลยที่
#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า #นำเข้า #ส่งออก
#ZUPPORTS
โฆษณา