12 ก.พ. 2021 เวลา 08:17 • สุขภาพ
สวัสดีค่า ทุกคนที่เข้ามาอ่านนะค่ะ
万事如意 新年发财
Xin Jia Yu Yi Xin Ni Huad Xai
Happy Chinese New Year 2021
ขอให้ทุกคน เฮง เฮง เฮง รำ่รวยๆ เงินทองไหลมา เทมาค่ะ
หัวข้อบทความวันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับตรุษจีน แต่อย่างใด 555 เรามาดูเรื่องความเชื่อผิดๆ ของการออกกำลังกายกันดีกว่าค่ะ
ความเชื่อผิดๆ กับการออกกำลังกาย
https://www.pobpad.com/เริ่มออกกำลังกายอย่างไ
ช่วงนี้หลายๆคนคงหันมาดูแลตัวเองกันมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จะได้ต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด 19 กันนะคะ
เรามาดูกันดีกว่าว่าความเชื่อที่ผิดๆเนี่ย มีอะไรบ้าง
.
.
.
1.การทำงานบ้าน ไม่ใช่การออกกำลังกาย
http://jirapon-unit2.blogspot.com/2016/09/blog-post_8.html?m=1
เราเคยถามคนไข้ที่มาทำกายภาพว่า “คุณป้าเคยออกกำลังกายไหมค่ะ” คนไข้ตอบว่า “ ป้าออกกำลังกายทุกวันแหละ” เราถามต่อ “คุณป้าออกกำลังกายยังไงค่ะ”
“ป้าก็กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า ทุกวัน นี่แหละป้าออกกำลังกายทุกวันเลย”
จริงๆแล้ว สสส. เคยรณรงค์ว่า แค่ขยับก็เท่ากับออกกำลังกาย แต่การออกกำลังกายที่แท้จริงเนี่ย หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อเสริมหรือคงสมรรถภาพทางกายเอาไว้ เช่น ความคงทน ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น เป็นต้น
ซึ่งการทำงานบ้านต่างๆ เราเคลื่อนไหวร่างกายก็จริง แต่ไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อคงสมรรถภาพทางร่างกายเอาไว้ค่ะ
2.การวิ่งทำให้น่องใหญ่
https://www.nutrilite.co.th/th/article/false-beliefs-in-exercise
เราเคยเห็นนักวิ่งมาราธอนกันไหมค่ะ ส่วนมากนักวิ่งมาราธอนมักจะมีกล้ามเนื้อน่องใหญ่ เห็นชัดเจน นั่นอาจเป็นเพราะ นักวิ่งมาราธอน ต้องได้รับการฝึกฝนมากอย่างหนัก ด้วยระยะเวลาการฝึก เรื่องความหนักในการฝึก อย่างพี่ตูน บอดี้แสลม กล้ามเนื้อน่องพี่เค้าจะเห็นชัดเจนและใหญ่กว่าปกติค่ะ
ส่วนการวิ่งแบบธรรมดาวิ่งเพื่อออกกำลังกายวันละ 20-30 นาที เป็นการคาดิโอ นั้น น่องไม่ปูดใหญ่ขึ้นมาหรอกค่ะ กล้ามเนื้อขาอาจจะดูกระชับและเล็กลงกว่าเดิมด้วยซ้ำค่ะ
1
3.เวทเทรนนิ่งทำให้มีกล้าม
https://www.nutrilite.co.th/th/article/false-beliefs-in-exercise
เช่นเดียวกับการมีน่องใหญ่ค่ะ เมื่อเราเล่นเวทด้วยน้ำหนักหรือแรงต้านที่น้อย ไม่อาจทำให้กล้ามใหญ่ได้หรอกค่ะ การมีกล้ามต้องอาศัยระยะเวลาการฝึก และความหนักของแรงต้านที่เราใช้ด้วยค่ะ
เพราะฉะนั้นสาวๆที่ลองเวทเทรนนิ่งไม่ต้องกลัวว่าจะมีกล้ามเหมือนนักเพาะกายนะคะ
4.งดดื่มน้ำเพื่อฝึกความทนทาน
https://www.nutrilite.co.th/th/article/false-beliefs-in-exercise
อันนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกันเลย ไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลกันด้วยซ้ำ แล้วถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิดมหันต์ด้วย
การออกกำลังกาย ร่างกายเราจะสูญเสียน้ำ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการออกกำลังกายลดลง เพราะฉะนั้น เราควรจะดื่มน้ำมากๆ เมื่อสูญเสียน้ำจากการออกกำลังกายค่ะ แต่ขณะออกกำลังกายแล้วหิวน้ำ เราแค่จิบๆน้ำก็พอค่ะ
5.เหงื่อออกมากแสดงว่าเผาผลาญไขมันได้มาก
https://www.nutrilite.co.th/th/article/false-beliefs-in-exercise
การที่ร่างกายมีเหงื่อออกที่มากๆ แสดงว่าร่างกายระบายความร้อนออกมา ในรูปแบบของน้ำค่ะ (เหงื่อมีส่วนประกอบของน้ำอยู่ 99 % ) ซึ่งไม่ได้หมายถึงการเผาผลาญพลังงานแต่อย่างใด
ระดับความหนักของการออกกำลังกาย เรามักจะวัดกันที่อัตราการเต้นของหัวใจของแต่ละคนค่ะ ซึ่งความหนักของแต่ละคน จะไม่เท่ากัน
6.ยิ่งเจ็บ ยิ่งต้องออกกำลังกายซ้ำส่วนนั้น
https://www.nutrilite.co.th/th/article/false-beliefs-in-exercise
ประโยคนี้ เคยได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว ถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิดนะคะ เพราะการออกกำลังกายมากเกินไป ส่งผลให้กล้ามเนื้อนั้นๆได้รับบาดเจ็บ ซึ่งกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บควรได้รับการฟื้นฟู ไม่ควรที่จะไปออกกำลังกายซ้ำที่ส่วนนั้น ให้หลีกเลี่ยงการออกส่วนนั้น แต่ไปออกส่วนอื่นได้ค่ะ
7. ออกกำลังกายแล้วจะกินอะไรก็ได้
http://jirapon-unit2.blogspot.com/2016/09/blog-post_8.html?m=1
เมื่อเป้าหมายการออกกำลังกายของคุณเพื่อลดน้ำหนักแล้วล่ะก็ เรื่องอาหารการกิน คุณก็ต้องควบคุมเช่นเดียวกันค่ะ แต่ถ้าไม่ใช่แล้วล่ะก็ การกินอะไรก็ได้ นั้น เน้นกินแต่ของที่ทีประโยชน์ ให้คุณมากกว่าโทษ ก็ไม่เป็นไรค่า
8.หากหยุดออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะเปลี่ยนเป็นไขมัน
https://www.thairath.co.th/news/local/2006908
กล้ามเนื้อและไขมันอยู่ในเนื้อเยื่อคนละชั้นกัน ไม่สามารถเปลี่ยนแทนกันได้ สำหรับคนที่เคยออกกำลังกายแล้วหยุดออกนั้น จากที่เคยมีกล้ามกลับเป็นไขมันนิ่มๆแทนนั้น คือ การที่ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อนั้นๆออกกำลังแล้ว กล้ามเนื้อมันจะฟ่อลีบลงช้าๆ มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ
9.การออกกำลังกายแก้ปัญหาสุขภาพได้ทุกอย่าง
https://www.thaihealth.or.th/Content/29766-เตรียมรับมือปัญหาสุขภาพผู้สูงวัย.html
แม้การออกกำลังกายจะสร้างความแตกต่างอย่างมหาศาลให้กับคุณภาพชีวิต แต่ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาสุขภาพได้ทุกอย่าง โรคบางโรคต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการรักษา ไม่ว่าจะเรื่องยารักษาโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น ร่วมด้วย
ซึ่งการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือรักษาโรคได้ทั้งหมด แต่การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยได้หลายอย่างตั้งแต่โรคข้ออักเสบ โรคหัวใจ โรคหอบหืด รวมถึงโรคเบาหวานด้วยค่ะ
และที่สำคัญ โรคบางโรคการออกกำลังกายต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด ด้วยนะค่ะ
โฆษณา