26 ก.พ. 2021 เวลา 13:45 • ประวัติศาสตร์
#ตำนานฟันปลอมของจอร์จ วอชิงตัน
ฟันปลอมเป็นหนึ่งในทางเลือก และวิธีแก้ปัญหามาตั้งแต่ 2500 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนที่มาจะเป็นเช่นไรนั้นอ่านเรื่องราวต่อไปนี้แล้วคุณจะเข้าใจ
ฟันที่หายไป
ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ต่อสู้กับปัญหาสุขภาพฟันของเขามา ตั้งแต่อายุ 20 ปี ด้วยอาการปวดฟัน ฟันผุ และการสูญเสียฟันไปที่ละน้อย
ซึ่งเมื่อเขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี มีบันทึกถึงเรื่องนี้ไว้ว่า วอชิงตัน เหลือฟันเพียงซี่เดียว! โดยสาเหตุของปัญหาทางทันตกรรมของเขาอาจเกิดจากพันธุกรรม และการรับประทานอาหาร
1
ซึ่ง ในช่วงนั้น วอชิงตัน ก็ได้เริ่มใส่ฟันปลอมแล้ว เขาเริ่มต้นใส่ฟันปลอมจากวัตถุที่มาจากงาช้าง แล้วใช้ลวดยึดเข้ากับฟันที่เหลืออยู่ของเขา เพื่อให้คงสภาพอยู่ได้ แม้จะต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวดตลอดการใส่ก็ตาม
ความเจ็บปวด
จนกระทั่งในปี 1789 ดร. จอห์น กรีนวูด ผู้บุกเบิกด้านทันตกรรมของอเมริกา ได้ประดิษฐ์ชุดฟันปลอมขั้นสูงขึ้นมาชิ้นหนึ่ง
โดยใช้งาช้าง และฟันของฮิปโป สปริงทองคำ และสกรูทองเหลือง เพื่อใช้ติดกับฟันของมนุษย์จริง ๆ อีกทั้งเขายังได้ประดิษฐ์ชุดฟันปลอมออกมาอีกหลายชุด เพื่อส่งให้กับ วอชิงตัน ได้ทดลองสวมใส่
หลังจากนั้น ฟันปลอมของ วอชิงตัน ก็ได้เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นชุดฟันปลอมใดที่เขาได้ทดลอง ก็ยังคงสร้างความเจ็บปวด อีกยังเปลี่ยนรูปใบหน้าของเขาไปได้อย่างชัด
George Washington
อีกทั้ง วอชิงตัน ยังบ่นในบันทึกของเขาอีกว่า “ในปี 1796 แม้แต่ฟันปลอมที่สร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ
แต่ฟันที่สวมใส่นั้นก็ไม่สบายเลย ทั้งกับเหยือก ปาก และกระพุ้งแก้ม รวมถึงริมฝีปาก และฟันซี่สุดท้ายนี้ด้วย"
อีกทั้ง วอชิงตัน ยังพบว่า อุปกรณ์ที่ทำจากงาช้าง และโลหะของเขา ใช้ยาก ในขณะที่รับประทานอาหาร หรือพูดด้วย เนื่องจากว่าฟันปลอมงาช้าง มีแนวโน้มที่จะเปื้อนได้ง่าย หากไม่ได้บำรุงรักษาอย่างดี และต้องทำความสะอาดด้วยขี้ผึ้ง ดินสอพอง ไม้สน ไม้เซเดอร์ หรือแช่น้ำไว้นอนน้ำมาใส่อีกครั้ง ไม่เช่นนั้นจะส่งกลอนเหม็นคุ้งไปหมด”
Bain News Service,, publisher. G. Washington's teeth [between 1910 and 1915]
ปัจจุบัน ฟันปลอมของ วอชิงตัน ยังคงมีอยู่ไม่กี่ชิ้น ส่วนหนึ่งของฟันปลอมที่ Greenwood ทำให้นั้น เป็นส่วนที่จะเข้าชมได้ ณ New York Academy of Medicine เช่นเดียวกับเคสตกแต่ง ที่มีส่วนเว้นไว้สำหรับฟันซี่สุดท้าย ของวอชิงตัน ด้วย
อีกทั้งฟันปลอม ชุดเดียวกัน ที่ทำจาก ฟันของสัตว์และฟันของมนุษย์ รวมกับตะกั่วและงาช้างของวอชิงตัน ยังคงได้รับการเก็บรักษาอย่างดี ไว้ที่ Mount Vernon Estate and Gardens
ย้อนกลับไปสักนิด เมื่ออดีตกาลนานมาแล้ว...
ฟันปลอมเป็นอุปกรณ์ที่เก่าแก่มาก ซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่ 2500 ปีก่อนคริสตกาล (ซึ่งหลักฐานนี้พบใน เม็กซิโก ในช่วงเวลาปัจจุบัน)
These dentures are in the collection at Mount Vernon – the only remaining full-set in existence.
โดยฟันปลอมในยุคนั้น มีการโต้เถียงกันว่า อาจทำมาจากฟันของหมาป่า ซึ่งชาวอิทรุสกัน แห่งอิตาลี ใช้ลวดทอง เพื่อติดฟันของมนุษย์และสัตว์เข้าด้วยกัน
แต่ทว่า หลังจากนั้น ราว ๆ 700 ปีก่อนคริสตกาล มีการค้นพบฟันปลอม 2 ซี่ ที่ทำจากกระดูก ซึ่งถูกพันด้วยลวดทองในสุสาน El Gigel ของอียิปต์โบราณ
และดูเหมือนว่า ในช่วงนั้น พวกเขา จะเน้นไปที่การถอนฟันจริงออกไปแล้วใส่ฟันที่ประดิษฐ์ขึ้นมานี่แทนที่เสียมากกว่าด้วย ในส่วนฟันปลอมไม้ที่ได้รับการบันทึกเป็นครั้งแรก ปรากฏในช่วงศตวรรษที่ 16 และเริ่มใช้กันมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 20
การใช้งาน
ด้วยเหตุที่ในช่วงศตวรรษที่ 18 ทันตแพทย์ ได้ทดลองใช้ฟันปลอม ที่ทำจากฟันของมนุษย์ สัตว์ และงาช้างแกะสลัก ซึ่งชิ้นส่วนฟันปลอมต่าง ๆ จะถูกทำขึ้นโดยช่างทองมืออาชีพ ช่างกลึงงาช้างช่างทอง และช่างตัดผม
Alexis Duchâteau ได้เริ่มทำฟันปลอมแบบพอร์ซเลน ครั้งแรกในปี 1770 เนื่องจาก ก่อนหน้านั้น เขาสวมฟันปลอมที่ทำจากฮิปโปโปเตมัส
แต่ทว่า ใส่ไปได้เพียงไม่นาน ฟันเหล่านั้นก็เริ่มเน่า เขาจึงพยายามทำบางอย่างขึ้นมาทดแทน เพื่อให้คงทนมากขึ้น ซึ่งความพยายามครั้งแรกของเขาไม่เป็นผล
จนเมื่อเขาได้พบกับ Nicholas Dubois De Chemant ทันตแพทย์
การร่วมมือของสองทันตแพทย์
พวกเขาทั้งคู่ จึงช่วยกันสร้าง Duchâteau (ฟันปลอม) ที่สามารถสวมใส่ได้เลย ขึ้นมา
แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ที่ว่า ฟันปลอมนั้นมันบิ่นได้ง่าย Nicholas Dubois De Chemant จึงปรับปรุง พอร์ซเลนสำหรับฟันปลอมขึ้นใหม่ เพื่อให้แข็งแรงขึ้น
หลังจากนั้นเขาก็จดสิทธิบัตรฟันปลอม พอร์ซเลน ของเขาครั้งแรก ในอังกฤษ และยังคงทำการพัฒนาฟันปลอมขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ เพื่อให้ทนทาน และลดปัญหาเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน
ดังคำที่เคยกล่าวไว้ว่า “first impression เพราะความมั่นใจ เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จเช่นกัน ภาพลักษณ์ และรอยยิ้มจึงสำคัญไม่แพ้สิ่งใด”
1
ติดตามเรื่องเล่าจากดาวนี้เพิ่มเติมได้ที่
หากชื่นชอบก็อย่าลืมกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะคะ สามารถแชร์แนวคิด มุมมองดีๆได้ใน Comments นี้เลย 😄
โฆษณา