13 ก.พ. 2021 เวลา 12:31 • ไลฟ์สไตล์
How I start my bujo? EP2 : Keys ของการเขียนบูโจ
1
เราน่าจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า "Bullet journal สามารถเป็นได้ทั้ง planner, diary และ กระดาษ note" "Bullet journal เป็นการรวมทุกอย่างไว้ในสมุดเล่มเดียว" "Bullet journal เป็นระบบจดบันทึก" หรืออะไรทำนองนี้มาบ้าง
3
แต่เวลาไปดูคลิปตาม youtube หรือรูปถ่ายตาม Instagram/Pinterest ก็มักจะได้เห็นเพียงการ Setup หน้าต่างๆเท่านั้น จนทำให้บางคนมีคำถามว่า แล้วสรุปบูโจมันต่างจากแพลนเนอร์สำเร็จรูปยังไง? แค่เรามานั่งตีตาราง ขียนปฏิทินเองเท่านั้นน่ะหรอ?
2
วันนี้เราเลยจะมาแชร์ความเข้าใจ และวิธีการเขียนบูโจของเราให้ทุกคนกันค่ะ
Q : Bujo ต่างจาก planner ยังไง?
1
A : ถ้าจะพูดกันตามความเข้าใจของเราแล้ว เราก็จะบอกว่า Bujo ต่างจาก planner ที่ "วิธีการเขียน" ค่ะ
สำหรับ planner บางแบรน อาจมีการ setup มาให้แบบมีทั้งหน้ารายปี รายเดือน รายสัปดาห์ ไปจนถึงรายวัน ซึ่งคล้ายกับระบบ Future log, Monthly log, Weekly log ไปจนถึง dialy log ของ Bujo มากๆ แต่วิธีในการจดบันทึกของ Bujo นั้นจะมีการนำเอาสิ่งที่ เรียกว่า "Keys" และ "การจดแบบ Rapid logging" เข้ามาใช้ด้วย
Q : Keys คืออะไร และ Keys พื้นฐานสำหรับ Bujo มีอะไรบ้าง?
A : Keys คือเครื่องหมาย bullet (ที่มาของชื่อ bullet journal ) ที่ใช้แบ่งหมวดหมู่ ของข้อความที่เราเขียน
1
จริงๆแล้ว Keys นั้นมีมากมายได้ตามใจเราต้องการเลยค่ะ แต่ว่าวันนี้ เราจะมาแนะนำ Keys พื้นฐานสำหรับการทำ Bujo ตามแบบต้นฉบับของคุณ Ryder Carroll ให้ทุกคนรู้จักกันนะคะ
• Task
เราจะแทนสิ่งที่เราต้องทำ หรือ งานของเรา ด้วยเครื่องหมายจุด (•) ค่ะ ตัวอย่างเช่น
ถ้าถามว่าทำไมต้องเป็นเครื่องหมายจุดละก็ คุณ Ryder เค้าก็ได้บอกเหตุผลไว้ว่า เจ้าจุดนี้มันง่ายต่อการแปลงร่างเป็น Keys ตัวอื่นๆที่เราจะพูดถึงต่อไปนั่นเอง
x Complete
สำหรับ Task ที่เราได้สำเร็จแล้วเราจะแทนด้วยเครื่องหมายกากบาท (x) โดยเมื่อกากบาททับจุดที่เราทำไว้ หน้าตาของ Keys ก็จะเปลี่ยนจากจุดเป็นกากบาท ได้อย่างแนบเนียนเลยค่ะ เช่น
> Migrate
สำหรับงานที่เราไม่สามรถทำได้ในวันนี้ เราจะย้ายไปทำในวันถัดไป เราจะเขียนหัวลูกศรชี้ไปทางขวา (>) ทับจุดเอาไว้
วันนี้อาจจะฝนตก ซักผ้าไม่ได้ ย้ายไปซักพรุ่งนี้แล้วกันนะ แต่ว่า พอวันต่อมาเรามากวาดตาดู Bujo ของเราเจอเครื่องหมาย > เราจะได้รู้ว่า งานนี้จะต้องเอามาทำต่อนะ
< Schedule
เจ้าเครื่องหมายหัวลูกศรชี้ไปทางซ้าย (<) นั้น สำหรับเรา เราจะใช้ในการย้ายงานที่ไม่สามารถทำได้ในวันนี้และวันถัดไปไปลงหน้า Monthly log หรือถ้าไม่สามรถทำได้ในเดือนนี้ ก็ย้ายไปเขียนลงหน้า Future log ได้เลย
2
ㅇ Event
:เครื่องหมายวงกลม (ㅇ) ที่ใช้แทนเหตุการณ์ในวันนั้นๆ หรือนัดหมายของเรา เช่น
อยู่ๆเพื่อนโทรมาบอกว่าวันนี้ 19:30 มีปาร์ตี้กับผองเพื่อน
จริงๆนัดหมายในเวลาไม่นานแบบนี้เราไม่ลืมอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องจดลง Bujo ก็ได้ แต่การจดเอาไว้ ก็เหมือนเป็นไดอารี่ ที่เมื่อเวลาผ่านไป เราได้ย้อนมาดู ก็จะจำเหตุการณ์นั้นๆได้ ยิ่งถ้าได้ถ่ายรูปเก็บไว้ ก็สามารถเอามาแปะไว้เป็นความทรงจำได้อีกด้วย
Cancle
ขีดทับข้อความเพื่อยกเลิก จะใช้กับ Task หรือ Event ก็ได้ค่ะ เช่น
- Note
สำหรับข้อความอื่นๆ ที่เราอยากจดไว้กันลืม เราจะใช้สัญลักษณ์ขีด หน้าข้อความ (-) นั้นๆค่ะ โดยจะ Note รายละเอียดของ Task และ Event หรือจะใช้ Note อะไรก็ตามที่เราไม่อยากลืมก็ได้
* Important : ดาว หรือดอกจัน ( * ) ที่เอาไว้เขียนหน้าข้อความ ไม่ว่าจะเป็น Task, Event หรือ Note ที่สำคัญ
1
ทั้งหมดนี้ก็คือคีย์พื้นฐานตามแบบฉบับของคุณ Ryder ค่ะ แต่ว่าใน Bujo ของเรานั้นจะใช้สัญลักษณ์อะไร แทนอะไร หรือมี Keys มากกว่านี้ก็ได้นะคะ ไม่จำเป็นต้องใช้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความถนัดและความชอบเลยค่ะ เช่น ถ้าใครเป็นนักเรียน อาจจะมีคีย์ ที่ใช้แทนการสอบเก็บคะแนน ก็ได้ ^^
1
Q : Rapid logging คืออะไร ?
A : Rapid logging คือการเขียนแบบกระชับ ได้ใจความ ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร อาจจะเขียนเฉพาะคีย์เวิร์ดตามความเข้าใจของเราก็ได้
ซึ่งตรงนี้น่าจะคล้ายกับเวลาเราจดสรุป หรือ short note ที่เราคุ้ยเคยกัน ตัวอย่างการเขียนแบบ Rapid logging เช่น
1
ก็จะเห็นได้ว่า ยิ่งเขียนแบบนี้ก็จะยิ่งทำให้การจดของเราสั้นลงและประหยัดเวลาไปอีก
Q : เราสามารถนำ Keys และการจดแบบ Rapid logging ไปใช้จดอะไรได้บ้าง ?
A : อย่างที่เราได้ยินกันว่าเราสามารถจดอะไรก็ได้เลยลงใน Bujo ของเรา แต่ภาพที่เราคุ้นชินกับการจดBujo นั้นมักจะหนักไปทางการทำ to do list ซะส่วนใหญ่ เดี๋ยวเราจะมายกตัวอย่างการจดบันทึกต่างๆของเราที่เราจดลงบูโจของเราให้ทุกคนดูกันค่ะ
1
จากตัวอย่างจะเห็นว่าเราสามารถจดทุกอย่างลง Bujo ของเราได้ง่ายๆ และใช้เวลาไม่มากเลย ก็เพราะคุณ Ryder ผู้พัฒนาระบบนี้ เค้าต้องการระบบการจดที่รวดเร็ว และง่ายที่สุด สำหรับการบันทึกอะไรก็ตามในหัวของเรา เพื่อป้องกันการหลงลืม หรือแม้แต่การจัดการไม่ให้ความคิดนั้นฟุ้งซ่านอยู่ในหัวของเรานานเกินไป
3
แต่สำหรับคนที่ทำ Bujo บางคน อาจจะทำหน้าสำหรับจดบันทึกสิ่งเหล่านี้แยกไปอีกที เพื่อใส่รูป คำบรรยาย และเพื่อให้เห็นภาพรวมของหัวข้อนั้นๆชัดเจนขึ้น ซึ่งการทำแบบนั้นอาจจะใช้เวลามากกว่า อาจจะเลือกทำในวันที่ว่างๆหน่อย หรือมีmoodที่อยากจะทำอะไรพิเศษๆ โดยเราจะเรียกหน้านั้นว่า " หน้า Collection " ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของบูโจที่เราจะมาพูดถึงกันในภายหลังค่ะ
ก็จบกันไปแล้ว สำหรับ EP 2 ในซีรีส์ How I start my bujo? ของเรา หวังว่าจะมีประโยชน์ หรือช่วยตอบข้อสงสัยบางอย่างของคนที่เพิ่งจะเริ่มทำบูโจได้บ้างนะคะ และสำหรับบทความนี้ ถ้ามีข้อผิดพลาดทางข้อมูล หรือใครมีความเห็นเพิ่มเติม ก็สามารถคอมเมนท์พูดคุยกันได้นะคะ
1
ไว้พบกันใหม่ใน EP หน้า สวัสดีค่ะ❤️

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา