15 ก.พ. 2021 เวลา 04:49 • สุขภาพ
เราควรทำอย่างไร
เมื่อมีคนในครอบครัวเป็นผู้ป่วยอัมพาต
เมื่อชีวิตคนเรา เลือกเกิดไม่ได้ เลือกให้พ่อแม่พี่น้อง เราไม่เป็นโรคไม่ได้ ถ้าวันหนึ่ง เราต้องมาเป็นคนดูแล ผู้ป่วยอัมพาตเหล่านี้ คุณจะต้องทำอย่างไร....
2
https://quizizz.com/admin/quiz/5b4a12ded173f00019f44235/-1
ข้อแนะนำสำหรับญาติ ของผู้ป่วยอัมพาต
https://www.promotivecare.com/อัมพาตครึ่งซีก/
ญาติหรือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยอัมพาตนั้น มีภาระหนักยิ่งในการดูแลช่วยฝึกฝน,กระตุ้น ผู้ป่วยให้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติที่สุด ซึ่งญาติและผู้ดูแลจึงเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่สำคัญมาก
การรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยอัมพาตนั่นเสมือนมีงานที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้นจากเดิม อาจต้องทำหน้าที่แทนสิ่งที่ผู้ป่วยเคยทำและต้องดูแลผู้ป่วยอีก
ชีวิตของญาติและครอบครัวจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย... ด้วยภาระหน้าที่ ที่ต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในระยะแรกๆ ญาติและผู้ดูแลอาจรู้สึกสับสน บางครั้งไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร โดยคุณจำเป็นจะต้องเรียนรู้วิธีการจัดการ การดูแลผู้ป่วยและรับความช่วยเหลือจากญาติคนอื่นๆ เพื่อนๆ หรือบุคคลภายนอก เพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัว
ข้อแนะนำสำหรับญาติและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยทำให้การฟื้นฟูผู้ป่วยดำเนินไปด้วยดี
https://www.tht.co.th/blog/Paralysis/
- หาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น จากทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟูว่าสมองขาดเลือดอย่างเฉียบพลันมีผลกระทบอย่างไรกับผู้ป่วยบ้าง
ยิ่งครอบครับทราบข้อมูลมากเท่าไร ยิ่งทำให้รู้ว่าตนเองต้องการความช่วยเหลือด้านใดบ้าง และจากใคร
- ครอบครัวควรได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการฟื้นฟูผู้ป่วย ด้วยการปรึกษาแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด เป็นต้น ให้ทีมเชี่ยวชาญแนะนำ สอน และแสดงวิธีที่ถูกต้องในการช่วยเหลือผู้ป่วย
** ข้อสำคัญ คือ ต้องเป็นคำแนะนำจากทีมงานที่มีความชำนาญในการรักษาและฟื้นฟู
1
- การให้ผู้ป่วยเรียนรู้สิ่งต่างๆหรือฝึกฝนการเคลื่อนไหวใหม่นั้นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกอาจใช้เวลา 2-3 ปี
บางครั้งญาติอาจรู้สึกสับสน กังวล เบื่อหน่าย อย่างไรก็ตามคุณอาจพบว่าคุณเข้มแข็งมากกว่าที่คุณคิดเสียอีก
** สิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วย คือ การทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจเชื่อมั่นในตนเอง
https://www.promotivecare.com/อัมพาตครึ่งซีก/
- กระตุ้นและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเอง โดยทำงานร่วมกับทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยญาติผู้ป่วยบางรายอาจมีความรู้สึกไม่ค่อยดีที่จะปล่อยผู้ป่วยต้องทำอะไรเอง บางคนอาจรู้สึกผิด ใจร้ายเกินไปหรือเปล่า ที่ต้องบังคับให้ผู้ป่วยทำอะไรเอง
จริงๆแล้วการกระตุ้นให้ผู้ป่วยพยายามทำอะไรด้วยตัวเอง คือการรักษาผู้ป่วยอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น การกระตุ้นนั้นไม่ใช้ให้ผู้ป่วยทำทุกอย่างด้วยตนเอง
หมายถึงว่า ถ้าผู้ป่วยทำอะไรไม่ได้ ญาติหรือผู้ดูแลอาจต้องช่วยถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อผู้ป่วยเริ่มเคลื่อนไหวได้ ญาติจะค่อยๆลดการช่วยเหลือลงเรื่อยๆ จนผู้ป่วยเคลื่อนไหวเองได้ดี
- อย่าทอดทิ้งผู้ป่วยให้อยู่โดดเดี่ยว ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในวงสนทนา พูดคุยกับผู้ป่วยตามปกติเหมือนก่อนป่วย เช่น ถ้ามีคนมาเยี่ยม ควรให้ผู้ป่วยเล่าอาการของตนเอง หรือให้ถามผู้ป่วยแทนที่จะคุยกับญาติหรือคนดูแล
- บอกผู้ป่วยถึงกิจกรรมต่างๆ ในครอบครัวที่จะต้องทำ และถามความเห็นหรือขอคำแนะนำจากผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการพูดซ้ำๆ ถึงชีวิตก่อนการเกิดอัมพาต ให้พูดในสิ่งที่อยู่ในปัจจุบัน และพูดไปในทางบวก กระตุ้นผู้ป่วยให้สนใจและเพลิดเพลินไปในสิ่งที่เขาทำอยู่หรือสามารถทำได้
โดยหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงสิ่งที่ผู้ป่วยทำไม่ได้ เช่น เดินไม่ดี เดินไม่ได้ แต่ควรจะพูดว่า ตอนนี้นั่งทรงตัวได้ดีแล้ว เทียบกับเมื่อก่อน และไม่ควรพูดว่าฝึกมาต้ังนานไม่เห็นเดินได้ซักที
- ควรให้ความรัก ความสนใจใส่ใจ กับผู้ป่วย ครอบครัวควรเข้าใจและให้ความนับถือผู้ป่วยเช่นเดิม ถึงแม้ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถบางสิ่งบางอย่างไป
- ถ้าเป็นไปได้ ควรตัดให้มีการรวมกลุ่มของญาติที่มีประสบการณ์เหมือนกัน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันค่ะ
1
ญาติต้องดูแลตนเองด้วย
https://www.promotivecare.com/อัมพาตครึ่งซีก/
การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของผู้ป่วยอัมพาต จะมีผลกระทบต่อญาติตลอดเวลา บางครั้งครอบครัวรู้สึกเหนื่อยหน่าย สับสน กังวล หงุดหงิด โมโห โกรธ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ผิด เป็นอาการปกติ
ข้อแนะนำต่อไปนี้จะช่วยให้ครอบครัวสามารถจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้นได้
• บอกเล่าความรู้สึกของตนเองกับเพื่อนสนิท แฟน หรือญาติๆ หรือใครก็ตามที่รับฟังความรู้สึกของคุณ
• พูดคุยเรื่องสัพเพเหระกับผู้อื่นบ้างค่ะ
• หากิจกรรมต่างๆที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
• ติดตามข่าวสารบ้านเมือง
• ขอความช่วยเหลือจากญาติ เพื่อนๆ เมื่อตัวเองไม่ไหว ไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดที่ตัวเองดูแลไม่ได้ตลอดเวลา
• รักษาสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ
• หาที่พึ่งทางใจ สนทนากับพระ ฟังเทศ์น สวดมนต์ เป็นต้นค่ะ
อาการซึมเศร้า
https://www.healthcarethai.com/สมองขาดเลือดชั่วขณะ/
ครอบครัวหรือญาติผู้ดูแลผู้ป่วยอัมพาตบางครั้งอาจมีอาการซึมเศร้าได้ เพราะผู้รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยอัมพาตนี้มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เกิดความเครียด มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ค่ะ
อาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้น ไม่ได้บ่งบอกว่าคุณเป็นคนอ่อนแอ หรือไม่มีความพยายามนะคะ แต่มันอาจเป็นการแสดงออกของร่างกายในภาวะที่มีความเครียด ดังนั้น ต้องได้รับการช่วยเหลือเรื่องการซึมเศร้าค่ะ
เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยที่ง่ายขึ้น ครอบครัวหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วย จำเป็นต้องมีแผนการดูแล ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน
1.ประเมินความช่วยเหลือที่ผู้ป่วยต้องได้รับ โดยการทำรายการกิจกรรมต่างๆที่ผู้ป่วยได้รับ เช่น กินข้าว อาบน้ำ พบแพทย์ ไปกายภาพบำบัด เป็นต้น จัดทำรายการให้ละเอียดที่สุด
2.ประเมินว่ารายการใดที่ครอบครัว สามารถทำได้ด้วยตนเอง
3.ประเมินว่ารายการใดที่ต้องมีคนอื่นมาช่วย เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง เราไม่สามารถทำได้คนเดียวเสมอไป มันจะทำให้คุณหมดแรง คุณต้องเรียนรู้ในการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นบ้างค่ะ
4.ประเมินว่าคนอื่นๆที่ว่านี้ สามารถช่วยคุณด้านใดได้บ้าง เช่น เรื่องการเงิน เรื่องอาหาร ช่วยงานเล็กน้อยๆ เป็นต้นค่ะ
5.ทำรายกาาความช่วยเหลือที่ต้องมีค่าใช้จ่าย เช่น จ้างพยาบาลพิเศษ คนดูแลประจำตัว จ้างนักกายภาพบำบัดมาทำกายภาพที่บ้าน เป็นต้น
***การดูแลผู้ป่วยเป็นภาระหนักเสียจนลืมดูแลตนเอง สิ่งสำคัญ คือ ผู้ดูแลต้องมีกำลังกาย กำลังใจ และมีสมาธิที่จะดูแลบุคคลใกบ้ชิด จึงจำเป็นต้องดูแลตนเองให้ดีอยู่เสมอ
https://www.lib.ru.ac.th/book2/?p=1420
Reference
หนังสือ คู่มือกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
ผู้แต่ง อ.วิยะดา ศักดิ์ศรี และ อ.สุรัตน์ ธนานุภาพไพศาล
โฆษณา