23 ก.พ. 2021 เวลา 00:19 • สุขภาพ
"โรคฝันกลางวัน"
Maladaptive Daydreaming
โรคนี้มีอันตรายเท่าโรคซึมเศร้า
เมื่อพูดถึงความฝัน(A dream)
ความฝันมีด้วยกันสองความหมาย..
ความหมายที่หนึ่ง☝️
ความฝันเมื่อเรานอนหลับ..😪💤
ความฝันแบบนี้จะเกิดขึ้นหลังจากเรานอนหลับลึกถึงจุดหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เราเกิดความฝันขึ้นได้
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า.. ความฝันเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ แต่ไม่ว่าจะฝันเพราะอะไร ความฝันคือกระบวนการจัดการทางสมองอย่างหนึ่ง รวมทั้งความฝันยังเป็นตัวบ่งชี้ภาวะของสุขภาพได้ในบางเรื่อง
1
ความฝันขณะนอนหลับก็มีอยู่หลายรูปแบบ..
😴ฝันแบบรู้สึกตัว(Lucid dream)
ความฝันรูปแบบรู้สึกตัว จะเป็นความฝันแบบที่เราเองก็ทราบว่า ขณะนี้กำลังฝันอยู่ บางคนสามารถควบคุมทิศทางของความฝันได้ด้วย เช่นกำลังฝันว่าวิ่งอยู่ในสวนสาธารณะที่เคยวิ่งเป็นประจำ ในความฝันนั้นเราอยากจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา เราก็สั่งตัวเราเองในฝันได้เลย
2
ความฝันรูปแบบนี้ จะเกิดช่วงใกล้ตื่นนอน เพราะเป็นช่วงที่สมองกำลังตื่นตัวเต็มที่
😴ฝันซ้ำ(Recurrent dream)
ความฝันแบบซ้ำ ๆ มักเกิดขึ้นมาจากปมความผิดพลาดในจิตใจ ความผิดหวังหรือปัญหาบางอย่างในชีวิตที่ยังคิดหาทางออกไม่ได้
ปมปัญหาเหล่านี้จะสะท้อนไปที่ความฝันในรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ ย้ำไปเรื่อย ๆ วนไป วนมา ไม่จบเสียที
😴ฝันร้าย(Nightmare)
1
ฝันร้ายเป็นฝันที่ทุกคนไม่อยากเจอ แต่รับรองว่าทุกคนต้องเคยเจอฝันร้าย
สิ่งที่น่ากลัวจากการฝันร้ายไม่ใช่เหตุการณ์ในฝัน แต่การที่เราฝันร้ายมันกำลังสะท้อนปัญหาสุขภาพ เช่นความเครียด ความผิดปกติในร่างกายอะไรบางอย่าง
ฝันร้ายมักควบคู่มากับอาการนอนไม่หลับ การพักผ่อนไม่เพียงพอ
1
..
ความหมายที่สอง✌️
เป้าหมายในชีวิต(Life Goals)
🎯
ความฝันในความหมายนี้ บางคนอาจจะใช้คำว่า Dream เหมือนกันกับความฝันในความหมายแรก แต่ความฝันในความหมายนี้ เราจะหมายถึง..
ความใฝ่ฝันหรือเป้าหมายอะไรบางสิ่งบางอย่างในชีวิต อาจจะเป็นเป้าหมายเล็ก ๆ เพียงแค่การเล่นกีตาร์เป็น เรื่อยไปจนถึงการประสบความสำเร็จเป็นมหาเศรษฐีมีเงินพันล้านก่อนอายุ 50
1
เป้าหมายเหล่านี้ เราก็เรียกมันว่า "ความฝัน"เหมือนกัน
..
เมื่อรู้จักความฝันทั้งสองความหมายไปแล้ว...คราวนี้จะมาพูดถึงเรื่องความฝันแบบที่หลายคนกำลังเป็น แต่อาจไม่ทราบว่าความฝันแบบที่กำลังเป็นอยู่มันคืออาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง
ความฝันที่ว่านั้นก็คือความฝันแบบที่เรียกว่าอาการ"ฝันกลางวัน" 🤪..
..
ฝันกลางวันคืออะไร❓
ฝันกลางวันในที่นี้ มิได้หมายถึงการนอนหลับตอนกลางวันแล้วฝันถึงเรื่องราวต่าง ๆ เหมือนเวลาเรานอนฝันตอนกลางคืน แต่ฝันกลางวันที่กำลังพูดถึงคืออาการของคนที่ชอบจินตนาการถึงสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตที่ดูไร้เหตุผลและยากจะเป็นไปได้หรือเรียกง่าย ๆ ว่า"การเพ้อฝัน"
"ฝันกลางวัน"หรือ"เพ้อฝัน" เป็นสิ่งที่ทุกคนเป็นได้และเคยเป็นกันทุกคน
ถึงแม้เราทุกคนอาจเคยเพ้อฝัน แต่เราก็มักจะรู้ตัวและดึงตัวเองกลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงได้เสมอ
1
ใครที่ฝันกลางวันแล้วรู้ทัน จนสามารถดึงตัวเองกลับมาได้นั่นถือว่าคุณปกติ....
แต่ถ้าใครฝันกลางวันแบบต่อเนื่อง
จนไม่สามารถถอนตัวออกมาได้ ให้พึงระวังไว้ว่า....คุณอาจจะกำลังเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโรคฝันกลางวัน..😳
โรคฝันกลางวันหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Maladaptive Daydreaming
โรคนี้ถูกค้นพบโดยผู้ป่วยโรคนี้ ที่เป็นนักวิจัยชาวอเมริกัน เธอชื่อว่า เจน บีเกลเซน
เจนเริ่มสงสัยในความผิดปกติของตัวเองหลังจากที่เธอติดซีรี่ย์ทางทีวีอย่างหนัก โดยความผิดปกติที่เธอพบคือเมื่อเธอดูซีรี่ย์จบตอน เธอมักจินตนาการถึงตอนต่อไปด้วยตัวเอง
เธอเล่าว่า ภาพที่ปรากฏมันเหมือนจริงมากและเธอก็เริ่มหลงไหลในความฝันเหล่านั้น ถึงแม้ว่าเธอจะทราบว่านั่นมันไม่ใช่เรื่องจริง
เธอวนเวียนอยู่กับจินตนาการลักษณะนี้จนอาการเริ่มหนักขึ้นเรื่อย ๆ
ความฝันปลอม ๆ พวกนี้เริ่มรบกวนจิตใจเธอ รบกวนชีวิตจริงของเธอ
เธอเริ่มคิดในใจว่า "นี่ฉันน่าจะไม่ปกติแล้วนะ"......"ฉันว่าฉันมีปัญหากับการฝันกลางวัน"
2
เจนพยายามหาทางแก้ไข ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหลายคน จนในที่สุดเธอก็พบว่าสิ่งที่เธอเป็นมันคืออาการป่วย และไม่ได้มีเพียงเธอเท่านั้นที่เป็นโรคนี้ แต่ยังมีคนอีกมายมายที่ป่วยแบบเธอ..
เจนได้เผยแพร่ลักษณะอาการที่บ่งชี้ว่าคุณอาจกำลังป่วยด้วยโรคฝันกลางวัน...
อาการที่ว่านั้นประกอบไปด้วย
1).ใจลอย...💕
ใครที่มีอาการใจลอยไปไหนต่อไหนบ่อย ๆ บ่อยมากจนชีวิตประจำวันเริ่มมีปัญหา.....อันนี้คุณต้องเริ่มระวัง
2).รู้สึกมีปมในใจ
คนที่มีปมในใจอาจจะตั้งแต่วัยเด็กหรือเป็นปมที่เกิดขึ้นตอนโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม คนกลุ่มนี้ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคฝันกลางวันได้เหมือนกัน
1
3).ชอบย้ำคิด ย้ำทำ
ใครที่มีพฤติกรรมชอบทำอะไรซ้ำ ๆ ย้ำคิด ย้ำทำ เช่น...
🤔เอ... ปิดแก๊สยังหว่า?
🤔เอ...ปิดไฟยังหว่า?
🤔เอ...ล๊อคประตูบ้านยังหว่า?...
หรือการชอบหมุนหรือโยนอะไรเล่นแบบเดิมทุก ๆ วัน จะเลิกทำก็ห้ามใจไม่ค่อยจะได้
4).ฝันในหัวมันชัดระดับ Full HD
คนที่มีอาการฝันกลางวันรุนแรง ภาพที่จินตนาการมันจะชัดเหมือนจริงมาก มากจนบางครั้งเรานึกว่ามันเกิดขึ้นจริง ๆ
5).รู้ว่าฝันแต่หยุดมันไม่ได้
หลายคนเมื่อหลงไหลเข้าไปในความฝัน เราจะไปต่อเรื่อย ๆ ไม่อยากหยุดมัน ทั้ง ๆ ที่ลึก ๆ แล้ว เราก็รู้ว่ามันไม่ใช่ความจริง หลายสิ่งมันเป็นไปไม่ได้ แต่ห้ามใจยังไงก็ไม่สำเร็จ
...
แล้วถ้าหากป่วยด้วยโรคฝันกลางวัน
ฉันจะต้องทำยังไง?
วิธีการบำบัดโรคฝันกลางวัน มีดังนี้
.
1️⃣ ฝึกจดบันทึก
การจดบันทึกอย่างเช่น การเขียนไดอารี่ ก็เป็นการช่วยลำดับความคิด จัดระเบียบข้อมูลในสมอง อีกทั้งยังเป็นการฝึกทำสมาธิได้ดีอีกด้วย
2️⃣ เอาความฝันมาทำประโยชน์
ก็ในเมื่อมันชอบฝันไปเรื่อย ก็อย่าทิ้งขว้างมัน เอามันมาแปรรูปให้กลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เช่นเอามาแต่งเป็นนิยายหรือเรื่องสั้น มันซะเลย
2
3️⃣ ตัดไฟแต่ต้นลม
หากคุณสังเกตุพบว่า อะไรเป็นสิ่งเร้าใจให้เราตกอยู่ในภวังค์แห่งการจินตนาการมากเกินไป ก็จงถอยออกมา อย่ามัวไปเพลิดเพลินกับมันมาก
1
4️⃣ อย่าให้ในหัวว่างมากเกินไป
ความว่างแบบไร้จุดหมายในความคิดเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เราชอบฝันกลางวัน เพราะฉะนั้นในแต่ละวันเราควรตั้งเป้าหมายย่อย ๆ เพื่อไม่ให้รู้สึกว่าในหัวมันว่างมากเกิน
5️⃣ พบกลุ่มบำบัด
การมองหากลุ่มคนที่มีปัญหาเดียวกัน เพื่อแชร์ปัญหาและช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะช่วยลดความรู้สึกเคว้งคว้างจากอาการนี้ลงไปได้มาก
1
6️⃣ พบหมอ
และหากใครที่มีอาการฝันกลางวันหนักมาก จนมันเริ่มสร้างปัญหาในการใช้ชีวิต เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและการทำงาน ขอแนะนำว่าควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที อย่าคิดว่านี่มันแค่อาการชั่วคราว
ในทางการแพทย์เปรียบเทียบโรคฝันกลางวันว่ามีระดับความเจ็บป่วยเทียบเท่าโรคซึมเศร้าเลยทีเดียว ผลที่ตามมาอาจถึงขั้นคิดสั้นหรือทำร้ายตัวเองได้
ดังนั้นหากใครสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดกำลังป่วยด้วยโรคนี้ ...ทางที่ดีรีบไปหาหมอเลยดีกว่าครับ
1
ถึงเราจะเห็นว่ามันเป็นแค่ฝันกลางวัน
แต่มันก็กลายเป็นโรคได้....นะครับ
..
ภาพประกอบจากunsplash
ติดตามอ่านบทความได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา