18 ก.พ. 2021 เวลา 12:53 • ธุรกิจ
คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าวันหนึ่งมีหัวหน้าเป็น AI?
เจ้านายในอนาคตของเราจะเป็นคอมพิวเตอร์ได้หรือไม่?
ถ้าพูดถึงในแง่ความสามารถการบริหารจัดการคอมพิวเตอร์อาจจะมีความสามารถสูงกว่าในการใช้งานทรัพยากรทังคนและสิ่งของได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแน่นอนถ้าพูดถึงความเที่ยงตรงคอมพิวเตอร์หรือ AI ย่อมมีความเที่ยงตรงกว่า(ในเคสที่โปรแกรมมาดีนะ) เพราะมนุษย์มีภาวะทางอารมณ์ซึ่งส่งผลต่อทั้งการให้ รางวัล และการตำหนิ ระหว่างหัวหน้างาน และลูกน้องเสมอ
แต่อย่างไรก็ตามเรา AI มักจะถูกเฝ้าระวังว่าอาจจะเป็นภัยคุกคามในอนาคตเหมือนหนัง Terminator ถ้าให้ AI มามีบทบาทมากอาจจะทำให้มีอำนาจเหนือมนุษย์ได้สักวัน
Jeff Schwartz หุ้นส่วนอาวุโสของ บริษัท ที่ปรึกษาธุรกิจและตรวจสอบบัญชี Deloitte และที่ปรึกษาระดับโลกเกี่ยวกับ future of work ได้มาพูดถึงประเด็นนี้ตลอดว่าคนมัวแต่กังวลว่าเครื่องจักรจะมาครอบงำมนุษย์แต่จริงๆ เราไม่รู้เลยว่าเราเชื่อฟังมันมานานแล้ว
อาชีพคนกำกับจราจร
ถ้าเป็นสมัยก่อนก็จะมีคนเป็นผู้ควบคุมการจราจร แต่ปัจจุบันจะใช้สัญญานไฟเขียวไฟแดงเป็นตัวกำหนด และในปัจจุบันมันก็ฉลาดจนสามารถเปิดไฟ เขียว เหลือง แดง เองได้โดยไม่ต้องมีมนุษย์มาควบคุมผ่านการประเมิน traffic level( แต่ที่ไทยหลายที่ยังเป็นการควบคุมโดยมนุษย์)
อาชีพคนจัดคิวรถ
ผู้ให้บริการเรียกแท๊กซี่อย่าง Uber ปกติเวลาเราส่งคำสั่งกดเรียกในเวลานั้นอาจจะมีผู้ที่เรียกพร้อมกัน และในบริเวณนั้นอาจจะมีแท๊กซี่หลายคัน แน่นอนว่าต้องมีคนจัดคิว แต่ในบริษัท Uber ไม่มีพนักงานที่ทำหน้าที่นี้เลยเพราะมันถูกบริหารจัดการอย่างอัตโนมัติด้วยระบบ Software AI ทั้งสิ้น
นักจิตวิทยามหาวิทยาลัยลอนดอนมองว่านอกเหนือจากเรื่องการใช้ AI มาบริหารการจัดคิวรถของ Uber จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประโยชน์ต่อบริษัทแล้ว ถ้ามองให้ลึกลงไปมันมีประโยชน์ของความเชื่อมั่นว่าถ้าถูกจัดโปรแกรมด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว จะไม่เกิดการ Bias เกิดขึ้น เช่นการให้คิวรถใครคนนึงเป็นพิเศษอย่างไม่เท่าเทียม
และในที่สุดเราจะเห็นภาพชัดขึ้นว่าเทคโนโลยีจะช่วยให้โลกของการทำงานเป็นประชาธิปไตยได้มากขึ้นอย่างไร โดยมุ่งเน้นไปที่เนื้อหาสาระ และความเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น บริษัท ที่สามารถทำได้จะมีประสิทธิภาพเหนือกว่าคู่แข่งและเป็นสถานที่ทำงานที่ดีกว่า
แต่มีข้อแม้คือต้องมีการกำกับดูแลเรื่องจริยธรรมของการนำ AI มาใช้ เพราะถ้ามี AI Boss ที่ไม่มีจริยธรรมแล้วจะนำไปสู่สถานที่การทำงานที่เลวร้ายกว่าเดิม
ประเด็นเรื่องการนำ AI มาใช้ และจริยธรรมเคยเกิดกับบริษัทเทคอย่าง Amazon
Amazon ใช้ระบบ AI เพื่อกำกับและตรวจสอบพนักงานในคลังสินค้า แต่ปรากฎว่าทำให้พนักงานกดดันและทำงานหนักกว่าเดิม แต่สุดท้าย Amazon ก็ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหานี้โดยบอกว่าใช้ AI ในการช่วยประเมินเฉยๆถ้าทำงานไม่ประสิทธิภาพลดลง จะมีคนมาช่วยดูแล และนำไปเทรนนิ่งเพิ่มเติม
ประเด็นเรื่องการนำ AI มาใช้ในการควบคุมคอลเซ็นเตอร์
บริษัทคอลเซ็นเตอร์หลายบริษัทจะใช้ AI ในการจัดคิว และตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนที่โทรมาร้องเรียนกับพนักงาน แต่พบว่าวิธีนี้เข้มงวดเกินไป และไม่ยุติธรรมกับพนักงาน แต่บริษัทคอลเซ็นเตอร์ก็ให้เหตุผลว่าการใช้ AI มาติดตามแบบนี้จะช่วยเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอลเซ็นเตอร์กับผู้ร้องเรียน เพื่อให้หัวหน้างานนำไปใช้เป็นข้อมูลในการประเมินพนักงานของตนได้ และช่วยให้คอลเซ็นเตอร์นำไปพัฒนาตนเองได้ด้วย เพื่อให้ทำงานได้ดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามเราต้องอย่าจินตนาการภาพ AI Boss ว่าเป็นเครื่องจักรที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ จริงๆแล้วการใช้ AI Boss ก็คือกระบวนการติดตามผลการทำงาน หรือประสิทธิภาพการทำงานแค่นั้นเอง ซึ่งทุกวันนี้บริษัท tech ก็มีการนำมาใช้จนเป็นเรื่องปกติแล้ว เช่น ติดตามจำนวนอีเมลที่ส่ง, เวลาพัก, การเข้าเว็บไซต์, ภาษาที่เราใช้, จำนวนสายที่คอลเซ็นเตอร์รับ แต่ต้องมีการควบคุมให้ดีว่าควรอยู่ในระดับไหนถึงจะพอดี และเมื่อใช้อย่างเต็มรูปแบบเสมือนเป็นหัวหน้างานจริงๆ การจะระบุว่าพนักงานคนไหนควรจะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง หรือพนักงานคนไหนคือพนักงานที่ดีก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่นัก
แม้ว่า AI Boss จะมีประเด็นที่ต้องประเมินอีกมาก แต่ถ้าเทียบกับหัวหน้างานที่แย่ก็อาจจะไม่ได้เลวร้ายเท่าไหร่นัก นักวิจัย AI คาดว่า “การจะพัฒนา AI ให้ดีกว่าหัวหน้างานที่ดีเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะพัฒนา AI ให้ดีกว่าหัวหน้างานที่แย่”
Credit Pic: insights.dice.
โฆษณา