19 ก.พ. 2021 เวลา 04:51 • สุขภาพ
🔺วัคซีน ของ Sinovac น่าเชื่อถือหรือไม่?🔺
คนไทยกำลังจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ล็อตแรกในวันที่ 24 กุมภาพันธ์นี้จากบริษัท Sinovac
2
เราก็อยากจะรู้ว่า วัคซีนนี้ผลิตที่ไหนและจะน่าเชื่อถือไหม?
Sinovac เป็นบริษัทในประเทศจีน ที่ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด ชื่อ Coronavac เป็นชนิดวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated vaccine) คือนำเชื้อไวรัสมาเลี้ยงในห้องทดลอง แล้วทำให้เชื้อตายโดยใช้ formaldehyde หรือใช้ความร้อน นำเชื้อที่ตายแล้วนี้มาฉีดเข้าร่างกาย กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน
ภาพจาก https://www.globaltimes.cn/content/1207300.shtml
🌟บริษัทSinovac ตั้งอยู่ที่ไหน ? ตั้งมานานเท่าไร?🌟
บริษัท Sinovac Biotech Co.Ltd เป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ เริ่มก่อตั้งเมื่อ 2001 ในประเทศจีน มีพนักงาน 501-1000 คน
ผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ตับอักเสบ A และ B ส่งให้รัฐบาลจีน
บริษัทนี้เป็นบริษัทแรกที่ผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ H1N1 2009 ได้ในปีที่มีการระบาดใหญ่
มีวัคซีนใหม่ๆที่กำลังพัฒนา เช่น วัคซีนป้องกัน Enterovirus 71 ที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าปาก (อยู่ใน phase 3) pneumococcal conjugated vaccine ,Rubella เป็นต้น
ส่วนใหญ่ขายวัคซีนภายในประเทศจีน และส่งออกวัคซีนบางตัวไป มองโกเลีย เนปาล และฟิลิปปินส์
2
🔺สรุปว่า เป็นบริษัทที่ตั้งมานาน 20 ปี เคยทำวัคซีนด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ไวรัสตัวตาย (Inactivated vaccine )มาหลายอย่าง ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีแบบเดียวกันนี้มาใช้ทำวัคซีนป้องกันโควิดที่มีชื่อว่า Coronavac🔺
ภาพจาก https://www.matichon.co.th/wp-content/
🌟การทดลองฉีดวัคซีนในอาสาสมัครในphaseที่ 3 ประสิทธิผลเป็นอย่างไร?🌟
การทดลองวัคซีนใหม่ จะแบ่งเป็น 3 phase คือ
Phaseที่ 1 ให้วัคซีนกับคนกลุ่มเล็กๆ เป็นสิบๆคนเพื่อดูความปลอดภัยและปริมาณยา
Phase ที่ 2 ขยายจำนวนเป็นร้อยๆคน แบ่งเป็นกลุ่มย่อยเพื่อดูความปลอดภัย
Phase ที่ 3 ดูประสิทธิผล ในคนจำนวนเป็นพันๆ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้วัคซีน กับ ยาหลอก ว่าจำนวนคนป่วย และตาย แตกต่างกันแค่ไหน เพื่อเทียบว่าวัคซีนจะป้องกันโรคได้ดีเพียงไร และดูว่าจะมีผลข้างเคียงที่พบได้น้อยบ้างหรือไม่
1
ภาพจาก www.nytimes.com
ข้อมูลจากpress release หน้าเว็บไซต์ของ Sinovac เมื่อ 5 กพ 2021
Sinovac เริ่ม Phase 3 clinical trial ของวัคซีน Coronavac เมื่อ 21 July 2020 ในอาสาสมัคร 25,000 คนใน 4 ประเทศ คือ บราซิล ตุรกี อินโดนีเซีย และ ชิลี โดยฉีด 2 เข็มห่างกัน 14 วัน
Phase 3 ในบราซิล และตุรกี ประเมินประสิทธิผลของวัคซีนใน บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานให้การรักษาคนไข้ โควิด 19
🔺ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2020 มี บุคลากรทางการแพทย์ อายุมากกว่า 18 ปี เข้าร่วมtrial 12,396 คน
เมื่อฉีดวัคซีน 2 โด๊ส ในวันที่ 0 และ 14 แล้วติดตามผล 14 วันหลังจากนั้นเพื่อประเมินประสิทธิผล พบว่า
2
มีประสิทธิผล 100% ต่อการนอนโรงพยาบาล การเป็นโรครุนแรงและการเสียชีวิต
มีประสิทธิผล 83.7% ต่อการเข้ารับการรักษาพยาบาล
มีประสิทธิผล 50.65% ต่อโรคที่เกิดจากไวรัส โควิด 19🔺
Phase 3 ในตุรกี แบ่งเป็น 2กลุ่ม อายุ 18-59 ปี
กลุ่มแรก เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 918 คน
กลุ่มที่ 2 เป็นประชาชนทั่วไป 6,453 คน
รวมทั้งสิ้น 7,371 คน
ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2020
มี ผู้ที่ได้วัคซีนครบ 2 โด๊ส แล้ว 1,322 คน และเข้าสู่ระยะดูอาการหลังฉีด 14 วัน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มนี้ 29 คน หลังจาก 14วัน เมื่อฉีดครบ 2โด๊ส พบว่า อัตราการป้องกันโรคโควิด 19 เท่ากับ 91.25 %”
1
ซึ่งอัตราการป้องกันโรคได้ 91.25%เป็นข้อมูลจากกลุ่มอาสาสมัคร752 คนที่ได้รับวัคซีนเที่ยบกับ 570 คนที่ได้ยาหลอก ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่น้อย เมื่อนำมาคำนวณประสิทธิผล ผลที่ได้จึงอาจจะไม่แม่นยำพอ
และยังไม่มีการรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรลงในวารสารการแพทย์ใดๆ
1
🔺สรุป🔺
1.วัคซีนมีประสิทธิผลป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต 100 %
ถ้าไม่ได้วัคซีนอาจจะป่วยหนักจนเสียชีวิต แต่ถ้าได้วัคซีนอาการป่วยเบาลง ไม่ถึงกับต้องนอนโรงพยาบาล
1
2.ประสิทธิผล ต่อโรคที่เกิดจากไวรัสโควิด 19 50.65% ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (มากกว่า 50 %)
3.ข้อมูลphaseที่ 3 ประสิทธิผลในการป้องกันโรคจากการทดลองที่ บราซิล 50.65%และตุรกี 91.25%
ผลที่แตกต่างกัน อาจเกิดจาก
-จำนวนคนในกลุ่มต่างกัน
-สภาพแวดล้อม ความเสี่ยงต่อการรับเชื้อในแต่ละแห่งต่างกัน
1
ภาพจาก https://www.nytimes.com/2020/11/20/health/covid
🌟มีประเทศไหนบ้างที่ใช้วัคซีนของ Sinovac?🌟
วัคซีน ได้รับการรับรองให้ใช้ในประเทศจีน
ให้ใช้แบบฉุกเฉินใน อาเซอร์ไบจัน บราซิล ชิลี โคลอมเบีย อินโดนีเซีย ลาว ตุรกี อุรุกวัย เม็กซิโก
ล่าสุด ฮ่องกง ได้อนุมัติ การใช้แบบฉุกเฉิน เมื่อ 18 กุมภาพันธ์2021
1
🔺ได้รวบรวมข้อมูลเท่าที่จะหาได้จากแหล่งต่างๆ เพื่อให้แต่ละท่านเลือกตัดสินใจได้ว่า วัคซีนนี้น่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงไร🔺
(เมื่อไรที่ถึงคิว ผู้เขียนจะไปรับวัคซีน แน่นอนค่ะ )
พญ ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล กุมารแพทย์
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา