20 ก.พ. 2021 เวลา 13:12 • การเมือง
กลุ่มแฮกเกอร์เมียนม่าประท้วงการรัฐประหารผ่านการโจมตีทางไซเบอร์
กลุ่มแฮกเกอร์ของประเทศพม่าโจมตีเว็ปไซต์ของรัฐบาลในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ชนวนเหตุก็มาจากการสั่งปิดอินเตอร์เนตเป็นเวลา 4 คืนติดต่อกัน
เป้าหมายการโจมตีของแฮกเกอร์ชาวพม่าครั้งนี้คือเว็บไซต์ของรัฐบาลต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของธนาคารกลาง เว็บไซต์ที่เป็นช่องทางโปรโมตกิจกรรมทางทหาร ช่องทีวีออกอากาศของรัฐบาล การท่าเรือ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากผู้คนหลายพันคนออกมารวมตัวกันทั่วประเทศเพื่อประท้วงการรัฐประหารของกองทัพที่โค่นล้มรัฐบาลพลเรือนของอองซานซูจีลงจากอำนาจเมื่อต้นเดือนนี้ และมีการประกาศบน Facebook ของเพจแฮกเกอร์โดยขึ้นว่า "We are fighting for justice in Myanmar"
ผู้เชี่ยวชาญด้าน cybersecurity เชื่อว่าเป้าหมายการจู่โจมของแฮกเกอร์พม่าแม้ว่าจะไม่ได้ก่อให้เกิดผลร้ายแรง แต่เป้าหมายคือการสร้างความปั่นป่วน และสร้างความเสื่อมเสียแก่รัฐบาล เพื่อเป็นการปลุกระดม และการสร้างการประชาสัมพันธ์
กลุ่มแฮกเกอร์พม่าก็เคยโจมตีไทยหลายครั้งทั้งประท้วงโทษประหารคดีเก่าเต่า และอีกครั้งในวันที่ 19 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ภาพหน้าเว็บไซต์ ทันตแพทย์สภาแห่งประเทศไทย ซึ่งมีใจความ เพื่อเรียกร้องให้ไทยยุติการกดขี่ กีดกัน และกระทำการที่ไร้มนุษยธรรมต่อชาวเมียนมา พร้อมทั้งยังกล่าวอ้างถึงคดีข่มขืนที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศไทย
รูปแบบของการโจมตีทางไซเบอร์มีหลายประเภท เช่นการโจมตีระหว่างบริษัท คือเคสที่เฮกเกอร์เป็นสายมืดรับหน้าที่เป็นมือปืนรับจ้างโจมตีบริษัทเป้าหมาย หรือกรณีที่แฮกเกอร์โจมตีเพื่อเรียกค่าไถ่ หรือแม้กระทั่งเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ระหว่างประเทศอย่างเช่น กรณีรัฐบาลสหรัฐพบการโจมตีทางไซเบอร์โดยเป็นการโจมตีจากแฮกเกอร์ของอิหร่าน และรัสเซีย
ประเภทของ Hacker แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักคือ
1.แฮกเกอร์หมวกดำ (Black Hat Hacker) แฮกเกอร์ที่เจาะระบบอย่างผิดกฏหมาย สร้างความเสียหาย ทั้งทำเพื่อเงิน และเล่นสนุก เชี่ยวชาญเรื่องคอมพิวเตอร์สูง พวกเขาจะคอยสร้างเวิร์มประสิทธิภาพร้อยออกมาเรื่อยๆ
2.แฮกเกอร์หมวกขาว (White Hat Hacker) แฮกเกอร์สายคุณธรรม ที่เชี่ยวชาญเรื่องเจาะระบบ เพื่อหาจุดอ่อนและวางระบบป้องกัน คอยทำงานให้บริษัท หรือหน่วยงาน เพื่อรับมือกับแฮกเกอร์หมวกดำนั่นเอง
3.แฮกเกอร์หมวกเทา (Gray Hat Hacker) เหมือนมือปืนรับจ้าง ขึ้นอยู่กับว่าใครจะจ้าง ใครจ่ายเยอะ ก็พร้อมจะแปรเปลี่ยนสีหมวกไปตามนั้น
และนอกจากนั้นยังมีอีกประเภทหนึ่งคือ
สคริปต์คิดดี้ส์ (Script Kiddies) แฮกเกอร์สมัครเล่น ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องคอมพิวเตอร์นัก มักจะหาไวรัสจากคนที่เคยทำไว้อยู่แล้ว มาปล่อย เพื่อเล่นสนุก หรือลองของเฉยๆ พวกนี้รับมือไม่ยากมาก
จากการเคลื่อนไหวการประท้วงผ่านการแฮกของพม่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าการประท้วงได้เปลี่ยนรูปแบบไปแล้ว ไม่ได้มีแค่การประท้วงผ่านการเดินขบวนอีกต่อไปแม้แต่กับประเทศที่ไม่ได้เป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีอย่างพม่ายังมีการต่อต้านรัฐบาลในรูปแบบการประท้วงผ่านการโจมตีทางไซเบอร์
แม้แต่ประเทศไทยเองก็เคยผ่านการโจมตีของกลุ่ม Hacker ชื่อดังระดับโลกมาแล้วถึง 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือ Anonymous ครั้งแรกเป็นการโจมตีรัฐบาลไทยเพื่อต่อต้านนโยบาย Single Gateway ของรัฐบาลไทย โดยได้โพสความเห็นต้อรัฐบาลไทยว่า “เราได้ติดตามสถานการณ์ในไทยมาตลอดหลายเดือนมีการจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นการประท้วง และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานต่อใครก็ตามที่ออกมาวิจารณ์คณะทหาร โครงการล่าสุดของรัฐบาลคือการเตรียมนำระบบซิงเกิลเกตเวย์มาใช้เพื่อควบคุม ดักข้อมูล และจับกุมใครก็ตามที่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของคณะทหาร และสิ่งที่เรียกเอาเองว่าศีลธรรม” การโจมตีเริ่มแรกคือ เจาะฐานข้อมูล CAT Telecom เข้าถึงบัญชีลูกค้ามากกว่าพันราย ต่อต้านนโยบายซิงเกิล เกตเวย์ และยังมีการโจมตีหน่วยงานไทยอย่างศาลเพื่อค้านคดีเกาะเต่า และเจาะระบบเว็บไซต์หน่วยงานรัฐบาล ประท้วงกฎหมายเซ็นเซอร์ทางอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
จริงๆแล้วยังมีกลุ่ม Hacker อีกกลุ่มคือ Lazarus Group ที่เป็นผู้ปล่อยไวรัส Wannacry เข้าโจมตีทั้งหน่วยงานเอกชนของไทย และโรงพยาบาล เพื่อเรียกค่าไถ่แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ
ในอนาคตของโลกยุคดิจิทัลเราคงจะได้เห็นการต่อสู้ผ่านโลกไซเบอร์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวทางการเมือง จะเป็นการต่อสู้ระหว่าง Hacker และ Cybersecurity ของฝั่งรัฐบาล ส่วนใครจะเป็น White Hat หรือ Black Hat คงขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน
โฆษณา