24 ก.พ. 2021 เวลา 13:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมบางพื้นที่อากาศถึงหนาวผิดปกติ ทั้งที่โลกกำลังเผชิญกับสภาวะโลกร้อน?
เป็นคำถามที่อาจจะอยู่ในใจใครหลายคน เมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมาก็มีข่าวหิมะตกที่ประเทศเวียดนามและลาว อุณหภูมิติดลบ วัวควายล้มตายเพราะอากาศหนาวจัด สิ่งเหล่านี้ช่างค้านสายตากับการที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่าโลกกำลังร้อนขึ้นเหลือเกิน
6
แต่ถ้าจะบอกว่าการที่สภาพอากาศแปรปรวน หน้าร้อนก็ร้อนจัด หน้าหนาวก็หนาวจัด เป็นอีกผลกระทบหนึ่งที่มาจากสภาวะโลกร้อนล่ะ?
กลับมาอีกแล้วกับภาพข่าวความหนาวเย็นในฤดูหนาวที่ผิดปกติของรัฐ Texas ประเทศ สหรัฐอเมริกา จนประธานาธิบดี โจ ไบเดนประกาศภาวะภัยพิบัติร้ายแรง เพราะต้องเผชิญกับอากาศหนาวเย็นที่สุดในรอบ 30 ปี
1
รวมถึงปี 2019 เมืองชิคาโกก็ประสบกับอุณหภูมิต่ำสุดถึงเกือบ -50 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ทั้งเมืองถูกแช่แข็ง ประสบกับความยากลำบากในการใช้ชีวิตอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งตอนนั้น โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ‘What the hell is going on with Global Waming? Please come back fast, we need you!’ หรือประมาณว่า ‘ไหนเหรอโลกร๊อน กลับมาเร็วๆสิ เราต้องการคุณ!’ ซึ่งแสดงถึงทัศนคติการไม่เชื่อเรื่องสภาวะโลกร้อนของทรัมป์
13
Texas, 2021 [fox59.com]
Chicago, 2019 [npr.org]
🌍 Polar Vortex
2
ภัยพิบัติความหนาวเย็นทั้งสองครั้งมีสาเหตุเดียวกัน คือจากปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Polar vortex หรือ กระแสลมวนบริเวณขั้วโลกเหนือ เกิดจากมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมอยู่แถบขั้วโลกเหนือ ถูกล้อมรอบด้วยมวลอากาศที่อุ่นกว่าในบริเวณเขตอบอุ่น การปะทะของของมวลอากาศที่อุณหภูมิแตกต่างกันทำให้เกิดกระแสลมแรง หมุนทวนเข็มนาฬิกาตามทิศการหมุนรอบตัวเองของโลก เรียกว่า Polar jet stream ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้วบริเวณขั้วโลกเหนือ กระแสลมวนนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็นกำแพงกั้นอาณาเขต เก็บรักษาความเย็นเยือกแข็งของเขตอาร์กติกไว้ และกันไม่ให้ความร้อนของอากาศโดยรอบเข้ามา
10
แต่ถ้าหากสมดุลของกระแสลมวนนี้ถูกรบกวน อาจส่งผลให้ความแข็งแกร่งของกระแสลมลดลง เปลี่ยนทิศทาง หรือ แตกออกเป็นหลายสาย เรียกว่า Polar vortex collapse จะทำให้อุณหภูมิของบริเวณขั้วโลกเหนือสูงขึ้น และกระแสลมเย็นจากขั้วโลกเหนือสามารถเคลื่อนที่ไปยังภูมิภาคอื่นได้ ตอนนี้ประเทศที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะอยู่ค่อนไปทาง​เหนือ​ ใกล้ขั้วโลกเหนือ​ แต่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าในอนาคต Polar vortex collapse อาจรุนแรงขึ้นและเคลื่อนที่ได้ไกลขึ้น
12
ที่ผ่านมา Polar vortex collapse นานๆหลายสิบปีถึงจะเกิดสักครั้งหนึ่ง แต่ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา พบว่าความไม่สมดุลของของกะแสลมวนนี้เกิดถี่ขึ้น และ รุนแรงมากขึ้น จนนักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นผลกระทบมาจากปัญหาสภาวะโลกร้อน เพราะอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธารน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลายเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ การสูญเสียธารน้ำแข็งซึ่งปกติจะช่วยสะท้อนความร้อนของแสงอาทิตย์ ทำให้อุณหภูมิบริเวณขั้วโลกอุ่นขึ้น ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ความสมดุลและการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำร้อน-น้ำเย็นเปลี่ยน
8
ซึ่งกระแสน้ำร้อน-น้ำเย็น ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ ทั้งในด้านของอุณหภูมิและความชื้น ทำให้พื้นที่ต่างๆ ร้อนและแห้งแล้งมากขึ้น เกิดพายุ ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้น หรือ หนาวเย็นมากขึ้น ก็ได้
3
Photo from: NOAA [agriculture.com]
🌍 Extreme Weather
จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพอากาศในพื้นที่ต่างๆของโลกมีหลายปัจจัย มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน การที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่ สภาพอากาศแปรปรวนสุดขั้ว หรือ Extreme weather ถูกยกขึ้นมากล่าวถึงบ่อยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
2
เหตุการณ์ที่เป็นผลต่อเนื่องของ สภาพภูมิอากาศสุดขั้ว คือ ฤดูร้อนจะเกิดความร้อนและความแห้งแล้งแบบสุดขั้ว จนทำให้เกิดการระเหยของน้ำบนพื้นดินมากขึ้น ส่งผลให้พื้นดินแห้งแล้ง แต่ไอน้ำจะไปสะสมในชั้นบรรยากาศปริมาณมาก เมื่อถึงฤดูฝน ก็จะทำให้พายุมีความรุนแรง ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ ดังที่หลายปีมานี้มีรายงานข่าวว่า เกิดพายุไต้ฝุ่นและพายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงระดับ 4-5 บ่อยครั้ง ทั้งที่เมื่อก่อน สิบปีจะเกิดสักครั้งนึง และผลจากการที่มีปริมาณน้ำฝนและความชื้นแบบสุดขั้วนี้เอง ก็จะส่งผลให้ในฤดูหนาวที่อุณหภูมิลดต่ำลง มีปริมาณหิมะตกเพิ่มขึ้น เกิดอากาศหนาวเย็นแบบสุดขั้ว เช่นกัน
3
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก และต้องทำความเข้าใจ คือ
🌍 สภาพอากาศ (weather) และ ภูมิอากาศ (climate) นั้นต่างกัน
2
✔️สภาพอากาศ (weather) คือ สภาพลมฟ้าอากาศที่ประสบพบเจอในแต่ละวัน ซึ่งจะแตกต่างกันไป ไม่เหมือนกันในแต่ละวัน เช่น วันนี้ฝนตก พรุ่งนี้แดดออก หรือแม้กระทั่งวันเดียวกันอาจพบเจอทั้งลม ฝน หิมะก็ได้ ซึ่งสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าอย่างแม่นยำได้ไม่เกิน 7 วัน
4
✔️ภูมิอากาศ (climate) คือ ค่าเฉลี่ยของสภาพอากาศอย่างน้อย 30 ปี ซึ่งจะเป็นการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องยาวนานเพื่อดูแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (climate change) จึงหมายถึงความผันผวนของฤดูกาลในแต่ละปี
4
จะเห็นได้ว่าข้อแตกต่างที่สำคัญคือ “ระยะเวลา” การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศต้องดูเป็นช่วงเวลาหลายสิบถึงร้อยปี ทำให้ไม่สามารถนำสภาพอากาศที่เกิดขึ้นรายวันมาตัดสินได้ ดังนั้นจะบอกว่าการที่อากาศในฤดูหนาวของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหนาวเย็นผิดปกติ มาค้านว่าสภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องจริงไม่ได้ เพราะในขณะที่อเมริกาเผชิญกับอากาศหนาวเย็นอันโหดร้าย เดือนมกราคม ปีที่แล้ว อีกฝั่งของโลกอย่างออสเตรเลียก็เผชิญกับความแห้งแล้งสุดขั้ว อากาศที่ร้อนเป็นประวัติการณ์ ถึง 46 องศาเซลเซียส และยังเกิดไฟไหม้ป่าที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เช่นกัน
5
องค์การ Nasa รายงานว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกได้ทำลายสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าแนวโน้มในระยะยาวอุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นเรื่อยๆหรือไม่
1
องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NOAA) รายงานว่าทศวรรษที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์รอบ 1000 ปี โดยเป็นที่รู้กันดีว่าอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 หรือช่วงที่โลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มีการใช้เครื่องจักร และ ใช้พลังงานฟอสซิลมากขึ้นนั่นเอง
3
อีกหนึ่งเหตุผลที่กลุ่มคนที่ต่อต้านและไม่เชื่อเรื่องสภาวะโลกร้อน ยกขึ้นมาอ้าง คือ โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นวัฎจักรอยู่แล้ว ดังที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า โลกเคยเข้าสู่ช่วงยุคน้ำแข็งหลักๆมาแล้วถึง 5 ยุค โดยช่วงเวลาสั้นๆระหว่างยุคน้ำแข็งแต่ละยุค จะเป็นช่วงเวลาที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น จนน้ำแข็งละลาย กินเวลาแค่หลักหมื่นปี ขณะที่ยุคน้ำแข็งจะกินเวลายาวนานกว่าเป็นหลักแสนปี ซึ่งสมัย 50 ล้านปีก่อน โลกก็เคยมีอุณหภูมิสูงกว่าในปัจจุบัน เกิดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศปริมาณมาก ก่อนจะค่อยๆเย็นลงแล้วเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง
7
แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์วิตกกังวล ก็คือ อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นในปัจจุบันไม่ได้ค่อยๆเกิดตามธรรมชาติซึ่งใช้เวลาหลักล้านปี แต่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เพราะหลังจากยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย โลกมีช่วงเวลาอบอุ่นและหนาวเย็นสลับกันหลายครั้ง ในช่วงอบอุ่นพบว่าธารน้ำแข็งละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ดังที่เคยปรากฎในแผนที่ทางโบราณคดีของประเทศไทย ว่าสมัยทวารวดีตอนปลาย แนวชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยสมัยก่อน กินพื้นที่มาถึงจังหวัดชัยนาท หลังจากนั้น โลกก็กลับเย็นตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนเข้าสู่ยุค Little Ice Age หรือ ยุคน้ำแข็งขนาดย่อม ในปี ค.ศ. 1450-1850 ธารน้ำแข็งขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ระดับน้ำทะเลลดลง พื้นที่ลุ่มบริเวณภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ โผล่พ้นน้ำในช่วงนี้
5
แต่หลังจากปี ค.ศ. 1850 โลกก็กลับอบอุ่นอีกครั้ง จนอุ่นที่สุดเมื่อกลางทศวรรษ 1900 แล้วก็มีท่าทีจะเย็นลงอย่างช้าๆ แต่พอถึงช่วงใกล้เปลี่ยนศตวรรษโลกก็กลับอุ่นขึ้นอีกครั้ง อย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ ซึ่งเป็นช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมพอดี อุณหภูมิโลกสูงขึ้นราว 1 องศาฟาเรนไฮต์มาตั้งแต่ปี 1990 ส่วนในบริเวณขั้วโลกเหนือมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 4 องศาฟาเรนไฮต์ในรอบ 50 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่สั้นมาก การที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆจนผิดธรรมชาตินี่เอง ที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์กังวลว่าโลกกำลังประสบกับสภาวะโลกร้อน และอาจมีผลต่อการเข้าสู่ยุคน้ำแข็งยุคถัดไป เพราะ ธารน้ำแข็งละลายหายไปอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็น ซึ่งก็ต้องดูผลต่อไปในระยะยาว ว่าโลกของเราจะเป็นอย่างไรต่อไปในอีกหลักร้อย พัน หรือหมื่นปี เพราะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาสั้นๆเพียงวันหรือสองวัน
5
References >>
1
โฆษณา